สถานอารยธรรมศึกษา โขง-สาละวิน มหาวิทยาลัยนเรศวร เดินหน้างานวิจัยภูลมโล จับมือชุมชนและทุกภาคส่วนร่วมวางแผนอนาคตและการจัดการท่องเที่ยวชุมชน จากผู้ประกอบการสู่การเป็นเจ้าบ้านที่ดี เที่ยวได้ตลอดปี ๓๖๕ วัน

11 Aug 2017
เมื่อวันที่ ๒๐ กรกฎาคม ๒๕๖๐ ณ ห้องประชุมศูนย์ประสานงานแผนพัฒนาท้องถิ่น อำเภอนครไทย พิษณุโลก สถานอารยธรรมศึกษา โขง-สาละวิน มหาวิทยาลัยนเรศวรจัดโครงการ "การจัดการชุมชนท่องเที่ยวบนพื้นที่ภูลมโลและพื้นที่เชื่อมโยงอย่างยั่งยืน" ขึ้น เพื่อนำเสนอผลการดำเนินงานวิจัย นำโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วศิน ปัญญาวุธตระกูล ผู้อำนวยการสถานอารยธรรมศึกษา โขง-สาละวิน และ ดร.วารัชต์ มัธยมบุรุษ จากมหาวิทยาลัยพะเยา
สถานอารยธรรมศึกษา โขง-สาละวิน มหาวิทยาลัยนเรศวร เดินหน้างานวิจัยภูลมโล จับมือชุมชนและทุกภาคส่วนร่วมวางแผนอนาคตและการจัดการท่องเที่ยวชุมชน จากผู้ประกอบการสู่การเป็นเจ้าบ้านที่ดี เที่ยวได้ตลอดปี ๓๖๕ วัน

"จากการดำเนินงานวิจัยตลอดระยะเวลากว่า ๑ ปีที่ผ่านมา ได้สร้างความร่วมมือกับชุมชนและองค์กรที่เกี่ยวข้อง เพื่อแก้ปัญหาความแออัดของนักท่องเที่ยว สถานที่จอดรถ เส้นทางการท่องเที่ยว ความสะอาด สาธารณูปโภค การอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ตลอดจนการมีส่วนร่วมและสร้างรายได้ให้ชุมชน จนนำมาสู่การจัดทำรูปแบบที่เหมาะสมในการพัฒนาศักยภาพของชุมชน ตลอดจนการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยภายนอก ปัจจัยภายในของชุมชน ท่องเที่ยวบนพื้นที่ภูลมโลและพื้นที่เชื่อมโยงอย่างยั่งยืน ก่อให้เกิดวิสัยทัศน์ การเปลี่ยนผู้ประกอบการให้เป็นเจ้าบ้านที่ดี โดยการสร้างสำนึกความเป็นเจ้าของชุมชน มิใช่ผู้ประกอบการ ที่มุ่งเน้นผลตอบแทนทางเศรษฐกิจเพียงอย่างเดียว ตลอดจนการสร้างเครือข่ายและพันธมิตรทางเศรษฐกิจระหว่างชุมชน องค์กรเอกชนและภาครัฐ ในการเป็นหุ้นส่วนทางสังคมด้วยแผนพัฒนาชุมชนท่องเที่ยวบนพื้นที่สูงแบบมีส่วนร่วม รวมถึงการเปลี่ยนจุดอ่อนด้วยการนำเสนอจุดแข็งของการทำวัฒนธรรมชาวเขาสู่การทำให้เป็นสินค้าประจำท้องถิ่น"

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วศิน ปัญญาวุธตระกูล กล่าวต่อว่า "ในระหว่างการวิจัยได้มีการสร้างจิตสำนึกการรักษาสิ่งแวดล้อมจากการใช้ถุงกระดาษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน นอกจากนี้ยังมีการพัฒนาสร้างผลิตผลใหม่ เพื่อเป็นกิจกรรมการท่องเที่ยวของชุมชนประกอบให้เกิดรายได้ ได้แก่ มันเผาและชาสีชมพู พร้อมเพิ่มแนวทางจัดการที่สามารถเที่ยวได้ตลอดปี ๓๖๕ วัน เที่ยวไม่หมด สอดคล้องกับผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่ผลิตในชุมชน"

จากนั้นเป็นการอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ประเด็น การพัฒนาเพื่อการวางแผนอนาคต (Scenario Planning) ของชุมชนท่อง เที่ยวและการจัดการท่องเที่ยวของชุมชนฯ โดยมีผู้แทนจากชุมชน อุทยานแห่งชาติภูหินร่องกล้า การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานพิษณุโลก สำนักงานพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนเลย (อพท.๕) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และสถาบันการศึกษาในพื้นที่ที่เกี่ยวข้อง ให้การตอบรับนำผลการวิจัยไปเป็นแนวทางการปฏิบัติในรูปแบบการจัดการการท่องเที่ยวชุมชนแบบมีส่วนร่วม

ทั้งนี้ นายนัฐวัฒน์ ภูวเกียรติกุล รองนายกองค์การบริหารส่วนตำบลเนินเพิ่ม อำเภอนครไทย ให้สัมภาษณ์ว่า "ทางชุมชนบ้านร่องกล้าได้จัดทำเส้นทางการท่องเที่ยวเกษตรเชิงนิเวศน์โดยชุมชน นอกจากฤดูหนาว ช่วงซากุระหรือพญาเสือโคร่งบานแล้ว ในฤดูฝนนักท่องเที่ยวจะได้สัมผัสวิถีชุมชนที่แตกต่างจากพื้นราบ ได้แก่ การปลูกกะหล่ำปลี และไม้ผลอื่น ๆ เช่น ลูกพลับ กาแฟ สตรอเบอรี่ มัลเบอรี่ ท่ามกลางบรรยากาศและภูมิทัศน์อันสวยงาม สดชื่น ส่วนฤดูร้อน เรามีเส้นทางเดินป่า สำรวจถ้ำ ฝายที่สร้างโดยพรรคคอมมิวนิสต์ ลานกุหลาบขาว รอยพระพุทธบาท ตลอดจนการพักค้างแรมในป่า นอกจากนี้ยังได้ศึกษาการดำรงชีวิต ประเพณี ค่านิยมของชาวม้ง มีตลาดนัดเด็กดอย มัคคุเทศก์น้อย ที่สำคัญได้มีการปลูกฝังให้คนรุ่นใหม่เห็นความสำคัญของป่า สร้างจิตสำนึกในการดูแลรักษาป่าอีกด้วย"

โครงการวิจัยการจัดการชุมชนท่องเที่ยวบนพื้นที่สูง กรณีศึกษาภูลมโลและพื้นที่เชื่อมโยงอย่างยั่งยืน ได้รับการสนับสนุนทุนวิจัยจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) เพื่อสร้างความยั่งยืนด้านการท่องเที่ยว พิษณุโลก-เพชรบูรณ์-เลย ในรูปแบบการจัดการร่วมของชุมชนท่องเที่ยวหลายพื้นที่หลายหน่วยงาน บนฐานนิเวศวัฒนธรรมร่วมกัน โดยได้รับความร่วมมือจากทุกฝ่าย ทั้งในส่วนจังหวัดพิษณุโลก กองทัพภาคที่ ๓ ชุมชน อุทยานแห่งชาติภูหินร่องกล้า องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานพิษณุโลก สมาคมธุรกิจท่องเที่ยวจังหวัดพิษณุโลก ผู้ประกอบการ องค์กรด้านการท่องเที่ยวและวัฒนธรรม

สถานอารยธรรมศึกษา โขง-สาละวิน มหาวิทยาลัยนเรศวร เดินหน้างานวิจัยภูลมโล จับมือชุมชนและทุกภาคส่วนร่วมวางแผนอนาคตและการจัดการท่องเที่ยวชุมชน จากผู้ประกอบการสู่การเป็นเจ้าบ้านที่ดี เที่ยวได้ตลอดปี ๓๖๕ วัน สถานอารยธรรมศึกษา โขง-สาละวิน มหาวิทยาลัยนเรศวร เดินหน้างานวิจัยภูลมโล จับมือชุมชนและทุกภาคส่วนร่วมวางแผนอนาคตและการจัดการท่องเที่ยวชุมชน จากผู้ประกอบการสู่การเป็นเจ้าบ้านที่ดี เที่ยวได้ตลอดปี ๓๖๕ วัน สถานอารยธรรมศึกษา โขง-สาละวิน มหาวิทยาลัยนเรศวร เดินหน้างานวิจัยภูลมโล จับมือชุมชนและทุกภาคส่วนร่วมวางแผนอนาคตและการจัดการท่องเที่ยวชุมชน จากผู้ประกอบการสู่การเป็นเจ้าบ้านที่ดี เที่ยวได้ตลอดปี ๓๖๕ วัน