ไอเอฟเอส เผยผลสำรวจของศักยภาพของดิจิทัล ทรานส์ฟอร์เมชั่น นายแอนโทนี บอร์น รองประธานฝ่ายโซลูชั่นสำหรับอุตสาหกรรมทั่วโลก บริษัท ไอเอฟเอส

02 Aug 2017
ดิจิทัล ทรานส์ฟอร์เมชั่น หรือ ดีที (Digital Transfomation:DT) กำลังจะมา จากการสำรวจล่าสุดเรื่อง Digital Change Survey ที่ดำเนินการโดยบริษัท ไอเอฟเอส ที่สอบถามความคิดเห็นจากผู้เชี่ยวชาญจำนวน 750 คน ในแวดวงอุตสาหกรรมต่างๆ พบว่า 80% เห็นว่าพวกเขา 'มีความสามารถ' 'มีประสิทธิภาพ' หรือ 'มีความพร้อม' ในการนำแนวทาง DT เข้ามาปรับใช้ โดย 89% ระบุว่าพวกเขามีเงินทุน 'มากพอ' หรือ 'เพียงพอ' สำหรับโครงการดิจิทัลต่างๆ ซึ่งเป็นการตอกย้ำให้เห็นอย่างชัดเจนว่านี่คือเวลาของเทคโนโลยีที่จะเข้ามาสร้างความเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญ และบริษัทส่วนใหญ่กำลังตระหนักว่าพวกเขาต้องพร้อมสำหรับการลงทุน แล้วทำไมองค์กรธุรกิจถึงต้องลงทุนด้วยเล่า พวกเขามองเห็นผลกำไรจำนวนมากจากที่ไหน และพวกเขาจะผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งองค์กรให้สำเร็จได้อย่างไร
ไอเอฟเอส เผยผลสำรวจของศักยภาพของดิจิทัล ทรานส์ฟอร์เมชั่น  นายแอนโทนี บอร์น รองประธานฝ่ายโซลูชั่นสำหรับอุตสาหกรรมทั่วโลก บริษัท ไอเอฟเอส

บริษัทต่างๆ จำเป็นต้องมองไกลไปกว่าแค่ประสิทธิภาพที่จะได้รับในเวลาอันรวดเร็ว

ผลสำรวจพบว่ามากกว่า 1 ใน 4 (27%) ของบริษัทที่ตอบแบบสอบถามระบุว่า ดิจิทัล ทรานส์ฟอร์เมชั่น 'ทำให้พวกเขามีความสามารถในการแข่งขันเพิ่มมากขึ้น' ซึ่งนั่นสร้างความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ ขณะที่ 29% พบข้อดีหลักๆ ของ 'การกระตุ้นให้เกิดนวัตกรรมเร็วขึ้น' และ 28% พบ 'โอกาสการขยายตัวในตลาดใหม่ๆ' ทั้งหมดนี้กำลังสร้างแรงบันดาลใจให้เกิดขึ้น บริษัทที่กำลังใช้แนวทางการแปรรูปสู่ระบบดิจิทัลได้ถามคำถามเชิงยุทธศาสตร์ที่มีผลกระทบอย่างมาก เช่น "ฉันสามารถใช้ DT เพื่อทำให้ได้รับส่วนแบ่งตลาดเพิ่มมากขึ้นหรือขยายกลุ่มผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่ได้ไหม" ซึ่งเป็นการสร้างโอกาสเชิงกลยุทธ์ระยะยาวให้กับเทคโนโลยีดังกล่าว และยังมีความกังวลว่าการแปรรูป ("ฉันจะต้องดูแลรักษาอุปกรณ์ของฉันบ่อยแค่ไหนและสิ่งนี้จะส่งผลกระทบต่อความสามารถในการแข่งขันของฉันอย่างไร") จะเป็นตัวสร้างความแตกต่างเชิงกลยุทธ์ที่สำคัญได้อย่างไร

แต่บริษัทเหล่านี้ยังจัดอยู่ในกลุ่มคนส่วนน้อย โดยมีกลุ่มที่ใหญ่ที่สุดในการสำรวจถึง 47% ยังคงมองเห็นข้อดีหลักๆ ของ DT ว่าเป็น 'การปรับปรุงประสิทธิภาพของกระบวนการดำเนินงานภายในให้ดียิ่งขึ้น' ซึ่งทำให้ผมอยากทราบว่า: บริษัทต่างๆ มองเห็นศักยภาพสูงสุดของเทคโนโลยีที่สร้างปรากฏการณ์ครั้งใหญ่นี้จริงหรือไม่ นวัตกรรมอาจจะเป็นตัวสร้างหรือตัวทำลายบริษัทก็ได้ โดยจากผลการศึกษาหลายต่อหลายชิ้นพบว่าสิ่งนี้มีความความสำคัญในระดับ ซี แล้วทำไมจึงไม่มีการผลักดันด้านดิจิทัล ทรานส์ฟอร์เมชั่น อย่างจริงจังบ้าง เมื่อหันมาพิจารณาในเรื่องการลงทุนด้านเทคโนโลยี พบว่าเงินทุนส่วนใหญ่ถูกใช้ไปกับการสร้างกระบวนการดำเนินงานภายในให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ดังนั้นแนวทางสู่นวัตกรรมจึงเป็นเรื่องยาก การให้ความสำคัญกับ 'ประสิทธิภาพการดำเนินงานภายในที่ดียิ่งขึ้น' โดยวางให้เป็นเหตุผลสำคัญสำหรับการเดินหน้าเข้าสู่เส้นทางสาย DT นั้น ผมคิดว่าเป็นวิสัยทัศน์ที่คับแคบเกินไป เพราะสิ่งนี้อาจนำไปสู่ความล้มเหลวทางด้านกลยุทธ์และอาจทำให้เกิดความยุ่งยากมากขึ้นในการเสริมสร้างความเข้าใจและความเชื่อมั่นของพนักงาน

การเอาชนะใจและความคิด คือการเอาชนะความกลัวการเปลี่ยนแปลง

แม้ว่าจะมีข่าวดีมากมาย แต่การสำรวจยังคงแสดงให้เห็นว่า 42% ของผู้ตอบแบบสอบถาม 'กลัวการเปลี่ยนแปลง' ซึ่งเป็นอุปสรรคหลักของดิจิทัล ทรานส์ฟอร์เมชั่น บริษัทต่างๆ ต้องคิดอย่างรอบคอบว่าพวกเขาจะกำหนดและจัดวางตำแหน่งของ ไอโอที และเทคโนโลยีที่สามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่อื่นๆ ไว้อย่างไร พวกเขาจะบอกเล่าเรื่องราวการหันมาใช้แนวทางนี้อย่างไร และพวกเขาจะสื่อสารให้เห็นถึงผลประโยชน์ที่มีต่อพนักงานทั้งหมดในการเปลี่ยนความคิดของพนักงานจาก 'ความเกลียดกลัวข้อมูล' ไปเป็น "คนรักข้อมูล" ได้อย่างไร

การเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีที่ประสบความสำเร็จสูงสุดถูกนำมาใช้จากล่างขึ้นบน และจากบนลงล่างภายใต้การสนับสนุนจากผู้คนในองค์กร การยอมรับจากพนักงานเป็นภารกิจที่สำคัญยิ่ง โอกาสของการเติบโตและการเพิ่มประสิทธิภาพสำหรับทุกคนนั้น จำเป็นต้องได้รับการสื่อสารอย่างชัดเจนและเปิดเผย ลองจินตนาการถึงวิศวกรบริการที่ได้รับข้อมูลมาว่ากำลังมีการนำเอาระบบการบำรุงรักษาเชิงพยากรณ์เข้ามาใช้ในองค์กร "ระบบนี้จะทำให้คนที่เป็นวิศวกรต้องออกจากงานสินะ" คือความคิดแวบแรกที่อาจเกิดขึ้นได้ แม้ว่าในทางกลับกันสิ่งนี้อาจก่อให้เกิดแรงบันดาลใจใหม่ๆ รวมถึงสร้างวิธีการทำงานร่วมกันและเปิดกว้างให้กับโอกาสใหม่ๆ ได้! ในสถานการณ์เช่นนี้ การมุ่งเน้นไปที่กลยุทธ์ระยะยาวในลักษณะที่เป็นภาพใหญ่ ('เราจะมีความสามารถในการแข่งขันเพิ่มมากขึ้น/กระตุ้นให้เกิดนวัตกรรมเร็วขึ้น/มีโอกาสการขยายตัวในตลาดใหม่ๆ') จะเป็นการจุดประกายได้มากกว่าข้อดีเชิงกลยุทธ์ระยะสั้น ('เรากำลังปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงานภายในให้ดียิ่งขึ้น')

ดิจิทัล ทรานส์ฟอร์เมชั่น ก็เหมือนกับโครงการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่อื่นๆ ที่จะต้องเอาชนะใจและความคิดของผู้คนที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลและระบบดังกล่าวโดยตรง ซึ่งจำเป็นจะต้องได้รับการบริหารจัดการในด้านของบุคลากรด้วย เราทุกคนเข้าใจดีว่าการประหยัดต้นทุนในระยะสั้นไม่สามารถต่อยอดงานหรือธุรกิจของเราได้ ความมั่นคงที่เพิ่มมากขึ้นต่างหากที่จะทำให้บริษัทสามารถแข่งขันในระยะยาวได้ การวาดภาพใหญ่ที่ชัดเจน การจัดวางแนวทางการเปลี่ยนแปลงสู่ระบบดิจิทัลในรูปแบบของกลยุทธ์ไม่ใช่กลวิธี ในแนวทางการสร้างแรงบันดาลใจไม่ใช่การรุกราน จึงเป็นสิ่งที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง

การเพิ่มและเสริมสร้างทักษะเป็นกุญแจสำคัญในการนำเทคโนโลยีใหม่เข้ามาใช้ในองค์กร

1 ใน 3 บริษัทจากการสำรวจ 'ไม่มีความพร้อมในการจัดการกับช่องว่างทักษะด้านดิจิทัล' องค์กรธุรกิจที่ชาญฉลาดกำลังให้ความสำคัญกับผู้มีศักยภาพด้านข้อมูลเป็นหลัก เช่น วิศวกรบริการของเราดังตัวอย่างข้างต้น ผู้ที่มีความพร้อมและทักษะความสามารถในการขยายบทบาทหน้าที่ของตนให้เพิ่มมากขึ้นได้ บริษัทจะสามารถเชื่อมช่องว่างทักษะอย่างยั่งยืนและสร้างสรรค์ได้อย่างไร

พิจารณาโครงสร้างองค์กรของคุณว่าจำเป็นต้องได้รับการพัฒนาเพื่อให้เอื้อต่อการพัฒนาสู่ระบบดิจิทัลอย่างไรบ้าง สำหรับบริษัทขนาดใหญ่อาจเลือกแนวทางการสร้างแผนกใหม่สำหรับแนวทางด้านดิจิทัลโดยเฉพาะขึ้นมา ซึ่งจะเป็นการบ่มเพาะทักษะด้านการวิเคราะห์และสนับสนุนบุคลากรภายในองค์กรได้

การจัดการทรัพยากรที่มีความสามารถด้านดิจิทัล: มีความจำเป็นอย่างมากที่จะต้องฝึกอบรมพนักงานด้านการบริหารจัดการและการวิเคราะห์ข้อมูล สิ่งนี้จะเป็นส่วนสำคัญในการผลักดันให้บริษัทประสบความสำเร็จสำหรับแนวทางด้านดิจิทัลต่างๆ สร้างเทคโนโลยีที่จะเป็นกุญแจสำคัญสำหรับการพัฒนา องค์กรต้องเริ่มมองหาทักษะความสามารถที่มีในตัวของพนักงานแต่ละคน รวมทั้งเพิ่มทักษะให้กับพวกเขาด้วย

การพัฒนาทักษะอย่างเหมาะสมมีความสำคัญอย่างยิ่ง ทีมทรัพยากรบุคคลต้องตัดสินใจว่าบทบาทใดบ้างในปัจจุบันที่จะต้องได้รับการพัฒนาและจะต้องเพิ่มทักษะความสามารถใหม่ๆ ให้ นำผู้ฝึกสอนจากภายนอกเข้ามาเพื่อสร้างมุมมองใหม่ๆทำงานร่วมกับมหาวิทยาลัยท้องถิ่นเพื่อจูงใจผู้ที่มีทักษะความสามารถและเพื่อผลักดันให้สถาบันการศึกษาต่างๆ หันมาปรับเปลี่ยนโปรแกรมการศึกษาของตนให้สอดคล้องกับอุตสาหกรรมที่กำลังเติบโต การเปิดโอกาสให้นักศึกษาที่ยังไม่ได้รับปริญญาตรีได้มีประสบการณ์ในการทำงานจริงเพื่อสนับสนุนให้บริษัทและนักศึกษาเติบโตไปพร้อมกัน โครงการฝึกงานจะทำให้บริษัทค้นพบทักษะความสามารถของคนในพื้นที่ ทั้งยังช่วยสนับสนุนให้พวกเขาและท้องถิ่นเติบโตขึ้นด้วย

สามขั้วสู่ความสำเร็จที่จะต้องให้ความสำคัญ

มีขั้วหลักๆ 3 ขั้วที่ผลักดันให้ดิจิทัล ทรานส์ฟอร์เมชั่นประสบความสำเร็จ ได้แก่ เทคโนโลยี การลงทุน และบุคลากร ในด้านเทคโนโลยีถือเป็นสิ่งสำคัญสูงสุดที่จะนำพาไปสู่ความสำเร็จ เนื่องจากเป็นสิ่งที่ได้รับแรงผลักดันจากผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีที่มีการกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบอย่างชัดเจน คำถามสำคัญมีว่า คุณกำลังให้ความสำคัญกับเทคโนโลยีที่เหมาะสมเพื่อผลักดันให้เกิดการแปรรูปในเวลาที่เหมาะสมหรือไม่ คุณต้องการเป็นผู้บุกเบิกที่พร้อมรับความเสี่ยงหรือกระโดดเข้าร่วมขบวนการเปลี่ยนแปลงเมื่อเทคโนโลยีเติบโตอย่างเต็มที่

ด้านการลงทุน สิ่งที่เรามองเห็นในการสำรวจครั้งนี้ก็คือ บริษัทต่างๆ คิดว่าพวกเขาทุ่มเงินลงทุนมากพอสำหรับการแปรรูปสู่ระบบดิจิทัล แต่พวกเขากำลังให้ความสำคัญตรงจุดหรือไม่ ผลการสำรวจแสดงให้เห็นว่ามีการให้ความสำคัญอย่างมากกับประสิทธิภาพของกระบวนการดำเนินงาน ดังนั้นอาจมีความจำเป็นที่จะต้องขับเคลื่อนโฟกัสไปที่การลงทุนที่มุ่งเน้นด้านนวัตกรรมมากยิ่งขึ้น

และด้านบุคคลกรที่มักจะถูกหลงลืมในกระบวนการดิจิทัล ทรานส์ฟอร์เมชั่น สิ่งนี้มีความสำคัญอย่างมากทั้งในด้านทักษะความสามารถและการสื่อสาร จากผลการสำรวจพบว่ามากกว่า 40% 'เกลียดกลัวการเปลี่ยนแปลง' ซึ่งถือเป็นอุปสรรคหลักในการแปรรูป ดังนั้น การสื่อสารกับพนักงานจึงเป็นสิ่งที่มีความสำคัญสูงสุดที่จะทำให้แน่ใจได้ว่าพนักงานของคุณได้รับรู้ถึงวัตถุประสงค์การเปลี่ยนแปลงและผลกระทบที่พวกเขาจะได้รับ

ขอทิ้งท้ายด้วยคำถามที่ว่า: คุณจะต้องให้ความสำคัญตรงไหนบ้างจึงจะสามารถสร้างขั้วเหล่านี้ขึ้นมาเพื่อผลักดันให้ดิจิทัล ทรานส์ฟอร์เมชั่นประสบความสำเร็จได้