ไมโครซอฟท์เดินหน้าสานต่อแคมเปญคลาวด์เพื่อสาธารณะประโยชน์ ร่วมสนับสนุน"โครงการกาแฟอินทรีย์รักษาป่า"ของมูลนิธิสายใยแผ่นดิน ผ่านแพลตฟอร์มไมโครซอฟท์ อาซัวร์ นำโดย (จากขวาไปซ้าย) นายธนวัฒน์ สุธรรมพันธุ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด นางวรรณพร เทพหัสดิน ณ อยุธยา เลขาธิการคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และ นายธีรสิทธิ์ อมรแสนสุข รองประธาน มูลนิธิสายใยแผ่นดิน
บริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด มอบไมโครซอฟท์ อาซัวร์เทคโนโลยีคลาวด์ที่ปลอดภัยและให้ความเชื่อมั่นกับทุกองค์กรทั่วโลก ให้กับมูลนิธิสายใยแผ่นดินเพื่อโครงการกาแฟอินทรีย์รักษาป่า ตอกย้ำพันธสัญญาของไมโครซอฟท์ในการมอบเทคโนโลยีคลาวด์เพื่อสาธารณประโยชน์ โดยการจับมือกับบริษัท บีทามส์ โซลูชั่น จำกัด บริษัทพัฒนาแอพพลิเคชั่น Internal Control System หรือการตรวจรับรองมาตรฐานภายใน ที่พัฒนาด้วยไมโครซอฟท์ อาซัวร์ เพื่อช่วยพนักงานประหยัดระยะเวลาและขั้นตอนในการตรวจรับรองมาตรฐานอินทรีย์ของกระบวนการและผลผลิตกาแฟด้วยการจัดเก็บข้อมูลและประมวลผลผ่านคลาวด์ได้รวดเร็วขึ้นจากการใช้เวลา 4 เดือนเหลือเพียง 1 เดือนลดลงกว่า 75% เพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการระบบการตรวจสอบสวนกาแฟ ส่งผลให้ขีดความสามารถในการทำงานของพนักงานมูลนิธิเพิ่มขึ้น
ปัจจุบันรัฐบาลได้ตระหนักถึงความจำเป็นของการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อเป็นเครื่องมือสำคัญในการปฏิรูปประเทศไปสู่ความมั่นคง มั่งคั่งและยั่งยืน ซึ่งหนึ่งในยุทธศาสตร์หลักของกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม คือ การสร้างสังคมคุณภาพที่ทั่วถึงและเท่าเทียมด้วยเทคโนโลยี เพื่อประชาชนทุกกลุ่มจะสามารถได้รับโอกาสเท่าเทียมกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มเกษตรกร ผู้ที่อยู่ในชุมชนห่างไกล ผู้สูงอายุ ผู้ด้อยโอกาสและคนพิการ[1]โดยเพิ่มความเข้าใจและมีทักษะในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลให้เกิดประโยชน์อย่างสร้างสรรค์
"การพัฒนาขีดความสามารถของธุรกิจในภาคการเกษตรและการพัฒนาศักยภาพทางด้านเทคโนโลยีเพื่อบุคลากรที่ทำงานในภาคเกษตรเป็นเรื่องที่เราให้ความสำคัญเป็นลำดับต้นๆ ในการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้เป็นเครื่องมือสำคัญเพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศ เราเชื่อมั่นว่าการทำธุรกิจผ่านระบบดิจิทัล จะเปรียบเสมือนการเสริมกำลังให้กลุ่มเกษตรกรและวิสาหกิจชุมชนให้ทำงานได้อย่างคล่องตัว" นางวรรณพร เทพหัสดิน ณ อยุธยา เลขาธิการคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กล่าว "เราเชื่อว่าการสนับสนุนด้านเทคโนโลยีคลาวด์เพื่อสาธารณประโยชน์จากไมโครซอฟท์กับองค์กรไม่แสวงผลกำไรต่างๆ เช่น มูลนิธิเพื่อนศิลปะ สมาคมพัฒนาประชากรและชุมชน หรือ พีดีเอ (PDA) สถาบันเชนจ์ฟิวชั่น รวมถึงมูลนิธิสายใยแผ่นดินในครั้งนี้จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการด้านการเกษตร และนำไปสู่การทำการเกษตรแบบอัจฉริยะ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มและเป็นรากฐานสำคัญที่จะยกระดับประเทศไทยให้มีบทบาทมากขึ้นในระดับสากล"
"มูลนิธิสายใยแผ่นดินได้รับความสนับสนุนจากไมโครซอฟท์ ด้วยแอพพลิเคชั่นการตรวจรับรองมาตรฐานภายใน Internal Control System (ICS) บนแพลตฟอร์มไมโครซอฟท์ อาซัวร์ เพื่อการตรวจสอบกระบวนการและผลผลิตกาแฟโครงการกาแฟอินทรีย์รักษาป่า "จากความร่วมมือในครั้งนี้ เราคาดการณ์ว่าแอพพลิเคชั่น ICS จะช่วยให้พนักงานของเราตรวจสอบพื้นที่สวน กระบวนการ ผลผลิตกาแฟและเก็บข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลได้อย่างรวดเร็วให้แล้วเสร็จได้ในเวลาเพียง 1 เดือนจากเดิมที่ใช้เวลาถึง 4 เดือน ซึ่งนั่นหมายถึงการประหยัดเวลา 75% ปัจจุบันมูลนิธิฯได้ร่วมกับกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธ์พืช และเกษตรกร 350ครอบครัว ใน 9 หมู่บ้าน อนุรักษ์และฟื้นฟูป่ากว่า 8,000 ไร่ ใน 3 ป่าต้นน้ำของอุทยานขุนแจและลำน้ำกก โดยวิถีวนเกษตรอินทรีย์ มีกาแฟซึ่งสามารถปลูกได้โดยไม่ต้องไปตัดไม้ทำลายป่าและไม่ต้องใช้สารเคมีใดๆ เป็นพืชสร้างรายได้ในการทำงาน การเข้าถึงข้อมูลผ่านเทคโนโลยีคลาวด์ ช่วยให้องค์กรของเราสามารถทำงานต่างๆ ได้สำเร็จรวดเร็ว ถูกต้องแม่นยำ ประหยัดค่าใช้จ่ายและมีประสิทธิภาพ ทั้งยังช่วยเสริมความรู้ความเข้าใจให้แก่พนักงานและเกษตรกรที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกลให้มีทักษะในการใช้เทคโนโลยีอย่างสร้างสรรค์ ทำการเกษตรได้อย่างยั่งยืน ช่วยปกป้องความเป็นอยู่ของคนในชุมชนได้ในระยะยาว" นายธีรสิทธิ์ อมรแสนสุข รองประธาน มูลนิธิสายใยแผ่นดิน กล่าว
"เราไม่เพียงแต่ต้องการให้นำเทคโนโลยีเข้ามาใช้แต่เรายังต้องการผลักดันให้มีการพัฒนาพนักงานและเกษตรกรรวมไปถึงผู้นำชุมชนในด้านนวัตกรรมเพื่อร่วมกันนำความสามารถของทุกฝ่ายในแต่ละด้านมาพัฒนาคุณภาพของผลผลิตกาแฟของเราได้ เมื่อผลผลิตกาแฟมีการตรวจรับรองจากแอพพลิเคชั่นบนคลาวด์ที่แม่นยำ และนำไปสู่การบริหารจัดการคุณภาพและการตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าและเพิ่มมูลค่าในตลาดเกษตรอินทรีย์มากขึ้นเท่าไหร่ การบรรลุผลสำเร็จที่ยิ่งใหญ่เพื่อการรักษาผืนป่าก็ยิ่งทวีความหมายต่อทุกฝ่ายมากขึ้นเท่านั้น แต่ในขณะที่เทคโนโลยีมีความสำคัญต่อการดำรงชีวิต ยังมีอีกหลายอย่างที่เราจำเป็นต้องทำเพื่อลดช่องว่างในการเข้าถึงเทคโนโลยีและการพัฒนาศักยภาพของการทำงานในที่ห่างไกล โดยเฉพาะอย่างยิ่งป่าต้นน้ำที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกลอย่างจังหวัดเชียงราย ผมเชื่อว่าความมุ่งมั่นของไมโครซอฟท์ในการมอบเทคโนโลยีคลาวด์เพื่อสาธารณประโยน์ในครั้งนี้ จะสามารถทำให้เกิดการเข้าถึงและทำงานได้จริง" นายธีรสิทธิ์ กล่าวเสริม นายธนวัฒน์ สุธรรมพันธุ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า"สำหรับไมโครซอฟท์ ภารกิจของพวกเรา คือ เป็นกำลังสำคัญให้ทุกคนและทุกองค์กรในทุกมุมโลกได้บรรลุผลสำเร็จที่ดียิ่งกว่า ในการที่จะทำให้ภารกิจนี้ประสบความสำเร็จ เราต้องทำให้ทุกคนบนโลกนี้สามารถเข้าถึงเทคโนโลยีได้อย่างเท่าเทียมกัน เชื่อว่าแนวคิด "Public Cloud for Public Good (คลาวด์สาธารณะ เพื่อสาธารณประโยชน์) ของไมโครซอฟท์จะสามารถสร้างศักยภาพ ปกป้อง และสร้างแรงบันดาลใจ ให้กับผู้ที่ใช้เทคโนโลยีได้ เพื่อการนำคลาวด์อัจฉริยะอย่างอาซัวร์มาใช้ให้เกิดประโยชน์ในการพัฒนาประเทศไทยในทุกๆด้านไปพร้อมๆ กับผู้คนในทั่วทุกมุมโลก"
ตลอดระยะเวลา 23 ปี ในประเทศไทย ไมโครซอฟท์ได้มุ่งมั่นทำงานอย่างหนักเพื่อเป็นพันธมิตรในระยะยาวของประเทศไทย ไมโครซอฟท์ได้ร่วมมือกับองค์กรไม่แสวงผลกำไรและองค์กรธุรกิจต่างๆ ในการนำเทคโนโลยีคลาวด์มาลดช่องว่างเพื่อสร้างความเท่าเทียมในการเข้าถึงผ่านเทคโนโลยี
ในประเทศไทย ไมโครซอฟท์ ได้บริจาคซอฟต์แวร์รวมมูลค่ากว่า 2 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือราว 70 ล้านบาท ให้กับองค์กรไม่แสวงผลกำไรต่างๆ กว่า 430 แห่ง พร้อมการฝึกอบรมเทคโนโลยีโดยไม่มีค่าใช้จ่าย เพื่อช่วยให้องค์กรเหล่านั้นมีศักยภาพที่เพิ่มขึ้นในการทำงานหรือแม้กระทั่งการช่วยเหลือกลุ่มผู้ด้อยโอกาสได้ดียิ่งขึ้น
"ผมว่าเทคโนโลยีคลาวด์ เป็นเทคโนโลยีที่ยอดเยี่ยม เป็นกำลังให้ทุกคนไม่ว่าจะเป็นใคร อยู่ที่ใด ก็สามารถใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีได้อย่างเท่าเทียม เช่น แอพพลิเคชั่น ICS ถูกออกแบบมาให้ใช้งานได้ทั้งแบบออฟไลน์ซึ่งข้อมูลจะถูกเก็บไว้ในมือถือสมาร์ทโฟนหรือแท็บเล็ต และเมื่อออนไลน์ข้อมูลจะถูกส่งไปเก็บบนคลาวด์ โดยประยุกต์ใช้เทคโนโลยีไฮบริดคลาวด์ ซึ่งทำงานร่วมกันระหว่าง private cloud และ public cloud บน ไมโครซอฟท์ อาซัวร์ ทำให้ลดค่าใช้จ่ายและไม่ต้องลงทุนระบบโครงสร้างพื้นฐานทางไอทีของระบบเอง ความสำเร็จในการนำเทคโนโลยีมาใช้ในครั้งนี้ ได้เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานและลดการใช้กระดาษ ในกระบวนการผลิตกาแฟตามมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ พร้อมกับการเพิ่มผลผลิตโดยทำงานร่วมกันในโครงการรักษาป่าอย่างยั่งยืน อีกทั้งยังสามารถนำระบบ ICS นี้ไปประยุกต์ใช้กับพืชเกษตรอินทรีย์ประเภทอื่นได้อีกด้วย" นายสนธยา สุธัมมสภา ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาธุรกิจ จาก บริษัท บีทามส์ โซลูชั่น จำกัด กล่าว
แอพพลิเคชั่น Internal Control System (ICS) เข้ามาช่วยเพิ่มคุณค่า (Value) ในกระบวนการผลิตตามมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ได้ 3 ประการ คือ
· เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานด้วยการประยุกต์เทคโนโลยีคลาวด์ในการเก็บและประมวลผลข้อมูล – พนักงานสามารถป้อนข้อมูลได้โดยตรงผ่านสมาร์ทโฟนหรือแท็บเล็ตทั้งแบบออนไลน์และออฟไลน์ และไปเก็บในไมโครซอฟท์ คลาวด์สาธาณะ อาซัวร์ ทำให้ได้ฐานข้อมูลกลางที่ถูกต้อง และสามารถแชร์เพื่อการใช้งานร่วมกันตั้งแต่ต้นทางถึงปลายทางการผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์
· ประหยัดเวลาและต้นทุนในขั้นตอนของการตรวจสอบตามมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ –ด้วยระบบประมวลผลอย่าง Microsoft SQL Database พร้อมใช้ Power BI เป็นเครื่องมือวิเคราะห์และแสดงผลข้อมูลได้ทั้งแบบ Dashboard และ GIS ช่วยให้ผู้บริหารและทีมงานประเมินผล ทราบสถานะในกระบวนการในการจัดการทางเกษตรอินทรีย์ เพื่อที่จะบริหารจัดการได้อย่างทันเวลา และใช้ในการสร้างรายงานประกอบการรับรองมาตรฐานผลผลิตกาแฟ ทำให้เกิดการตรวจสอบและออกใบรับรองได้เร็วขึ้น
· ในอนาคตมูลนิธิตั้งเป้าที่จะยกระดับมาตรฐาน โดยการนำเทคโนโลยี IoT ทางการเกษตรมาใช้บริหารจัดการช่วงเพาะปลูกได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยบูรณาการข้อมูลจาก IoT แบบเรียลไทม์และประมวลผลผ่านทาง Microsoft's IoT Hub Public Cloud โดยจะทำให้พนักงานสามารถมอนิเตอร์และควบคุมและจัดการปรับสภาพแวดล้อมต่างๆ ในสวนกาแฟได้แบบเรียลไทม์ สามารถดูแลสวนกาแฟได้อย่างทั่วถึง เพื่อให้ได้ผลผลิตเมล็ดกาแฟออร์กานิคคุณภาพดีเพิ่มขึ้นแบบยั่งยืน
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit