สำหรับกรอบแนวทางที่ไทยขอรับการสนับสนุนและร่วมมือจากอิสราเอล มี 3 ประเด็นหลัก ได้แก่ 1. การใช้เทคโนโลยีให้เหมาะสมกับพื้นที่ เพื่อลดต้นทุนและเพิ่มผลผลิต โดยเฉพาะการถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยีการผลิตสินค้าเกษตรในระดับไร่นา การจัดการ ดิน น้าและ พืช การวิเคราะห์คุณสมบัติดินและน้ำในพื้นที่ การแนะนำพืชทางเลือกที่เหมาะสมกับดินและน้ำและมีมูลค่าสูงทางการตลาด การนำน้ำมาใช้ซ้ำและหมุนเวียนน้ำเสียกลับมาใช้ใหม่การจัดแปลงเพาะปลูก และระบบการให้น้ำ การจัดแปลงเพาะปลูกที่เหมาะสมเพื่อลดการระเหยของน้ำและให้ผลผลิตต่อหน่วยสูง การออกแบบระบบการให้น้ำแบบประหยัดน้ำและประหยัดพลังงานที่เหมาะสมกับชนิดพืช ทางเลือก ดิน และปริมาณน้ำต้นทุนที่มีอยู่โดยคำนึงถึงผลผลิต ต่อหน่วยและผลผลิตต่อพื้นที่ที่เพิ่มขึ้น รวมถึงถ่ายทอดดองค์ความรู้และเทคโนโลยีการผลิตสินค้าเกษตรในระดับธุรกิจในด้านเทคโนโลยีหลังเก็บเกี่ยวเพื่อเก็บรักษาคุณภาพผลผลิตอย่างมีประสิทธิภาพ 2. ให้คำแนะนำและช่วยเหลือในการเลือก การพัฒนา การติดตั้ง และประยุกต์ใช้เครื่องจักร เครื่องมือ อุปกรณ์อิเลคทรอนิคส์คอมพิวเตอร์และซอฟแวร์สำหรับเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย 3. เป็นพี่เลี้ยงการดาเนินโครงการให้กับบุคลากรฝ่ายไทยจนสิ้นสุดระยะเวลาการดำเนินการ 2 ปี (2561-2562)
ด้านนายสมเกียรติ ประจาวงษ์ รองอธิบดีกรมชลประทาน กล่าวเพิ่มเติมถึง ขอบเขตการดำเนินงานว่า ในระยะเริ่มโครงการจะจัดตั้งศูนย์เรียนรู้และจัดตั้งแปลงสาธิตขนาด 100-300 ไรในพื้นที่เป้าหมายข้างต้น โดยจะมีการจัดตั้งกลุ่มเกษตรกรผู้ใช้น้ำชลประทาน และกลุ่มเกษตรกรผู้ผลิตสินค้าเกษตรในพื้นที่ เพื่อทดลอง และปฏิบัติจริงตามกระบวนการทางด้านเทคนิคการถ่ายทอดและฝึกอบรมเทคโนโลยีให้เหมาะสมกับพื้นที่ ภายใต้โครงการความร่วมมือทางด้านการเกษตรระหว่างไทย-อิสราเอล ซึ่งจะมีการติดตามและประเมินผลอย่างต่อเนื่อง ระยะเวลาดำเนินงานในปีงบประมาณพ.ศ.2561-2562 รวมระยะเวลา 2 ปี โดยมีเป้าหมายให้เกษตรกรมีพืชทางเลือกหลายชนิด สามารถเพิ่มรายได้และเสริมสร้างความมั่นคงในอาชีพของ เกษตรกรในพื้นที่ มีการบริหารจัดการแปลงเพาะปลูกที่ดีขึ้นและประหยัดการใช้น้า โดยมีระบบการนำน้ำมาใช้ซ้ำและหมุนเวียนน้าเสียกลับมาใช้ใหม่มีระบบการให้น้ำมีประสิทธิภาพสูงและมีเทคโนโลยีที่ทันสมัย รวมทั้งมีองค์ความรู้ในการรักษาคุณภาพผลผลิตอย่างมีประสิทธิภาพ
"กรมชลประทานได้พิจารณาคัดเลือกพื้นที่ชลประทานอ่างเก็บน้าห้วยประดู่ โครงการชลประทานมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคามมานำร่องภายใต้กรอบความร่วมมือไทย-อิสราเอลครั้งนี้ เนื่องจากอ่างเก็บน้าห้วยประดู่ซึ่งมีปริมาณน้ำกักเก็บอยู่ที่ 2.8 ล้านลบม. มีระบบชลประทานครอบคลุมพื้นที่เกษตร 2,270 ไร่ การเกษตรโดยส่วนใหญ่ปลูกข้าวเป็นหลักในฤดูฝน ขณะที่ในฤดูแล้งปลูกพริก และพืชตระกูลถั่ว/ข้าวโพดหวาน ขณะเดียวกัน สภาพดินในพื้นที่มีปัญหาเรื่องดินเค็ม เนื้อดินมีทรายปนสูง จึงมีการสูญเสียน้ำมาก หากส่งน้ำแบบผิวดินแบบเดิม ประกอบกับน้ำต้นทุนในอ่างมีแนวโน้มลดลง จึงต้องการใช้เทคโนโลยีการส่งและกระจายน้ำเพื่อให้มีการสูญเสียน้อย และลดผลกระทบปัญหาดินเค็ม" นายสมเกียรติ กล่าว
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit