นายสมชาย ชาญณรงค์กุล อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร เปิดเผยว่า สำหรับความก้าวหน้าโครงการ 9101 ตามรอยเท้าพ่อฯ ข้อมูล ณ วันที่ 23 กรกฎาคม 2560 เวลา 18.00 น. มีชุมชนเข้าร่วมโครงการ 9,101 ชุมชน โดยมีจำนวนโครงการที่คณะกรรมการฯ ระดับอำเภอ พิจารณาอนุมัติโครงการ และสำนักงบประมาณให้ความเห็นชอบแผนปฏิบัติงาน และแผนการเบิกจ่ายงบประมาณ จำนวน 24,168 โครงการ วงเงิน 19,867.20 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 87.32 ของวงเงินที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติ (22,752.50 ล้านบาท)โดยสัดส่วนของรายการใช้จ่ายงบประมาณ แบ่งเป็นค่าวัสดุและอุปกรณ์ 9,897.27 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 49.82 และค่าจ้างแรงงาน 9,969.93 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 50.18 มีจำนวนสมาชิกกลุ่มที่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณให้ดำเนินโครงการ 1.56 ล้านราย รวมจำนวนเกษตรกรที่คาดว่าได้รับประโยชน์จากโครงการฯ ทั้งประเทศ 7.78 ล้านรายโดยสามารถแยกประเภทโครงการ ดังนี้ 1. ด้านการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ ร้อยละ 35.19 จำนวน 8,505 โครงการ งบประมาณ 10,572.39 ล้านบาท 2. ด้านการผลิตพืชและพันธุ์พืช ร้อยละ 20.87 จำนวน 5,043 โครงการ งบประมาณ 3,157.92 ล้านบาท3. ด้านการปศุสัตว์ ร้อยละ 14.37 จำนวน 3,474 โครงการ งบประมาณ 2,044.07 ล้านบาท 4. ด้านการผลิตอาหารการแปรรูปผลผลิต และผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร ร้อยละ 12.00 จำนวน 2,900 โครงการ งบประมาณ 1,221.43 ล้านบาท5. ด้านการประมง ร้อยละ 10.74 จำนวน 2,596 โครงการ งบประมาณ 1,387.27 ล้านบาท 6. ด้านฟาร์มชุมชน ร้อยละ 3.95 จำนวน 954 โครงการ งบประมาณ 1,007.15 ล้านบาท 7. ด้านการจัดการศัตรูพืช ร้อยละ 1.83 จำนวน 442 โครงการ งบประมาณ 231.51 ล้านบาท 8. ด้านการปรับปรุงบำรุงดิน ร้อยละ 0.88 จำนวน 212 โครงการ งบประมาณ 225.98 ล้านบาท และด้านการเกษตรอื่นๆ ร้อยละ 0.17 จำนวน 42 โครงการ งบประมาณ 16.40 ล้านบาท ซึ่งได้โอนเงินให้คณะกรรมการฯ ระดับชุมชน ตั้งแต่วันที่ 13 กรกฎาคม 2560 ครบถ้วนแล้ว
สำหรับการเบิกจ่ายงบประมาณกลุ่มสมาชิกในชุมชนเบิกจ่ายงบประมาณ ตัดยอด ณ วันที่ 23 กรกฎาคม 2560 จำนวน 1,249.75 ล้านบาท แบ่งเป็นค่าวัสดุและอุปกรณ์ 1,194.46 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 12.07 ของงบประมาณค่าวัสดุและอุปกรณ์ทั้งหมดและค่าจ้างแรงงาน 55.29 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 0.55 ของงบประมาณค่าจ้างแรงงาน
"สำหรับเงื่อนไขของโครงการ 9101 ตามรอยเท้าพ่อฯ ได้มุ่งเน้นการพัฒนาการเกษตรอย่างยั่งยืนโดยการจ้างแรงงานเกษตรกรที่มีรายได้น้อย การใช้จ่ายในชุมชน และ เมื่อโครงการสำเร็จแล้ว เกษตรกรที่คนในชุมชนสามารถเข้าใช้ หรือรับประโยชน์จากผลผลิตของ โครงการได้ สำหรับแรงงานส่วนใหญ่เป็นเกษตรกรที่มีรายได้น้อย มักเกิดจากการว่างงาน ไม่มีอาชีพอื่นเสริม หากแจกเงินให้ เกษตรกรต้องเก็บออมไว้ใช้ในยามจำเป็น และ แรงงานส่วนที่ว่างงานไม่ได้มาใช้ในภาคการผลิตเช่นเดิม ดังนั้น โครงการฯ นี้จะช่วยสนับสนุนและต่อยอดอาชีพและรายได้แก่เกษตรกรไม่เพียงเฉพาะรายเท่านั้นแต่เป็นการสร้างรายได้ระดับชุมชนและเกิดการหมุนเวียนในระดับเศรษฐกิจได้" อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าว
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit