ผศ.ดร.สุทินเวียนวิวัฒน์ หัวหน้าโครงการอีสานโพลเปิดเผยว่าการสำรวจนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจความคิดเห็นของคนอีสานต่อภาวะเศรษฐกิจระดับครัวเรือนและระดับจังหวัด เพื่อประเมินภาวะเศรษฐกิจและคำนวณดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคต่อภาวะเศรษฐกิจอีสานในไตรมาส 2/2560 และประเมินผลงานรัฐบาลในช่วงปี 2560 ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 1-3 กรกฎาคม 2560 จากกลุ่มตัวอย่างอายุ 18 ปีขึ้นไป 1,203 รายในเขตพื้นที่ภาคอีสาน 20 จังหวัด
สภาพเศรษฐกิจโดยรวมทั้งรายได้ ค่าจ่าย และการผ่อนชำระหนี้ ของครัวเรือนอีสาน
ในช่วงต้นเดือน กรกฎาคม 2560
สำหรับความเห็นต่อสภาพเศรษฐกิจโดยรวม ทั้งรายได้ ค่าใช้จ่าย และการผ่อนชำระหนี้ ของครอบครัวเป็นอย่างไร ในช่วงปลายเดือน มิถุนายน 2560 กลุ่มตัวอย่างเกินครึ่ง คือ ร้อยละ 41.2 เห็นว่าสภาพเศรษฐกิจโดยรวมอยู่ในระดับพอใช้ ร้อยละ 34.7 เห็นว่าอยู่ในระดับดี ร้อยละ 14.5 เห็นว่าอยู่ในระดับแย่ ร้อยละ 6.3 เห็นว่าอยู่ในระดับดีมาก ขณะที่ร้อยละ 3.2 เห็นว่าสภาพเศรษฐกิจอยู่ในระดับแย่มาก ดังนั้นคะแนนสภาพเศรษฐกิจครัวเรือนอีสานช่วงต้นเดือนกรกฎาคม 2560 คือ 56.6 จาก 100.0 โดยมีคะแนนเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากช่วงต้นเดือนเมษายน 2560 ซึ่งมีค่าคะแนนเท่ากับ 56.3
เมื่อทำการสอบถามเกี่ยวกับ เศรษฐกิจและการค้าของจังหวัด รายได้ครัวเรือน สภาพคล่องการเงินครัวเรือน และการใช้จ่ายเพื่ออุปโภคและบริโภคของครัวเรือน และทำการประมวลผลได้ดัชนีต่างๆ ซึ่งมีค่าระหว่าง 0-200 ถ้าค่าดัชนีต่ำกว่า 100 คือ แย่ลง/ลดลง เท่ากับ 100 คือ ทรงตัว/เท่าๆ เดิม และมากกว่า 100 คือ ดีขึ้น/เพิ่มขึ้น โดยมีรายละเอียดดังนี้
1) ดัชนีเศรษฐกิจและการค้าของอีสานไตรมาส 2/2560 เท่ากับ 105.9 หมายความว่า ดีขึ้นจากไตรมาสที่แล้ว
2) ดัชนีรายได้ครัวเรือนไตรมาส 2/2560 เท่ากับ 104.3 หมายความว่า ดีขึ้นจากไตรมาสที่แล้ว
3) ดัชนีสภาพคล่องการเงินครัวเรือนไตรมาส 2/2560 เท่ากับ 101.8 หมายความว่า ดีขึ้นจากไตรมาสที่แล้ว
4) ดัชนีการใช้จ่ายเพื่ออุปโภคและบริโภคของครัวเรือนไตรมาส 2/2560 เท่ากับ 120.1หมายความว่า มีการใช้จ่ายเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว
5) ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคต่อภาวะเศรษฐกิจอีสานไตรมาส 2/2560 เท่ากับ 108.0 หมายความว่า ดีขึ้นจากไตรมาสที่แล้ว
ดัชนี
ไตรมาส 2/2559
ไตรมาส 3/2559
ไตรมาส 4/2559
ไตรมาส 1/2560
ไตรมาส 2/2560
1) ดัชนีเศรษฐกิจและการค้าของอีสาน
81.5
84.7
106.1
106.9
105.9
2) ดัชนีรายได้ครัวเรือน
71.1
78.4
87.1
91.4
104.3
3) ดัชนีสภาพคล่องการเงินครัวเรือน
73.4
77.1
82.5
92.9
101.8
4) ดัชนีการใช้จ่ายเพื่ออุปโภคและบริโภคของครัวเรือน
83.7
105.0
127.9
127.6
120.1
5) ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคต่อภาวะเศรษฐกิจอีสาน
77.4
86.3
100.9
104.7
108.0
หมายเหตุ: ถ้าค่าดัชนีต่ำกว่า 100 คือ แย่ลง/ลดลง เท่ากับ 100 คือ ทรงตัว และมากกว่า 100 คือ ดีขึ้น/เพิ่มขึ้น
เมื่อให้กลุ่มตัวอย่างคาดการณ์สภาพเศรษฐกิจโดยรวมของครอบครัวในช่วง 3 เดือนต่อไประหว่างกรกฎาคมถึงกันยายนของปี 2560 (ไตรมาส 3/2560) พบว่า กว่าครึ่ง คือ ร้อยละ 63.5 คาดว่าสภาพเศรษฐกิจโดยรวมของครอบครัวจะยังทรงตัว ขณะที่ร้อยละ 18.7 คาดว่าจะแย่ลงต่อเนื่อง และ ร้อยละ 17.8 คาดว่าจะปรับตัวดีขึ้นกว่าไตรมาสที่แล้ว ซึ่งเมื่อคำนวณเป็นดัชนีจะเท่ากับ 99.1 คือ สภาพเศรษฐกิจโดยรวมของครัวเรือน ไตรมาส 3/2560 จะยังค่อนข้างทรงตัว เมื่อเทียบกับไตรมาส 2/2560
เมื่อให้กลุ่มตัวอย่างประเมินผลงานรัฐบาลด้านเศรษฐกิจในช่วงที่ผ่านมา พบว่า อันดับหนึ่งหรือร้อยละ 39.7 ประเมินระดับพอใช้ รองลงมาร้อยละ 27.4 ประเมินว่าดี ร้อยละ 19.0 ประเมินว่าแย่ ขณะที่ร้อยละ 8.1 ประเมินว่าแย่มาก และอีกร้อยละ 5.8 ประเมินว่าดีมาก ดังนั้นค่าคะแนนเฉลี่ยผลงานด้านเศรษฐกิจของรัฐบาลคือ 51.0 จาก 100 โดยลดลงจากการสำรวจในไตรมาสก่อนที่ได้ 53.5
เมื่อให้กลุ่มตัวอย่างประเมินผลงานโดยรวมของรัฐบาลในช่วงที่ผ่านมา พบว่า อันดับหนึ่งหรือร้อยละ 38.8 ประเมินระดับพอใช้ รองลงมาร้อยละ 31.5 ประเมินว่าดี ร้อยละ 16.9 ประเมินว่าแย่ ขณะที่ร้อยละ 7.3 ประเมินว่าดีมาก และอีกร้อยละ 5.5 ประเมินว่าแย่มาก ดังนั้นค่าคะแนนเฉลี่ยผลงานโดยรวมของรัฐบาลคือ 54.6 จาก 100 โดยลดลงจากการสำรวจในไตรมาสก่อนที่ได้ 58.4
เมื่อให้กลุ่มตัวอย่างประเมินผลกระทบทางเศรษฐกิจหากมีรัฐบาลจากการเลือกตั้ง พบว่า อันดับหนึ่งหรือร้อยละ 38.0 ประเมินเศรษฐกิจดีขึ้นเล็กน้อย รองลงมาร้อยละ 33.7 ประเมินเศรษฐกิจเท่าเดิม มาก ร้อยละ 22.9 ประเมินเศรษฐกิจดีขึ้น ขณะที่ร้อยละ 4.7 ประเมินเศรษฐกิจแย่ลงเล็กน้อย และร้อยละ 0.7 ประเมินเศรษฐกิจแย่ลงมาก
ท้ายสุดอีสานโพลได้สอบถามถึงการลงทะเบียนผู้มีรายได้น้อย พบว่าส่วนใหญ่ร้อยละ 55.3 ไม่ได้ลงทะเบียน และร้อยละ 44.7 ลงทะเบียนไว้ และเมื่อสอบถามกลุ่มที่ลงทะเบียนผู้มีรายได้น้อยต่อว่า "ด้วยงบประมาณที่มีจำกัด อะไรเป็นสิ่งสำคัญที่สุดที่รัฐบาลควรจัดสรรให้กับคนที่ลงทะเบียนผู้มีรายได้น้อย" พบว่า อันดับหนึ่ง ร้อยละ 33.3 ต้องการเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ รองลงมาคือ รักษาพยาบาลฟรี ร้อยละ 24.8 ตามมาด้วย จัดหางาน/สร้างอาชีพ ร้อยละ 17. ช่วยเหลือค่าครองชีพ ร้อยละ 12.4 ที่ดินทำกิน ร้อยละ 8.2 ค่าน้ำ – ไฟ – เดินทางฟรี ร้อยละ 1.6 และอื่นๆ ร้อยละ 0.8