โครงการ Design Service Society ภายใต้ "Design 4.0s Business Transform " พลิกเปลี่ยนทางธุรกิจ รับยุคเศรษฐกิจสร้างสรรค์ไทยแลนด์ 4.0

21 Sep 2017
สำนักส่งเสริมนวัตกรรมและสร้างมูลค่าเพิ่มเพื่อการค้า กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ ร่วมกับ สมาคมนักออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม นำโดย ผศ.ดร. โชคอนันต์ บุษราคัมภากร นายกสมาคมนักออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม สานต่อโครงการ Design Service Society หรือโครงการส่งเสริมอุตสาหกรรมการออกแบบไทย เพื่อส่งเสริมการสร้างนวัตกรรมธุรกิจด้วยกลยุทธ์การออกแบบ เพราะปัจจุบันเป็นยุคการแข่งขันที่ไร้พรมแดน การผลิตสินค้าที่ดีมีคุณภาพอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอ จะต้องสร้างสินค้าที่มีเอกลักษณ์ จุดเด่นและมีความแตกต่างด้วยจึงจะมัดใจผู้บริโภคได้ การออกแบบจึงเป็นเครื่องมือสำคัญที่จะช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้า เพิ่มความโดดเด่น ดันยอดขาย ขยายโอกาสเติบโตสู่ตลาดโลก ยกระดับเศรษฐกิจของประเทศเข้าสู่ยุคเศรษฐกิจสร้างสรรค์ หรือ Creative Thailand ภายใต้นโยบายไทยแลนด์ 4.0 ของรัฐบาล
โครงการ Design Service Society ภายใต้ "Design 4.0s Business Transform " พลิกเปลี่ยนทางธุรกิจ รับยุคเศรษฐกิจสร้างสรรค์ไทยแลนด์ 4.0

โดยในปีนี้โครงการ Design Service Society ภายใต้ชื่อ "Design 4.0s Business Transform"เปิดโอกาสให้กลุ่มผู้ให้บริการออกแบบรุ่นใหม่ เข้าร่วมอบรมกลยุทธ์การออกแบบกับการสร้างนวัตกรรมธุรกิจ ตลอดจนเรื่องของทรัพย์สินทางปัญญา การศึกษาผู้บริโภค รวมไปถึงกระบวนการคิดออกแบบ การบริหารธุรกิจและแบรนด์บริการออกแบบ เพื่อนำความรู้ที่ได้จากการอบรมก้าวสู่การเป็นผู้ให้บริการออกแบบมืออาชีพ ซึ่งหลังจบการอบรมก็ได้ทำหน้าที่ให้คำปรึกษาด้านการออกแบบอย่างครบวงจรกับผู้ประกอบการ นักธุรกิจ เจ้าของแบรนด์ต่างๆ ที่อยากนำการออกแบบมาสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้า ในบูธ Design Service Society ภายในงาน Thailand Innovation and Design Expo (T.I.D.E.) 2017 ระหว่างวันที่ 14 - 17 กันยายน 2560 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ผศ.ดร.โชคอนันต์ บุษราคัมภากร นายกสมาคมนักออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ได้แนะนำเคล็ดลับการก้าวข้ามขีดจำกัดของสินค้าหรือบริการแบบเดิมๆ ว่าจะต้องนำเสนอความหลากหลายของสินค้า, มองหาความเป็นไปได้ในอนาคตหรือการสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ, เสริมสไตล์ให้กับสินค้าต้องออกแบบให้สินค้ามีสไตล์ไม่ซ้ำกับแบรนด์อื่นๆ มีความโดดเด่นสร้างการจดจำ, เพิ่มประสบการณ์ความประทับใจให้ผู้บริโภค และการลดต้นทุนและเพิ่มมูลค่า ส่วนกระบวนการออกแบบสร้างสรรค์หรือ Design Creative Process จะต้องเริ่มจากการสำรวจและค้นคว้าข้อมูล เช่น ผู้ใช้ เทรนด์ผู้บริโภค เทคโนโลยี ตลาดตลอดจนคู่แข่ง ขั้นตอนที่สองคือการวิเคราะห์และถอดรหัส เพื่อค้นหาปัญหา ทำความเข้าใจและสร้างมุมมองสร้างสรรค์ ขั้นที่สามต้องสร้างโจทย์และกรอบแนวคิด ขั้นตอนที่สี่ การทดลองและถ่ายทอด ซึ่งในขั้นตอนนี้อาจทำซ้ำหลายครั้งเพื่อให้ผลงานการออกแบบตอบโจทย์มากที่สุด ขั้นตอนสุดท้ายคือ การทำต้นแบบเพื่อจำลองและประเมิน ก่อนจะไปสู่การผลิตและจำหน่าย

HTML::image(