ร่วมเรียกร้องให้ผู้ป่วยเอสแอลอีเบิก “ครีมกันแดด” จากระบบประกันสุขภาพแห่งชาติได้ ไม่ใช่เพื่อสวยงาม แต่เพื่อรักษาชีวิต แพทย์ชี้ คนไทย 60% ทาครีมกันแดดไม่ถูกวิธี!

17 Jul 2017
ปันปั่น โครงการจักรยานสาธารณะโดยกรุงเทพมหานคร ร่วมกับ มูลนิธิโรงพยาบาลเด็ก สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี และ ชมรมคนต่อสู้โรคเอสแอลอี จัดกิจกรรมปั่นจักรยานเพื่อการกุศล "ปันน้ำใจให้น้องครั้งที่ 4" ซึ่งเป็นกิจกรรมปั่นจักรยาน เพื่อไปทำบุญบริจาคเงินและสิ่งของ ช่วยเหลือกองทุนผู้ป่วยโรคแพ้ภูมิตนเอง มูลนิธิโรงพยาบาลเด็ก โดยในงาน นอกจากจะมีการปั่นจักรยานแล้ว ยังมีการเสวนาในหัวข้อ "แดดจ๋า อย่ารังแกหนู หนูเป็นโรคเอสแอลอี" โดย นพ.กันย์ พงษ์สามารถ กุมารแพทย์โรคข้อและรูมาติสซั่ม สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี และ
ร่วมเรียกร้องให้ผู้ป่วยเอสแอลอีเบิก “ครีมกันแดด” จากระบบประกันสุขภาพแห่งชาติได้ ไม่ใช่เพื่อสวยงาม แต่เพื่อรักษาชีวิต แพทย์ชี้ คนไทย 60% ทาครีมกันแดดไม่ถูกวิธี!

พญ. ปิยอร หัสดินทร ณ อยุธยา แพทย์ผิวหนัง กองแพทย์หลวง สำนักพระราชวัง พร้อมด้วยผู้ป่วยโรคเอสแอลอี อีก 2 ท่าน เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับครีมกันแดด และรณรงค์เรียกร้องให้ผู้ป่วยกลุ่มดังกล่าวสามารถเบิกค่าครีมกันแดดจากระบบประกันสุขภาพแห่งชาติได้นพ.กันย์ เปิดเผยว่า ผู้ป่วยเอสแอลอี กับ นักปั่นจักรยาน มีปัจจัยเสี่ยงร่วมกันคือ เรื่องของการถูกแสงแดดและรังสีอัลตราไวโอเลต ซึ่งในคนที่ไม่มีโรคนั้นนอกจากจะทำให้ผิวไหม้เกรียม หรือเกิดริ้วรอยก่อนวัยแล้ว ยังอาจเพิ่มปัจจัยเสี่ยงในการเกิดมะเร็งผิวหนังได้อีกด้วย ส่วนในผู้ป่วยโรคเอสแอลอี กลไกการกำจัดเซลล์ผิวหนังที่ตายทำงานได้เชื่องช้ากว่าคนทั่วไป ทำให้โปรตีนในนิวเคลียสที่ตกค้างอยู่กระตุ้นให้ระบบภูมิคุ้มกันแอคทีฟได้ และนอกจากนี้ผู้ป่วยเอสแอลอีมักได้รับยาสเตียรอยด์ซึ่งทำให้ผิวหนังเปราะบางมากขึ้นด้วย จึงทำให้ผู้ป่วยเอสแอลอีมีความไวต่อแสงมากกว่าคนทั่วไป หากโดนแสงแดด โดยเฉพาะอย่างยิ่งรังสีอัลตราไวโอเลต จะไม่เพียงแต่ทำให้เกิดผื่นแพ้แสง แต่อาจทำให้โรคกำเริบรุนแรงได้อีกด้วย ทั้งนี้การทาครีมกันแดดอย่างถูกต้องจะช่วยป้องกันได้มาก แต่ครีมกันแดดที่มีประสิทธิภาพสูง และปลอดภัยต่อผิวที่เปราะบางมักมีราคาแพง ทำให้ผู้ป่วยที่มีฐานะไม่ดี ไม่สามารถเข้าถึงได้ ในหน้าร้อนของทุกๆปีจะต้องมีผู้ป่วยเอสแอลอีเกิดโรคกำเริบขึ้น อันที่จริงประเทศไทยเราอยู่ในโซนสีม่วงที่ค่าดัชนีความเข้มของรังสียูวีสูงกว่า 11 ตลอดทั้งปี จึงมีความจำเป็นที่ผู้ป่วยเหล่านี้จะต้องใช้ครีมกันแดดอย่างสม่ำเสมอ ครีมกันแดดที่อาจถูกมองว่าเป็นเวชสำอางค์สำหรับคนทั่วไป แต่สำหรับคนไข้เอสแอลอี มันคือการป้องกันโรคกำเริบ ทางมูลนิธิโรงพยาบาลเด็กจัดกิจกรรมระดมทุนเพื่อหาครีมกันแดดให้กับผู้ป่วยเหล่านี้ทุกปี ตนจึงอยากให้คนไข้เหล่านี้สามารถรับครีมกันแดดจากนะบบประกันสุขภาพของรัฐได้

ด้าน พญ. ปิยอร กล่าวว่าวิธีเลือกครีมกันแดดคือ ให้ดูที่ค่า SPF (Sun Protection Factor) หรือ ค่าความสามารถในการป้องกันรังสี UVB ส่วน UVA ให้ดูที่ค่า PA โดยสำหรับผู้ป่วยเอสแอลอีจะแนะนำค่า SPF 50 และค่า PA +++ ขึ้นไป โดยครีมกันแดด อาจแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทคือ ครีมกันแดดชนิดกายภาพ (Physical sunscreen) หรือแบบสะท้อนแสง จะไม่ซึมเข้าสู่ผิวหนัง เวลารังสียูวีมากระทบก็จะสะท้อนกลับไป ข้อดีคือ เหมาะกับคนที่ผิวแพ้ง่าย ผิวเด็ก แต่จะวอก ดูไม่เป็นธรรมชาติ และหลุดเร็ว อาจต้องทาบ่อยๆ อีกประเภทหนึ่งคือ ครีมกันแดดชนิดเคมี (Chemical sunscreen) จะซึมเข้าสู่ผิว และดูดซับแสงเปลี่ยนเป็นพลังงานอย่างอื่น ป้องกันไม่ให้แสงผ่านลงในชั้นผิวหนังได้ผลิตภัณท์กันแดดหลายชนิดในท้องตลาดจึงมีทั้งสองอย่างผสมกันมากกว่าประเภทละ 2 ตัวขึ้นไป สำหรับสารเคมีที่อาจทำให้เกิดการแพ้ได้ง่ายก็ควรจะหลีกเลี่ยง เช่น ผลิตภัณท์ที่มีสารพาราเบนเป็นส่วนผสม จากนั้นต้องดูว่าเป็นครีมกันน้ำ เมื่อเหงื่อออกจะได้ไม่หายไป นอกจากนี้อาจใช้อุปกรณ์อย่างอื่นช่วย เช่น กางร่ม ใส่หมวก หรือใส่เสื้อแขนยาว

ทุกวันนี้คนประมาณ 60% ใช้ครีมกันแดดไม่ถูกต้อง ทำให้ไม่ได้ประสิทธิภาพเท่ากับที่ระบุไว้ การทาในปริมาณที่ถูกต้องคือประมาณ 2 มิลลิกรัมต่อเนื้อที่ผิวหนัง 1 ตารางเซนติเมตร เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพตามที่เขียนไว้ที่ผลิตภัณฑ์ ซึ่งอาจอาจคำนวนง่ายๆว่าโดยใช้หน่วยข้อนิ้วมือ ดังแสดงในแผนภูมิ

ส่วน พญ. พรเพ็ญ อัครวัชรางกูร แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้าน อายุรศาสตร์โรคข้อและรูมาติซั่ม โรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา สภากาชาดไทย ที่ปรึกษาชมรมคนต่อสู้โรคเอสแอลอี ซึ่งมาร่วมฟังเสวนา กล่าวว่า สำหรับคนทั่วไปครีมกันแดดอาจจะถูกใช้เพื่อความสวยงาม แต่สำหรับผู้ป่วยโรคเอสแอลอี มันคือชีวิต และแดดในเมืองไทยก็แรงมาก ทำให้คนที่มีแนวโน้มจะเป็นโรคเอสแอลอีอยู่แล้วถูกกระตุ้นให้เป็นเร็วมากขึ้น

"เวลาที่เด็กๆโรคกำเริบ อาจจะต้องได้ยาขนานสูง บางคนได้สเตียรอยด์ หรือแรงกว่านั้น ทำให้มีผลกระทบหลายอย่าง เช่นประจำเดือนไม่มา กระดูกพรุน หรือมีปัญหาเรื่องความสูงและความสมบูรณ์ของร่างกาย ดังนั้นตรงนี้จึงสำคัญมาก หากยากันแดดสามารถเบิกได้ในคนไข้ที่จำเป็นจะต้องใช้ เช่น ผู้ป่วยโรคเอสแอลอี ถ้าเขาได้รับตรงนี้ มันจะเท่ากับเปลี่ยนคุณภาพชีวิตของเขาได้เลย"

สำหรับ ด.ต.หญิง ฐิติมา นุ่มน้อย วัย 51 ปี ป่วยเป็นโรคเอสแอลอีมาแล้ว 26 ปี กล่าวว่า เนื่องด้วยอาชีพของตนทำให้ต้องอยู่กลางแดดเป็นเวลานาน ตนจึงเสียค่าใช้จ่ายกับครีมกันแดดเป็นจำนวนมาก และจะทาเพียงที่หน้าหรือแขนที่เห็นว่ายื่นออกมานอกร่มผ้าเท่านั้นไม่ได้แต่ต้องทาทั้งตัวและว่าหากเกิดกำเริบขึ้นมานั้นมันไม่คุ้มกันเลย

"หากโรคกำเริบมันจะทำให้เราตับอักเสบ ไตอักเสบ ปวดกระดูกไปทั้งตัวจนเดินไม่ได้ มันไม่ได้เกิดขึ้นแค่ภายนอกเท่านั้น แต่ว่ามันเกิดกับภายในด้วย"

และน้องใบตอง ด.ญ.ขวัญจิรา ขาวดา อายุ 12 ปี ผู้ป่วยเป็นโรคเอสแอลอีในเด็กกล่าวว่า หากตนเองโดนแดดมากๆผิวจะแดง ไหม้ ตาบวม ปากบวม ทำให้ต้องระวังในการใช้ชีวิต คือไม่สามารถทำกิจกรรมกลางแจ้งร่วมกับเพื่อนๆได้เลย ส่วนอาหารก็ต้องระมัดระวัง ไม่ทานเค็มเกินไป หรือของหมักดอง เป็นต้น

พญ. ปิยอรกล่าวทิ้งท้ายว่าแสงแดด เป็นอันตรายมาก แม้แต่กับคนทั่วไปแสงแดดก็ยังมีปัญหา ดังนั้นครีมกันแดดจึงค่อนข้างสำคัญ แต่ในปัจจุบันผู้ที่เกี่ยวข้องจะให้ความสำคัญกับการรักษามากกว่าการป้องกัน แต่ส่วนตัวคิดว่า การป้องกันจะดีกว่าการรักษา สำหรับผู้ที่สนใจบริจาคเงินเพื่อช่วยเหลือกองทุนผู้ป่วยโรคแพ้ภูมิตนเอง มูลนิธิโรงพยาบาลเด็ก สามารถบริจาคได้โดยตรงที่อาคารนริศรา สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี หรือโอนเงินเข้าธนาคารไทยพาณิชย์ สาขารพ.ราชวิถี ชื่อบัญชี "สมทบทุนมูลนิธิโรงพยาบาลเด็ก" เลขที่บัญชี051-2-09873-5 โดยระบุชื่อกองทุนโรคแพ้ภูมิตนเอง หรือรหัสกองทุน A-019 และหากต้องการรับใบเสร็จเพื่อลดหย่อนภาษี กรุณาส่งหลักฐานการโอนเงินของท่าน และส่งที่อยู่มายัง email: [email protected] Line ID: dr.six-shooter ทางมูลนิธิจะจัดส่งใบเสร็จรับเงินให้ทางไปรษณีย์

HTML::image( HTML::image( HTML::image(