เร่งเครื่องสู่อนาคต: ฟอร์ดสร้าง จีที ซุปเปอร์คาร์ พร้อมทดสอบเทคโนโลยีสำหรับรถแห่งอนาคต

26 Jun 2017
ฟอร์ด จีที ซุปเปอร์คาร์ รุ่นใหม่ล่าสุด คือ สนามทดสอบเทคโนโลยีใหม่และวัสดุน้ำหนักเบาที่จะใช้ในยานยนต์อื่นๆ ของฟอร์ด ทั้งรถยนต์ รถบรรทุก รถเอนกประสงค์ และรถยนต์ไฟฟ้า
เร่งเครื่องสู่อนาคต: ฟอร์ดสร้าง จีที ซุปเปอร์คาร์ พร้อมทดสอบเทคโนโลยีสำหรับรถแห่งอนาคต

ปีกหลังที่กำลังจดสิทธิบัตร จะช่วยเพิ่มสมรรถนะในสนามแข่งด้วยรูปทรงที่ปรับเปลี่ยนได้คล้ายกับปีกเครื่องบิน เพื่อช่วยเพิ่มแรงกดของรถ แต่แทบไม่สร้างแรงต้าน ซึ่งจะช่วยเพิ่มความสามารถในการเร่งเครื่อง การเข้าโค้ง และการหยุดรถ

4 สุดยอดรถแข่ง ฟอร์ด ชิพ กานาสซี เรซซิ่ง ฟอร์ด จีที เตรียมลงสนามป้องกันแชมป์ การแข่งรถมาราธอน 24 ชั่วโมง ณ สนาม เลอ ม็องส์ ในเดือนมิถุนายน 2560 พร้อมเฉลิมฉลองวาระครบรอบ 50 ปี ที่รถแข่ง ฟอร์ด จีที เข้าเส้นชัยเป็นอันดับ 1, 2 และ 3 ในการแข่งขันเมื่อปี 1966

ฟอร์ด จีที ประสิทธิภาพสูงรุ่นล่าสุดนั้น ไม่ได้ถูกออกแบบมาให้เพียงแค่คว้าชัยชนะในสนามแข่งเท่านั้น แต่ยังเป็นเสมือนสนามทดสอบเทคโนโลยีใหม่ๆ และแนวคิดสำหรับรถยนต์ในอนาคตของฟอร์ดอีกด้วย

"ตอนที่ทีมของเราเริ่มต้นออกแบบฟอร์ด จีที ใหม่ ในปี 2556 เรามี 3 เป้าหมายหลัก" ราช แนร์ รองประธานบริหารฝ่ายพัฒนาผลิตภัณฑ์ และประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายเทคนิคของฟอร์ด กล่าว "เป้าหมายแรกคือการใช้ฟอร์ด จีที เป็นสนามทดลองสำหรับวิศวกรในการพัฒนาเทคโนโลยีเครื่องยนต์ใหม่ๆ สำหรับอนาคต และเพื่อทำความเข้าใจในหลักอากาศพลศาสตร์ให้ลึกซึ้งยิ่งขึ้น เป้าหมายที่สองคือการขยายขอบเขตในการใช้วัสดุใหม่ๆ เช่น คาร์บอนไฟเบอร์น้ำหนักเบา และเป้าหมายสุดท้ายคือการคว้าชัยชนะในการแข่งขันเลอม็องส์ 24 ชั่วโมง (Le Mans 24 Hours) ซึ่งเป็นที่กล่าวขานว่าเป็นบททดสอบประสิทธิภาพและความอึดที่ทรหดที่สุด"

ฟอร์ด จีที คือ รถที่สร้างแรงบันดาลใจอย่างแท้จริง และพิสูจน์ถึงความเป็นซุปเปอร์คาร์แห่งเทคโนโลยีสำหรับรถแห่งอนาคตของฟอร์ด ซึ่งในเดือนมิถุนายน 2560 นี้ ฟอร์ดเตรียมส่ง 4 สุดยอดรถแข่ง ฟอร์ด ชิพ กานาสซี เรซซิ่ง ฟอร์ด จีที ลงสนามป้องกันแชมป์ การแข่งรถมาราธอน 24 ชั่วโมง ณ สนาม เลอ ม็องส์

โดยในปี 2559 ฟอร์ด จีที ที่ลงแข่งในหมายเลข 68, 69, 66 และ 67 เข้าเส้นชัยคว้าชัยชนะเป็นอันดับ 1, 3, 4 และ 9 ตามลำดับ และยังนับเป็นปีที่ฟอร์ดเฉลิมฉลองวาระครบรอบ 50 ปี ที่รถแข่ง ฟอร์ด จีที เข้าเส้นชัยเป็นอันดับ 1, 2 และ 3 จากการแข่งขันเมื่อปี 1966

"การสร้างฟอร์ด จีที จะเป็นไปไม่ได้เลย หากปราศจากทีมงานต่างๆ และการร่วมมือทำงานอย่างเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันเช่นนี้" เดฟ เพริแคค ผู้อำนวยการระดับโลก ฟอร์ด เพอร์ฟอร์มานซ์ กล่าว "ความร่วมมือเช่นนี้คือหัวใจสำคัญในการปลุกชีวิตให้แก่ฟอร์ด จีที และการทดลองนวัตกรรมที่จำเป็นต่อการสร้างสุดยอดซุปเปอร์คาร์"เพิ่มความหลากหลายแก่หลักอากาศพลศาสตร์

นอกจากรูปลักษณ์ของฟอร์ด จีที จะแสดงถึงความเร็วแม้จะจอดอยู่นิ่งๆ ทุกส่วนของรถยังได้รับการออกแบบมาเพื่อใช้ประโยชน์จากหลักอากาศพลศาสตร์ให้เกิดประโยชน์สูงสุดอีกด้วย โดยมีเป้าหมายหลักคือการลดแรงต้านอากาศและเพิ่มแรงกด เพื่อที่จะช่วยเพิ่มความสามารถในการยึดเกาะถนนในขณะเร่งเครื่อง เข้าโค้ง และหยุดรถ

รูปร่างตามหลักอากาศพลศาสตร์ของฟอร์ด จีที จะเปลี่ยนไปตามสภาวะการขับรถ โดยมีส่วนประกอบต่างๆ รอบคันรถที่สามารถเคลื่อนที่ได้ เช่น ช่องดักอากาศด้านหน้า และปีกท้ายขนาดใหญ่ที่สามารถปรับขึ้นลงได้ โดยเมื่อปีกยกขึ้น ฝาช่องลมพิเศษจะปิดเพื่อเพิ่มแรงกด และจะเปิดเพื่อลดแรงกดเมื่อปีกถูกปรับลง ทั้งหมดนี้จะช่วยให้ฟอร์ด จีที คงความสมดุลตามหลักอากาศพลศาสตร์ทั่วทั้งคันรถไม่ว่าจะใช้ความเร็วเท่าใดก็ตาม

ปีกของฟอร์ด จีที มาพร้อมเทคโนโลยีใหม่ล่าสุดของฟอร์ดที่กำลังจดลิขสิทธิ์ นั่นคือ ดีไซน์แพนอากาศที่สามารถเปลี่ยนรูปทรงได้เพื่อเพิ่มสมรรถนะของรถให้สูงสุด การออกแบบที่เป็นเอกลักษณ์นี้ยังรวมถึงเจอร์นี แฟลบ (Gurney Flap) หรือปีกขนาดเล็กที่ด้านท้ายรถ ซึ่งเมื่อรวมกับรูปร่างที่ปรับเปลี่ยนได้แล้ว สามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพโดยรวมของรถได้มากถึง 14 เปอร์เซ็นต์

นอกจากดีไซน์แล้ว เครื่องยนต์ยังมีส่วนช่วยในการออกแบบตามหลักอากาศพลศาสตร์อีกด้วย โดยเครื่องยนต์ อีโค่บูสท์ 6 กระบอกสูบขนาดเล็กของฟอร์ด จีที ช่วยให้ทีมสามารถออกแบบลำตัวของรถให้ได้สัดส่วนที่มีประสิทธิภาพมากกว่าที่เครื่องยนต์ V8 จะให้ได้ นอกจากนี้ ตัวเทอร์โบชาร์จเจอร์ของเครื่องยนต์ที่วางอยู่ค่อนข้างต่ำและเทอร์โบอินเตอร์คูลเลอร์ที่วางอยู่ด้านนอกบริเวณหน้าล้อหลัง ยังช่วยให้สามารถดีไซน์ตัวรถให้เรียวลงตามรูปทรงของเครื่องยนต์อีกด้วยรูปร่างโฉบเฉี่ยวขึ้น

คาร์บอนไฟเบอร์คือองค์ประกอบสำคัญใหม่ที่ช่วยให้ฟอร์ด จีที มีน้ำหนักเบาและรูปทรงโฉบเฉี่ยว ที่เหล็กหรืออลูมิเนียมไม่อาจให้ได้

ฟอร์ดทำงานร่วมกับหลากหลายพันธมิตร รวมถึง Multimatic และ DowAksa เพื่อพัฒนาวิธีการใหม่ๆ ในการผลิตชิ้นส่วนจากคาร์บอนไฟเบอร์ปริมาณมากให้รวดเร็วขึ้นสำหรับการผลิตในอนาคต

ตัวอย่างเช่น ครีบยันลอย (Flying buttresses) ที่เป็นจุดเด่นของฟอร์ด จีที ซึ่งเชื่อมจากหลังคามาจนถึงบังโคลนหลังนั้น ไม่สามารถผลิตจากเหล็กหรืออลูมิเนียมได้ เนื่องจากข้อจำกัดด้านการขึ้นรูปโลหะ แต่คาร์บอนไฟเบอร์นั้นสามารถปรับเปลี่ยนรูปร่างตามดีไซน์ที่ซับซ้อนได้ ด้วยการตัดเป็นรูปร่างของชิ้นส่วนต่างๆ แล้วนำมาประกอบกัน คล้ายวิธีการตัดเสื้อผ้า และเสริมความแข็งแกร่งด้วยการเชื่อมที่อุณหภูมิสูงเติมเชื้อเพลิงให้เครื่องยนต์และส่วนอื่นๆ

เครื่องยนต์อีโค่บูสท์ 3.5 ลิตร ของฟอร์ด จีที คือเครื่องยนต์อีโค่บูสท์ที่ทรงพลังที่สุดของบริษัท และมอบพลังสูงถึง 647 แรงม้า โดยได้รับการพัฒนาควบคู่กับเครื่องยนต์จีทีสำหรับแข่งขัน และเครื่องยนต์อีโค่บูสท์ 3.5 ลิตร ที่ใช้ในรถกระบะออฟโรดรุ่น เอฟ-150 แรพเตอร์ ซึ่งมีส่วนประกอบเหมือนกับเครื่องยนต์จีทีเกือบ 60 เปอร์เซ็นต์

ในระหว่างแข่งขัน เพลาข้อเหวี่ยงของเครื่องยนต์ทดสอบในรถตัวอย่างรุ่นเดย์โทน่า (Daytona Prototype) แตกเมื่อผ่านการใช้งานอย่างทรหด ด้วยระยะเวลาเตรียมตัวสำหรับการแข่งขันเซบริง (Sebring) ในปีนั้นค่อนข้างสั้น ทีมจึงตัดสินใจเปลี่ยนไปใช้เพลาข้อเหวี่ยงรุ่นทดสอบของเอฟ-150 แรพเตอร์ ซึ่งส่งผลให้รถตัวอย่างรุ่นเดย์โทน่าชนะการแข่งขันในปีนั้น

"เราผลักดันขีดจำกัดของเครื่องยนต์ไปยิ่งกว่าที่เราจะทำในโครงการพัฒนาตามปกติ ซึ่งสำคัญมากสำหรับการพัฒนาเทคโนโลยีอีโค่บูสท์ในฐานะหัวใจของรถรุ่นต่างๆ ของฟอร์ดในระดับโลก" บ๊อบ ฟาสเซ็ตติ รองประธานบริหารฝ่ายวิศวกรรมระบบส่งกำลังของฟอร์ด กล่าว

ทีมยังได้พัฒนาเทคโนโลยีลดการรอรอบเทอร์โบ (Anti-lag Turbo) ที่จะช่วยเพิ่มสมรรถนะให้จีทีสามารถออกจากโค้งได้อย่างรวดเร็วขึ้น โดยเทคโนโลยีนี้ทำงานด้วยการเปิดวาล์วปีกผีเสื้อไว้ขณะที่คนขับไม่ได้เหยียบคันเร่ง ตัวฉีดน้ำมันจะไม่ทำงาน แต่ยังคงความเร็วและการเร่งของรอบเทอร์โบไว้เพื่อให้เครื่องยนต์ตอบสนองไวขึ้น และเร่งเครื่องได้เร็วยิ่งขึ้นเมื่อเหยียบคันเร่ง

เพื่อเพิ่มสมรรถนะของเครื่องยนต์ให้ดียิ่งขึ้น ฟอร์ด จีที ยังมาพร้อมท่อไอดีใหม่และหัวฉีดเชื้อเพลิง Dual Fuel-injection แบบตรงเพื่อเร่งการตอบสนองของเครื่องยนต์ นอกจากนี้ ยังมาพร้อมชุดเพลาส่งกำลังคลัทช์คู่ (Dual-clutch) 7 สปีด ที่ตอบสนองได้อย่างรวดเร็ว ผลลัพธ์ที่ได้คือการเปลี่ยนเกียร์ที่ลื่นไหลไม่สะดุดและความสามารถในการควบคุมรถที่เหนือชั้นลดความสูงลง

"จุดประสงค์เดียวของการลดน้ำหนักและการพัฒนาเครื่องยนต์คือการสร้างฟอร์ด จีที ที่เร็วที่สุด และเปี่ยมประสิทธิภาพที่สุดเท่าที่เคยมีมา" แพริแคค กล่าว "เมื่อบรรลุจุดประสงค์แล้ว เราจึงแทนที่น้ำหนักที่หายไปด้วยสุดยอดนวัตกรรมเทคโนโลยีที่ทำฟอร์ด จีที เร็วขึ้น และขับสนุกยิ่งขึ้นไปอีก"

นั่นรวมไปถึงระบบกันสะเทือนแบบไฮดรอลิค ที่จะช่วยปรับระดับความสูงของรถได้ง่ายเพียงกดปุ่มเพื่อปรับโหมดการขับขี่

ในโหมดขับขี่แบบแข่งขัน (Track Mode) ระบบกันสะเทือนจะลดระดับความสูงของรถลง 50 มิลลิเมตร หรือเกือบ 2 นิ้ว โดยโหมดนี้จะยกปีกและปิดช่องลมด้านหน้าเพื่อสร้างแรงกดที่เหมาะสมสำหรับการแข่งขันที่ผู้ขับสามารถสัมผัสได้

เมื่อระดับความสูงของรถลดลง ค่าคงที่ของสปริง การตั้งค่าวาล์วลมที่เหมาะสม และระบบอากาศพลศาสตร์ที่พร้อมปรับเปลี่ยนตลอดเวลา จะทำงานร่วมกันเพื่อสร้างรถที่เป็นทั้งรถแข่งและรถยนต์โดยสารในคันเดียว

อีกหนึ่งคุณสมบัติของระบบกันสะเทือนไฮดรอลิค คือ โหมดฟรอนท์ลิฟท์ ซึ่งจะช่วยให้ฟอร์ด จีที ขับผ่านเนินชะลอความเร็วและทางขรุขระได้สะดวกขึ้น ผู้ขับสามารถเพิ่มความสูงด้านหน้าของรถได้ตามต้องการที่ความเร็วต่ำกว่า 25 ไมล์ต่อชั่วโมง ระบบจะกลับสู่โหมดปกติโดยอัตโนมัติเมื่อความเร็วขึ้นถึง 25 ไมล์ต่อชั่วโมงเทคโนโลยีสำหรับทุกคน

บทบาทของฟอร์ด จีที ในฐานะสนามทดสอบเทคโนโลยีนั้นเด่นชัดในทุกส่วนของรถ ด้วยนวัตกรรมต่างๆ เช่น คาร์บอนไฟเบอร์น้ำหนักเบา ที่สามารถนำไปใช้พัฒนาผลิตชิ้นส่วนอื่นๆ ได้ในอนาคต ในขณะที่นวัตกรรมบางอย่างถูกนำไปใช้ในรถรุ่นที่กำลังจะออกวางจำหน่ายในเร็วๆ นี้ เช่น เทคโนโลยีแผงหน้ารถดิจิตอล ซึ่งคล้ายกับที่ใช้ในฟอร์ด จีที จะอยู่ในฟอร์ด มัสแตง ปี 2008 และรถรุ่นใหม่อื่นๆ

นอกจากนี้ บริษัทยังเร่งขยาย โหมดขับขี่ตามความต้องการ (Customized Driving Mode) เพื่อช่วยให้ลูกค้าปรับสมรรถนะของรถให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมต่างๆ ได้ โหมดขับขี่แบบแข่งขัน (Track Mode) ของฟอร์ด จีที จะอยู่ในฟอร์ด มัสแตง และรถเพอร์ฟอร์มานซ์รุ่นอื่นๆ เพื่อช่วยเพิ่มสมรรถนะการแข่งขัน ในขณะที่ฟอร์ด เอฟ-150 แรพเตอร์ รุ่นใหม่ จะมาพร้อมโหมดบาจาออฟโรด (Baja off-road)

ในขณะที่ฟอร์ด จีที ใหม่ กำลังทยอยออกไปสู่มือลูกค้า ลูกค้าฟอร์ดสามารถคาดหวังว่าจะได้พบกับจิตวิญญาณของฟอร์ด จีที ในรถรุ่นใหม่ๆ อย่างแน่นอน

HTML::image(