TMA ผลักดันทุกภาคส่วนร่วมกันสร้างความแข็งแกร่งให้กับประเทศ ผ่านสัมมนา Thailand Competitiveness Conference 2017

24 Jul 2017
สมาคมจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย จัดงานใหญ่ Thailand Competitiveness Conference 2017 ภายใต้หัวข้อ Reinforcing the Foundation for Competitiveness เชิญผู้นำทั้งจากภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้อง เสนอแนวทาง การพัฒนาประเทศในการขับเคลื่อนขีดความสามารถการแข่งขันให้เติบโตอย่างแข็งแรงและมั่นคง เน้นประเด็น โครงสร้างพื้นฐาน 3 เรื่อง นวัตกรรม ดิจิทัล และการลงทุนพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ในฐานะประธานเปิดงานสัมมนา Thailand Competitiveness Conference 2017 : Reinforcing the Foundation for Competitiveness ของสมาคมการจัดการ ธุรกิจแห่งประเทศไทย (TMA) กล่าวว่า ทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐ เอกชน และประชาชน ควรได้รับทราบถึง แนวทางการยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ และควรมีการร่วมมือกัน ขับเคลื่อนระบบ เศรษฐกิจ เพื่อให้ประเทศมีขีดความสามารถในการแข่งขันเพิ่มขึ้น ซึ่งรัฐบาลและนายกรัฐมนตรี ได้ให้ความ สำคัญและได้กำหนดยุทธศาสตร์และแผนงาน ด้วยการจัดตั้งคณะกรรมการพัฒนาขีดความสามารถในการ แข่งขันของประเทศ (กพข.) โดยนายกรัฐมนตรีเป็นประธานในการกำกับดูแลการขับเคลื่อนดังกล่าว

ซึ่งการที่ประเทศไทยปรับตัวขึ้นมาอยู่ที่ลำดับที่ 27 ด้วยคะแนน 80 คะแนน จาก 63 ประเทศ ถือเป็นสัญญาณที่บ่งชี้ให้เห็นว่า ประเทศไทยมีศักยภาพที่จะยกระดับประเทศที่มีขีดความสามารถทางการแข่ง ขันสูง และหลุดพ้นจากกับดักประเทศรายได้ปานกลาง และการจะยกระดับขีดความสามารถทางการแข่งขัน ของประเทศให้อยู่ในระดับสุง จะต้องเน้นการขับเคลื่อนจากภาคธุรกิจควบคู่กับการลงทุน ในโครงสร้าง พื้นฐานจากภาครัฐ ด้วย 3 แนวทางคือ แนวทางการส่งเสริมธุรกิจ Startups ในยุคไทยแลนด์ 4.0 แนวทาง ในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานจากภาครัฐ และแนวทางการร่วมมือระหว่างรัฐและเอกชน ในการขับเคลื่อน เศรษฐกิจ

นายอาร์ทูโร่ บริส ผู้อำนวยการสถาบันเพื่อการพัฒนาการจัดการ (International Institute for Management Development : IMD) กล่าวว่า โลกยุคปัจจุบัน ดิจิตอลจะเข้ามามีบทบาท และจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง อย่างที่เราไม่เคยพบมาก่อน และจะเข้ามาทดแทนแรงงาน โดยเฉพาะเทคโนโลยี AI ที่จะกลายเป็นบทนำของ เศรษฐกิจ และควรให้การส่งเสริมบุคลากรให้มีความรู้ความสามารถ และนำความรู้ความสามารถดังกล่าวมาใช้พัฒนาและขับเคลื่อนภาคเศรษฐกิจให้มีความแข็งแกร่งมากขึ้น

ด้าน นางสาววรรณวีรา รัชฎาวงศ์ กรรมการบริหาร สมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย (TMA) กล่าวว่า งานสัมมนา Thailand Competitiveness Conference เป็นเสมือนเวทีผู้บริหารที่เป็นผู้นำในการขับเคลื่อนจาก ภาคส่วนต่างๆ ได้มาร่วมแสดงความคิดเห็น และนำเสนอแนวทางการปฏิบัติที่เคยได้รับการประยุกต์ใช้ และ ประสบความสำเร็จแล้ว นำมาเป็นแนวทางในการพัฒนาประเทศไทย เพราะเมื่อสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลง ไป ทำให้สถานภาพในการแข่งขันต้องปรับเปลี่ยนไป ด้วยการระดมความคิดเห็นจากผู้นำในแต่ละภาคส่วน จะมีส่วนช่วยทำให้เราสามารถกำหนดแนวทางการ ปฏิบัติที่สอดคล้องกับวิสัยทัศน์และยุทธศาสตร์หลักของ ประเทศ อันจะทำให้เกิดความสามารถในการแข่งขันของ ประเทศได้อย่างแท้จริง

สืบเนื่องจากผลการจัดอันดับขีดความสามารถการแข่งขันเมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ประเทศไทยถูกจัด อันดับดีขึ้น อย่างต่อเนื่อง 3 ปีซ้อน โดยในปีนี้มีอันดับที่ดีขึ้น 1 อันดับ เลื่อนขึ้นจากอันดับที่ 28 ในปี 2559 เป็น อันดับที่ 27 ในปี 2560 หาก พิจารณาคะแนนตั้งแต่ปี 2556 - 2560 จะเห็นได้ว่ามีคะแนนสูงขึ้นมาโดยตลอด นับตั้งแต่ ปี 2557 เป็นต้นมา และเริ่มมีแนว โน้มสูงกว่าคะแนนเฉลี่ยของทุกประเทศ ที่ได้รับการจัดอันดับ ตั้งแต่ปี 2558 ซึ่งในปี 2560 ประเทศไทย มี คะแนน 80.095 ในขณะที่คะแนนเฉลี่ยของ 63 ประเทศที่ได้รับการ จัดอันดับเท่ากับ 77.033 อันแสดงให้เห็นว่าความ พยายามของรัฐบาล และทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ในการขับ เคลื่อนการยกระดับ ขีดความสามารถในการแข่งขันของ ประเทศได้เริ่มส่งผล ซึ่งหาก มีการเร่งดำเนินการ ขับเคลื่อนอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง จะทำให้ประเทศไทยมีอันดับความสามารถที่สูงขึ้น จนเป็นหนึ่งใน ประเทศชั้นนำได้อย่างแน่นอน

"ในงานสัมมนา Thailand Competitiveness Conference 2017 ภายใต้หัวข้อ Reinforcing the Foundation for Competitiveness ทาง TMA เน้นถึงความสำคัญของการพัฒนาปัจจัยพื้นฐาน อาทิ ด้านนวัตกรรม ดิจิทัล และ การลงทุน พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ฯลฯ เพื่อรองรับการยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขัน ความเชื่อมโยง ในการดำเนินงานของภาคส่วนต่างๆ เกี่ยวกับการพัฒนาปัจจัยพื้นฐานเหล่านั้น รวมทั้งความสอดคล้องกับวิสัยทัศน์และยุทธศาสตร์หลักของประเทศ จึงมุ่งนำเสนอและหารือแนวทางการบูรณาการความร่วมมือจาก ทุกภาคส่วนเพื่อบรรลุวิสัยทัศน์ที่ตั้งไว้ โดยมีผู้บริหารเข้าร่วมนำเสนอแนวทางการปฏิบัติที่ดี โดยผู้เชี่ยวชาญ จากประเทศที่ประสบความสำเร็จในการขับเคลื่อนในด้านต่างๆ เพื่อนำมาเป็นแนวทางในการพัฒนาของ ประเทศไทยต่อไป" วรรณวีรา กล่าว