ภายใต้โครงการนี้ สพร. และเครือข่ายพิพิธภัณฑ์ จะทำการแปลงรูปภาพและภาพสแกนโบราณวัตถุ 2 มิติ ให้เป็นโมเดลดิจิทัล 3 มิติ ที่มีความคมชัดสูง โดยวัตถุจัดแสดงในรูปแบบดิจิทัล จะนำไปเผยแพร่องค์ความรู้บนเว็บไซต์มิวเซียมไทยแลนด์ เพื่อสร้างประสบการณ์เสมือนจริง และจุดเชื่อมโยงด้านวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ไทยแก่คนทั่วโลก
นายราเมศ พรหมเย็น ผู้อำนวยการสถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ กล่าวในงานแถลงข่าวออโต้เดสก์ ยูนิเวอร์ซิตี้ อาเซียน (Autodesk University ASEAN) ว่า "โครงการที่เราดำเนินการร่วมกับออโต้เดสก์นี้ มีความสำคัญหลายประการ เราทำงานแข่งกับเวลา เพื่ออนุรักษ์โบราณวัตถุ ทั้งนี้ เราคงไม่สามารถจัดแสดงโบราณวัตถุจำนวนมากมายที่มีอยู่ทั้งหมดในประเทศไทยให้ปรากฏต่อสายตาสาธารณชน ดังนั้น ในยุคที่ประเทศไทยกำลังเดินหน้าสู่ดิจิทัล สพร. จึงนำเทคโนโลยีที่ล้ำสมัยนี้มาใช้ในการอนุรักษ์มรดกไทย เพื่อดึงดูดให้คนรุ่นใหม่ที่ฉลาดรู้และเข้าใจเรื่องดิจิทัลได้เข้าถึงและซึมซับประวัติศาสตร์ชาติเราในรูปแบบอินเตอร์แอคทีฟ"
สพร. ได้ริเริ่มดำเนินโครงการในปี 2559 เพื่อแปลงโบราณวัตถุบางส่วนให้ไปเป็นดิจิทัลโดยใช้เครื่องสแกนเลเซอร์ และพบว่ากระบวนการดังกล่าวมีราคาสูงและต้องอาศัยความเชี่ยวชาญทางเทคนิค จึงทำให้การขยายโครงการยังไม่ครอบคลุมพิพิธภัณฑ์และแหล่งเรียนรู้ทั่วประเทศ
ในปี 2559 สพร. จึงได้เลือกออโต้เดสก์รีเมค(ReMake) มาใช้งาน เนื่องจากเป็นวิธีการที่ง่ายและแบบครบวงจร สามารถเปลี่ยนวัตถุจัดแสดงหรือภาพสแกน 2 มิติ ของวัตถุจริงให้เป็นโมเดล 3 มิติ ที่มีความคมชัดสูง โดยกระบวนการดังกล่าวนี้เรียกว่าเรียลลิตี้ แคปเจอร์ (Reality Capture) ทั้งนี้ รีเมค (ReMake) เปิดโอกาสให้ผู้ใช้สามารถจัดการกระบวนการดังกล่าวได้ แม้ว่าจะขาดความรู้และความเชี่ยวชาญด้านโมเดลลิ่งแบบ 3 มิติ (3D modeling)
ขณะนี้ สพร. และออโต้เดสก์ ได้เริ่มดำเนินการจัดโครงการอบรมให้แก่พิพิธภัณฑ์ จำนวน 5 ภูมิภาคต่างๆ ดังต่อไปนี้
• ภาคกลาง: มิวเซียมสยาม
• ภาคเหนือ: พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเชียงใหม่
• ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: พิพิธภัณฑ์เมืองสกลนคร
• ภาคใต้: สถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา
• ภาคตะวันออก : พิพิธภัณฑสถานเมืองตราด
"เรารู้สึกเป็นเกียรติที่มีบทบาทในการอนุรักษ์โบราณวัตถุอันล้ำค่าทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมไทย โดยเมื่อวัตถุเหล่านี้ได้รับการดิจิไทซ์หรือทำให้อยู่ในรูปดิจิทัลแล้วก็จะส่งผลกระทบในวงกว้าง เราสามารถนำเทคโนโลยีการสร้างโลกเสมือนจริงมาใช้เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนได้เรียนรู้และรับประสบการณ์ตรงเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ นอกจากนี้ เรายังสามารถนำเสนอโบราณวัตถุ พร้อมเรื่องราวสำคัญทางประวัติศาสตร์ของวัตถุแต่ละชิ้นแก่สาธารณชนจำนวนมากขึ้น ผ่านการใช้เทคโนโลยีการพิมพ์ชิ้นงาน 3 มิติ (3D printing)" นางสาวอาภาพร สุภรณ์ทิพย์ ผู้จัดการประจำประเทศไทย ออโต้เดสก์ กล่าว
"โครงการที่เรากำลังดำเนินการอยู่ในขณะนี้เป็นเพียงเฟสแรกเท่านั้น เมื่อเราแนะนำ ReMake และ Reality Capture ของออโต้เดสก์ให้พิพิธภัณฑ์ในเครือของเราได้รู้จักก็จะสามารถเพิ่มจำนวนโบราณวัตถุดิจิทัลให้มากขึ้นในทุกปี" นายราเมศ กล่าว
HTML::image(