ดร.ภูมิพิชัย ธารดำรงค์ ที่ปรึกษากรรมการบริหารกลุ่มบริษัท เมอร์คคอร์ป กล่าวว่า ด้วย MERC CORP เป็นที่ปรึกษาให้กับบริษัทพัฒนาที่ดินในทวีปเอเชีย และประเทศออสเตรเลีย ในด้านห้างสรรพสินค้า รูปแบบค้าปลีกและค้าส่ง รวมถึงโครงการคอนโดมิเนียมเพื่อการลงทุนในต่างประเทศ ตลอดจนเป็นที่ปรึกษาทางด้านการขายและการตลาด โดยเฉพาะในประเทศมาเลเซีย ที่ในขณะนี้มีความต้องการสินค้าและบริการจากประเทศไทย ร้านอาหารไทย ในรูปแบบ STAND ALONE, MAGNET ZONING, SPECIALTY STORE,CONCEPT STORE และ TRADE CENTER เป็นต้น
การแข่งขันของธุรกิจไทยในปัจจุบันตกอยู่ภายใต้แรงกดดันที่เพิ่มมากขึ้น จึงเป็นโอกาสที่ดีสำหรับธุรกิจไทยที่จะแสวงหาลู่ทางการลงทุนใหม่ ๆ ในต่างประเทศ และปฏิเสธไม่ได้ว่าขณะนี้ต่างชาติมีความต้องการสินค้าไทยมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะประเทศในแถบอาเซียน ด้วยเหตุนี้จึงจัดตั้งโครงการ MILLIONAIRE FAST-LANE ขึ้นเป็นครั้งที่ 2 เพื่อเป็นศูนย์รวมข้อมูลสินค้าจากผู้ประกอบการไทย ที่ต้องการนำสินค้าออกสู่ตลาดโลก ที่ผ่านมาได้รับความร่วมมือจากภาครัฐ และสมาคมที่เกี่ยวข้องต่าง ๆ เช่น สสว. สมาคมเอส เอ็ม อี สมาคมแฟรนส์ไชส์ ศูนย์รวมสินค้า OTOP และสมาคมหอการค้าไทย ในการเปิดช่องทางให้เข้าถึงข้อมูลของสมาชิกของแต่ละภาคส่วนเพื่อนำเสนอกิจกรรมและช่องทางการตลาดของโครงการฯ โดยล่าสุดได้ร่วมกับพันธมิตร KM LAND GROUP ผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ยักษ์ใหญ่ในมาเลเซีย ในการขยายธุรกิจไทยสู่ ONE KESAS ศูนย์ค้าส่งสินค้าไทยแห่งแรกในมาเลเซีย นับได้ว่าเป็นก้าวสำคัญของผู้ประกอบการไทย ที่จะขยายธุรกิจสู่ตลาดโลกได้อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน
ด้าน MR. ONG SHAU SOO CHIEF EXECUTIVE OFFICER KM LAND GROUP กล่าวว่า KM LAND GROUP บริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ในประเทศมาเลเซีย ปัจจุบันได้ดำเนินงานโครงการ ONE KESAS ซึ่งเริ่มจากความต้องการสร้างศูนย์กระจายสินค้าเพื่อการค้าส่งสินค้าไทยโดยเฉพาะ เนื่องด้วยความนิยมสินค้าไทยในประเทศมาเลเซียมีสัดส่วนที่สูงขึ้นทุกปี ไม่ว่าจะเป็นสินค้าประเภทอาหารแห้ง ขนมอบกรอบ เครื่องปรุงรส สินค้าหัตถกรรม สินค้าเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สปาที่ผลิตจากสมุนไพรไทย รวมถึงสินค้าแฟชั่น เป็นต้น เรียกได้ว่า ONE KESAS เป็นเสมือนโชว์รูมขนาดใหญ่สำหรับสินค้าไทยอย่างถาวรและเต็มรูปแบบ รองรับด้วยร้านค้ามากกว่า 200 ร้านค้า นอกจากนี้ยังให้การสนับสนุนและจัดการด้านการตลาดทั้งทางออนไลน์ และ ออฟไลน์ พร้อมทั้งการจัดการด้านงานขาย ตลอดจนการจัดหาตัวแทนจัดจำหน่าย อีกด้วย
"ประเทศมาเลเซียเป็นหนึ่งในประเทศสมาชิกอาเซียนที่เศรษฐกิจเติบโตอย่างแข็งแกร่ง และเป็นตลาดที่สินค้าไทยมีศักยภาพสูง ด้วยมูลค่าส่งออกของไทยไปมาเลเซียที่เพิ่มขึ้นจาก 7.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2552 เป็น 13 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2556 หรือขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 11 ต่อปี ส่งผลให้ปัจจุบันมาเลเซียก้าวขึ้นเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับ 1 ของไทยในอาเซียน และเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับ 5 ของไทยในโลก ขณะที่การค้าระหว่างไทยและมาเลเซียยังมีแนวโน้มเติบโตได้อีกในระยะถัดไป เนื่องจากเศรษฐกิจมาเลเซียมีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่อง โดย EIU คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจจะขยายตัวเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 4.8 ในปี 2556 เป็นเฉลี่ยร้อยละ 5.4 ต่อปี ในช่วงปี 2557-2561 ซึ่งจะเกื้อหนุนกำลังซื้อของชาวมาเลเซียที่มีจำนวนราว 30 ล้านคน โดยมีรายได้ต่อหัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 50 จาก 10,650 ดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2556 เป็น 16,070 ดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2561 สามารถสร้างความเชื่อมั่นได้ว่าผู้ประกอบการไทยจะสร้างรายได้มหาศาลจากประเทศศักยภาพได้อย่างแน่นอน"
คุณอภิชาติ ประสิทธินฤทธิ์ ที่ปรึกษาประธานกรรมาธิการพิจารณาร่าง พรบ.ส่งเสริม SME และ ที่ปรึกษาคณะอนุกรรมาธิการสิทธิมนุษยชนและการคุ้มครองผู้บริโภค กล่าวว่า "โครงการ MILLIONAIRE FAST-LANE II เป็นโครงการที่ดีสำหรับผู้ประกอบการไทย มีส่วนช่วยผลักดันให้พัฒนาศักยภาพของธุรกิจตนเองอย่างเต็มที่ เพื่อสร้างความพึงพอใจสูงสุดนำไปสู่การส่งออกสินค้าสู่ตลาดโลกได้สำเร็จ ด้านการพัฒนาธุรกิจ SME ต้องเข้าใจรูปแบบของปัญหาและเน้นกระบวนการกระจายความสนับสนุนในแนวกว้าง โดยประเด็นของปัญหาที่เป็นอุปสรรคของ SMEs โดยหลัก ๆ จะมีในเรื่องของการเข้าถึงข้อมูล BIG DATA ที่ช่วยในการตัดสินใจ และ จัดการธุรกิจ การเข้าถึงแหล่งทุนทั้งในด้านขั้นตอน กระบวนการพิจารณา และหลักทรัพย์ตลอดจนการเข้าถึงแหล่งความรู้ และความเข้าใจในเรื่องของการเปลี่ยนแปลงของอุตสาหกรรม รวมถึงเศรษฐกิจการค้าจากผลของ INTERNET OF THINGS (IOT)"
"สำหรับบริษัท SMEs ในไทย ยังคงเติบโตได้อย่างต่อเนื่องในอัตราเฉลี่ยปีละ 7-9% และจำนวนผู้ประกอบการธุรกิจในไทย แบ่งเป็น SMEs ประมาณ 2 ล้านราย และกลุ่มขับเคลื่อน GDP หรือธุรกิจรายใหญ่ ประมาณ 2,000 ราย นอกจากนี้ได้รองรับการจ้างงานประมาณ 70% การผลิตของ SMEs ส่วนใหญ่ขายในประเทศ 70% ส่งออก 30% ซึ่งปัจจุบันมีบทบาทในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ด้านการส่งเสริม SMES HIGH GROWTH SECTOR เพื่อสร้างการเติบโตด้วยการสนับสนุนระหว่างภาครัฐและเอกชน อาทิ R&D, LOAN INNOVATION GRANTS, BUSINESS ANGEL FINANCE & VENTURE FINANCE และบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ (IPOs) รวมถึงการสนับสนุนการส่งออก เพื่อให้เกิดมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ โดยให้ความสำคัญต่อกลุ่มธุรกิจที่อยู่ในแนวโน้มกระแสโลก (GLOBAL MEGA TREND SMEs)"
"ด้านนวัตกรรมสมัยใหม่สอดคล้องกับแนวคิดสีเขียว นวัตกรรมที่ดูแลสิ่งแวดล้อม (SMART IS THE NEW GREEN) นวัตกรรมสู่ความเป็นศูนย์ และส่งเสริมธุรกิจที่พัฒนาคุณภาพชีวิตของมนุษย์ โดยเฉพาะ SMEs ที่พัฒนาสินค้าและบริการที่เป็นปัจจัยพื้นฐาน รวมถึงปัจจัยที่ส่งเสริมสุข"
ส่วน คุณทนง ทองด้วง นายกสมาคมนักพัฒนาผู้ประกอบการภาคใต้ SEDA กล่าวเสริมว่า "ทางสมาคมมีความต้องการส่งเสริมให้ผู้ประกอบการมีความรู้ ความสามารถในการทำธุรกิจทุกด้าน เพิ่มศักยภาพให้เกิดเข้มแข็งทางธุรกิจด้วยตนเองได้อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน ตลอดจนส่งเสริมการรวมกลุ่มผู้ประกอบธุรกิจ พัฒนาศักยภาพกลุ่มธุรกิจไทย และสร้างโอกาสในการขยายการค้าและการลงทุนในกลุ่ม AEC และตลาดการค้าระดับสากล ไม่ว่าจะเป็นการจัดอบรมหลักสูตร การสร้างโมเดลธุรกิจของตนเองโดยใช้แม่แบบ BUSINESS MODEL CANVAS-BMC การหาช่องทางการตลาดให้กับผู้ประกอบการทั้งในประเทศและต่างประเทศ เป็นต้น"
สำหรับผู้ประกอบการไทยที่สนใจ สามารถสอบถามข้อมูลได้ที่ 081-330-3322 (คุณกุ้ง) และ 083-083-7023 (คุณปู)
HTML::image( HTML::image( HTML::image(ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit