ประเทศญี่ปุ่นมีประวัติศาสตร์การเริ่มนำดนตรีมาเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาคุณภาพชิวิต นับตั้งแต่ยุติสงครามโลกครั้งที่ 2 เริ่มจากการพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนขลุ่ยในโรงเรียนประถมและมัธยม และต่อมาขยายเป็นเครื่องดนตรีอื่นๆ เช่น ออร์แกน, คีย์บอร์ด, อีเล็กโทน เปียโน เครื่องเป่าและเครื่องสาย จนกลายเป็นส่วนหนึ่งขอชีวิตวัยเรียน มีส่วนหล่อหลอมให้คนญี่ปุ่นทักษะทางดนตรี มีวินัย สงบเยือกเย็น รักสันติ และส่งเสริมให้เกิดการวิจัยพัฒนาด้านดนตรีศึกษาการผลิตที่มีความละเอียด ปราณีตและก้าวล้ำด้วยเทคโนโลยี จนทำให้ญี่ปุ่นกลายเป็นผู้นำดนตรีศึกษาและเครื่องดนตรีของชั้นนำโลก การศึกษาดูงานครั้งนี้เป็นความร่วมมือไทย – ญี่ปุ่น ระหว่าง สจล. มหาวิทยาลัยโตไก บริษัท สยามดนตรียามาฮ่า สถานีโทรทัศน์ NHK และ TBS เพื่อส่งเสริมเยาวชนไทยเปิดประสบการณ์และเรียนรู้ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีในประเทศญี่ปุ่น
พุฒิพงศ์ โตคณิตชาติ (เอก) นักศึกษาวิศวกรรมดนตรีและสื่อประสม คณะวิศวกรรมศาสตร์ สจล. กล่าวว่า "ผมชอบประเทศญี่ปุ่นมาตั้งแต่เด็ก การเดินทางครั้งนี้ได้เรียนรู้จากห้องปฏิบัติการที่ทันสมัยของภาควิชาเทคโนโลยีการสื่อสารสารสนเทศ มหาวิทยาลัยโตไก ซึ่งเหมาะกับการเรียนรู้เฉพาะทางอย่างมาก อย่างเช่น Virtual Reality Lab เป็นห้องปฏิบัติการสุดล้ำ เพราะVirtual Reality หรือ 'ความจริงเสมือน' เป็นเทคโนโลยีอนาคตที่ผู้ผลิตอุปกรณ์คอมพิวเตอร์และนักวิจัยกำลังคิดค้นออกมาต่อเนื่อง สำหรับยุคต่อไปของคอมพิวเตอร์ ต้องใช้ควบคู่กับอุปกรณ์สำคัญชิ้นนึง เช่น แว่นตา VR ทำให้เราเข้าไปอยู่ในโลกเสมือนนี้อย่างเต็มตัว ไม่ว่าจะเป็นเกม ภาพยนตร์ และการนำเอาไปใช้งานทางด้านการศึกษาต่างๆ เซนเซอร์ตรวจจับท่าทาง ทำให้เราสามารถออกแบบจำลองสร้างสภาพแวดล้อมเทียมขึ้นมาได้ ผู้ใช้งานสามารถควบคุมได้อย่างอิสระ ไม่ใช่แค่ทิศทางของการมอง แต่ยังรวมถึงการเดินไปยังจุดต่างๆอีกด้วย โดยระบบนี้อยู่ระหว่างการพัฒนาเป็นต้นแบบและจะต่อยอดให้ผู้ใช้สามารถรับรู้โดยใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ครบทุกส่วน มีอุปกรณ์แสดงผลได้หลายมุมมอง นี่เป็นเรื่องใหม่ที่ท้าทายและมีแนวโน้มพัฒนากันอีกมาก ผมรู้สึกทึ่งในระเบียบวินัยของคนญี่ปุ่น เข้าแถว การแยกขยะ การขึ้นบันได ประชากรหนาแน่นมากก็จริง แต่กลับมีความสงบเรียบร้อยจากพื้นฐานการมีวินัย ที่ปลูกฝังกันมาแต่เด็ก มีส่วนขับเคลื่อนประเทศไปสู่ชั้นแนวหน้าของโลกและเทคโนโลยีในที่สุด
อิทธิพร นวอิทธิพร (ไอซ์) หนุ่มน้อยจากภาควิชาวิศวกรรมดนตรีและสื่อประสม คณะวิศวกรรมศาสตร์ สจล. กล่าวว่า "ผมได้เรียนรู้เทคโนโลยีใหม่ๆจากงาน Open House ของสถานีโทรทัศน์ NHK สิ่งที่น่าสนใจเป็นการผลิตรายการด้วยระบบ UHDหรือ Super High-Vision มีโปรเจคที่สนับสนุนระบบภาพ Broadcasting ให้อยู่ในมาตรฐาน 8k ซึ่งมากกว่า HD TV แบบปกติถึง 16 เท่า และ Full HD 8 เท่า โดยใช้จอ OLED ที่มีจอภาพขนาดบางเฉียบเพียง 2 มิลลิเมตรเท่านั้น ลักษณะบางคล้ายแผ่นฟิล์มแต่เปล่งแสงเองได้เมื่อได้รับพลังงานไฟฟ้า โดยไม่พึ่งพาแสง Backlight ซึ่งจะไม่มีการเปล่งแสงในบริเวณที่เป็นภาพสีดำ ส่งผลให้ภาพสีดำนั้นดำสนิท สถานี NHK ยังมีเทคโนโลยีระบบเสียงรอบทิศทาง 22.2 ชาแนล และอุปกรณ์เสียงทันสมัย ช่วงเยี่ยมชมโรงงานผลิตเครื่องดนตรียามาฮ่า ที่เมืองชิซุโอะกะ ประทับใจกับการทำงานที่เป็นระบบ และตรงตามกำหนด ความใส่ใจรายละเอียดทุกขั้นตอนของการผลิต ซึ่งกว่าจะเป็นเปียโน 1 หลังได้นั้นต้องประณีตและบรรจงสร้างสรรค์ผลงานมาก ทั้งรายละเอียดการผลิตและคุณภาพชีวิตของแรงงานด้วย ภายในโรงงานเสียงดังมาก พนักงานทุกคนจะได้พักเพื่อเป็นการรักษาสุขภาพกาย ประสบการณ์จากญี่ปุ่นเป็นประโยชน์มากต่อการนำมาใช้ในประเทศไทยที่กำลังจะก้าวสู่ ยุค 4.0"
กุลธิดา ทัศนสุวรรณ (เค้ก) สาวน้อยสดใส คณะวิศวกรรมศาสตร์ สจล. กล่าวว่า "ตื่นเต้นค่ะที่ได้เติมประสบการณ์กับ สถานีโทรทัศน์ TBS ซึ่งเป็นสถานีหลักในการถ่ายทอดมหกรรมกีฬาโอลิมปิก ปี 2020 ครั้งยิ่งใหญ่ ซึ่งญี่ปุ่นได้รับเลือกเป็นเจ้าภาพจัดในวันที่ 24 กรกฎาคม - 8 สิงหาคม ปี 2020 ที่เมืองโตเกียว เรียกได้ว่าคนญี่ปุ่นรอคอยมานานกว่า 56 ปี นับตั้งแต่ปี 1964 ทาง TBSได้ทุ่มเทกับการพัฒนาออกแบบนวัตกรรมและจัดการระบบต่างๆใหม่ เพื่อเพิ่มศักยภาพทางเทคโนโลยีรองรับมหกรรมกีฬาระดับโลกในครั้งนี้ เค้กจะนำประสบการณ์มาถ่ายทอดให้นักศึกษาในประเทศไทยให้เป็นประโยชน์ต่อไป คิดว่าเราจะหยุดอยู่แค่นี้ไม่ได้ ต้องนำองค์ความรู้และความคิดสร้างสรรค์ มาปรับใช้เพื่อพัฒนาวิศวกรรมดนตรีและอุตสาหกรรมสื่อประสมของบ้านเราให้ก้าวหน้าต่อไป
เค้กและทีมยังได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์กับมหาวิทยาลัยโตไก ซึ่งมีชื่อเสียงด้านการเรียนการสอนหลักสูตรดนตรี มีคอมพิวเตอร์ฉายสิ่งที่อาจารย์กำลังสอนอยู่ โดยเฉพาะภาคปฏิบัติหรือทำในโปรแกรมคอมพิวเตอร์ นักศึกษาสามารถเห็นขั้นตอนการทำและรายละเอียดได้ชัดเจน เรายังแลกเปลี่ยนเรียนรู้วัฒนธรรมผ่านการแสดงดนตรี ร้องเพลง 3 ภาษาได้แก่ ภาษาไทย ภาษาญี่ปุ่น และภาษาอังกฤษ ดนตรีเป็นสื่อกลางให้เราเข้าใจกันและกันมากยิ่งขึ้นค่ะ
คำอธิบายภาพ (ตามเบอร์ภาพ)
1. พุฒิพงศ์ โตคณิตชาติ
2. อิทธิพร นวอิทธิพร
3. กุลธิดา ทัศนสุวรรณ
4. ทริปแห่งการเรียนรู้ มุ่งสู่สนามบินนาริตะ ประเทศญี่ปุ่น
5. แลกเปลี่ยนเรียนรู้ กับ คณะดุริยางคศาสตร์ มหาวิทยาลัยโตไก
6. ชมงานวิจัยและผลิตเครื่องดนตรี โรงงานยามาฮ่า ที่เมืองชิซุโอะกะ
7. สถานีโทรทัศน์ TBS ซึ่งจะถ่ายทอด โอลิมปิก 2020
8. สัมผัสเทคโนโลยี Virtual Reality Lab
9. เยาวชนไทยร่วมกิจกรรมที่มหาวิทยาลัยโตไก
10. ทีมเยาวชนวิศวกรรมดนตรี ณ สถานีโทรทัศน์ NHK
11. เยาวชนไทย รอรถบัสไปมหาวิทยาลัยโตไก
HTML::image( HTML::image( HTML::image(ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit