โครงการจากญี่ปุ่นคว้ารางวัลชนะเลิศด้านความหลากหลายทางวิศวกรรมของ “แอร์บัส”

16 Oct 2017
- การมอบรางวัลปีที่ 5 ได้รับการอุปถัมภ์จากองค์การยูเนสโก โดยจัดขึ้นในที่ประชุมคณบดีคณะวิศวกรรมโลกในแคนาดา

แอร์บัส (Airbus) ผู้นำระดับโลกในด้านอากาศยาน อวกาศ และบริการที่เกี่ยวข้อง ร่วมกับสภาคณบดีคณะวิศวกรรมโลก (Global Engineering Deans Council: GEDC) ซึ่งเป็นองค์กรชั้นนำระดับโลกในด้านวิศวกรรมศาสตร์ ได้ประกาศผู้ชนะเลิศรางวัล "GEDC Airbus Diversity Award" [http://www.company.airbus.com/diversityaward] ประจำปี 2560 ซึ่งได้แก่ โครงการ BIRDS Satellite Project ของสถาบันเทคโนโลยีคิวชูของญี่ปุ่น ส่วนตำแหน่งรองชนะเลิศเป็นของโครงการ Schulich School of Engineering: Discover Engineering Programme จากมหาวิทยาลัยแคลกะรีในแคนาดา และโครงการ Women in Engineering (WIE) แห่งมหาวิทยาลัยนิวเซาท์เวลส์ของออสเตรเลีย

(รูป: http://mma.prnewswire.com/media/582413/GEDC_Airbus_diversity_award_2017_winner.jpg)

การมอบรางวัล Airbus Diversity Award ปีนี้ถือเป็นปีที่ 5 ด้วยเงินทุนสนับสนุนจากแอร์บัสร่วมกับ GEDC รวมถึงการอุปถัมภ์จากองค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) ด้วยเป้าหมายที่จะเชิดชูโครงการที่ประสบความสำเร็จในการส่งเสริมให้ประชาชนทุกระดับสามารถเข้าถึงการศึกษาและประสบความสำเร็จในด้านวิศวกรรม ทั้งนี้ความหลากหลายได้กลายเป็นมาตรวัดความสำเร็จที่สำคัญของภาคธุรกิจ โดยในปี 2560 มีผู้บริหาร 69% ที่ให้ความสำคัญกับความหลากหลายและความเท่าเทียมในฐานะวาระหลัก เพิ่มขึ้นจากระดับ 59% ในปี 2557

"ความหลากหลายเป็นเสาหลักสำคัญของธุรกิจเราและเป็นองค์ประกอบที่ขาดไม่ได้ในการขับเคลื่อนธุรกิจให้ประสบความสำเร็จอย่างต่อเนื่อง" ฌอง ไบรซ์ ดูมองต์ ว่าที่รองประธานบริหารฝ่ายวิศวกรรมเครื่องบินพาณิชย์ของแอร์บัส สมาชิกกรรมการส่งเสริมความหลากหลายและความเท่าเทียมของแอร์บัส และผู้อุปถัมภ์รางวัลดังกล่าว แสดงทัศนะ "ความหลากหลายไม่ใช่แค่เรื่องที่สำคัญเท่านั้น แต่ยังฝังรากลึกอยู่ใน DNA ของแอร์บัสอีกด้วย ดังนั้นเราจึงมุ่งมั่นส่งเสริมและเปิดกว้างสำหรับทุกความหลากหลายเพื่อรักษาระดับนวัตกรรมในอุตสาหกรรมของเรา การจับมือเป็นพันธมิตรกับ GEDC ได้สะท้อนให้เห็นถึงความมุ่งมั่นนี้ ในขณะที่เราทำงานร่วมกันเพื่อค้นหาโครงการที่ประสบความสำเร็จดังเช่นโครงการที่เพิ่งคว้ารางวัลชนะเลิศไปนี้ เพื่อพัฒนานักวิศวกรระดับโลกรุ่นใหม่ของเรา"

สำหรับโครงการ BIRDS Satellite Project ซึ่งคว้ารางวัล GEDC Airbus Diversity Award [http://www.company.airbus.com/diversityaward] ประจำปี 2560 นั้น ได้ฝึกฝนนักศึกษาจากประเทศกำลังพัฒนาให้ใช้วิชาวิศวกรรมระบบสมัยใหม่ที่มีประสิทธิภาพในการบริหารโครงการดาวเทียมระยะ 2 ปี ด้วยแผนระยะยาวในการนำไปริเริ่มโครงการด้านอวกาศที่ยั่งยืนในประเทศบ้านเกิดของพวกเขา

ไทโว เทจูโมลา จากสถาบันเทคโนโลยีคิวชู ได้นำเสนอโครงการต่อคณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมและแขกผู้มีเกียรติ รวมถึงผู้นำในแวดวงการศึกษาด้านวิศวกรรมระดับนานาชาติจำนวน 200 รายที่มารวมตัวกันในที่ประชุม GEDC ประจำปี 2560 ซึ่งจัดขึ้นใกล้กับน้ำตกไนแองการา ประเทศแคนาดา โดยโครงการที่ได้รับรางวัล 3 อันดับแรกต่างก็ถูกประเมินด้านขอบข่ายผลกระทบ การสร้างผลลัพธ์ และความเป็นไปได้ในการขยายขนาดโครงการ ซึ่งผู้ชนะเลิศได้รับเงินรางวัล 10,000 ดอลลาร์สหรัฐ ส่วนรองชนะเลิศได้เงินรางวัล 1,500 ดอลลาร์สหรัฐ

ไทโว กล่าวในพิธีมอบรางวัลว่า "ทีมงานที่อยู่เบื้องหลังโครงการ BIRDS Project ในสถาบันเทคโนโลยีคิวชู ประเทศญี่ปุ่น ต่างก็รู้สึกซาบซึ้งที่ได้รับการเชิดชูเกียรติครั้งนี้ โครงการความร่วมมือของเราได้มอบโอกาสที่พิเศษแก่วิศวกรไฟแรงเพื่อร่วมแข่งขันในตลาดระดับโลก โดยการสอนเกี่ยวกับต้นแบบวิศวกรรมระบบที่มุ่งลดปริมาณของเสีย รวมถึงพัฒนาทักษะที่สำคัญและสร้างเครือข่ายที่คอยให้การสนับสนุน โครงการดังกล่าวยังสร้างหนทางที่ยั่งยืนสำหรับผู้เข้าร่วมในการนำความคิดริเริ่มจากการฝึกฝนไปใช้ในประเทศบ้านเกิด นอกจากนี้ยังช่วยส่งเสริมให้เกิดความหลากหลายและสนับสนุนกระบวนการโลกาภิวัตน์ในด้านวิศวกรรมอีกด้วย"

"หนึ่งในเหตุผลที่รางวัลนี้มีความสำคัญก็เพราะเป็นรางวัลที่มอบให้กับโครงการที่สามารถเป็นต้นแบบที่ประสบความสำเร็จให้แก่สถาบันและประเทศอื่นๆในการนำไปปฏิบัติตาม โครงการทั้งสามที่สามารถคว้ารางวัลในปีนี้นี้ล้วนแต่สร้างความแตกต่างที่สำคัญในการเพิ่มความหลากหลายของนักศึกษา และผมก็หวังว่า สมาชิก GEDC จะได้รับแรงบันดาลใจในการริเริ่มโครงการลักษณะเดียวกันในสถาบันหรือประเทศบ้านเกิดของพวกเขา" ปีเตอร์ ติลแพทริค คณบดีแมคคลอสกีย์แห่งวิทยาลัยวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนอเตอร์เดม และประธาน GEDC กล่าว

ทั้งนี้ มีโครงการที่ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลประจำปี 2560 จำนวน 45 โครงการ จาก 18 ประเทศ และ 39 สถาบัน

ที่มา: แอร์บัส