ชิ้นส่วนไททาเนียมชิ้นแรกที่พิมพ์จากเครื่องพิมพ์ 3 มิติ ได้รับการติดตั้งเข้าไปในสายการผลิตเครื่องบินแอร์บัส

04 Oct 2017
แอร์บัสได้ทำการติดไพลอนด้วยตัวยึดให้กับเครื่องบิน เอ350 เอ็กซ์ดับเบิลยู
ชิ้นส่วนไททาเนียมชิ้นแรกที่พิมพ์จากเครื่องพิมพ์ 3 มิติ ได้รับการติดตั้งเข้าไปในสายการผลิตเครื่องบินแอร์บัส

แอร์บัสทำการติดตั้งตัวยึดไทเทเนียมที่ได้จากการพิมพ์แบบ 3 มิติในกระบวนการผลิตเครื่องบิน เอ350 เอ็กซ์ดับเบิลยูบีเป็นครั้งแรก ตัวยึดนี้ถูกผลิตขึ้นโดยใช้เทคโนโลยีการขึ้นรูปชิ้นงานด้วยการเติมเนื้อวัสดุเข้าไปทีละชั้น (Additive-Layer Manufacturing หรือ ALM) (หรือที่เรียกว่าการพิมพ์ 3 มิติ) ซึ่งเป็นชิ้นส่วนหนึ่งของแท่นยึดเครื่องยนต์ (Pylon) ที่เชื่อมต่อระหว่างปีกและเครื่องยนต์

นี่ถือเป็นก้าวแรกในการรับรองคุณสมบัติของชิ้นส่วนที่ซับซ้อนมากยิ่งขึ้นของเครื่องบิน ซึ่งพิมพ์จากเครื่องพิมพ์ 3 มิติที่นำไปติดตั้งในกระบวนการผลิตเครื่องบิน

การสร้างชิ้นงานด้วยการเติมผงวัสดุจำพวก อลูมิเนียม ไทเทเนียม สแตนเลส หรือพลาสติก เข้าไปบางๆ ทีละชั้นนั้นช่วยทำให้ชิ้นส่วนต่างๆ ที่มีรูปทรงซับซ้อนสามารถขึ้นรูปได้โดยตรงโดยการใช้ข้อมูลจากโปรแกรมช่วยในการออกแบบ (Computer Aided Design หรือ CAD)

ชิ้นส่วนเครื่องบินที่ใช้เทคโนโลยีการพิมพ์วัตถุ 3 มิติในการผลิต ซึ่งรวมถึงชิ้นส่วนโลหะสำหรับยึดห้องโดยสาร และท่อส่งอากาศ (Bleed pipe) ถูกนำใช้กับเครื่องบินทดสอบ เอ320นีโอ และ เอ350 เอ็กซ์ดับเบิลยูบี บางลำแล้ว