“กรณ์ จาติกวณิช” พร้อม Co-founder นำทัพทีม “รีฟินน์” ปลุกกระแสคนไทยให้ตื่นตัวรีไฟแนนซ์บ้าน ยื่นขอรีไฟแนนซ์ผ่านรีฟินน์ 32,000 ล้านบาท

04 Sep 2017
"รีฟินน์" สตาร์ทอัพ รีไฟแนนซ์ออนไลน์ ก้าวสู่ปีที่ 2 หนุน "พรพิมล ปฐมศักดิ์" ซีอีโอมากความสามารถเสริมทีมบริหาร ตอกย้ำระบบออนไลน์สร้างความสะดวกสบาย ปลุกกระแสความตื่นตัวตลาดสินเชื่อบ้านทำให้ปีแรกมีลูกหนี้สนใจ เข้ามาที่ www.refinn.com กว่า 4 แสนคน โดยมีผู้ทำการยื่นขอรีไฟแนนซ์ผ่าน www.refinn.com ไปแล้ว คิดเป็นวงเงินกว่า 32,000 ล้านบาท สูงกว่าเป้าที่ตั้งไว้ กระแสตอบรับดีเผยอยู่ในช่วงเจรจากับพันธมิตรและนักลงทุน
“กรณ์ จาติกวณิช” พร้อม Co-founder นำทัพทีม “รีฟินน์” ปลุกกระแสคนไทยให้ตื่นตัวรีไฟแนนซ์บ้าน ยื่นขอรีไฟแนนซ์ผ่านรีฟินน์ 32,000 ล้านบาท

คุณกรณ์ จาติกวณิช ประธาน บริษัท รีฟินน์ อินเตอร์เนชั่นแนล ดอทคอม จำกัด เปิดเผยว่า บริษัท ดำเนินธุรกิจเป็นที่ปรึกษาด้านสินเชื่อผ่านช่องทางออนไลน์ เว็บไซต์ www.refinn.com ซึ่งการดำเนินงานในปีแรกที่ผ่านมา รีฟินน์สามารถเข้าไปมีส่วนช่วยเหลือลูกค้าในการรีไฟน์แนนซ์บ้านได้กว่า 600 ครัวเรือน หรือคิดเป็นวงเงินสินเชื่อ รวม 1,300 ล้านบาท โดยที่แต่ละครอบครัวสามารถลดภาระการชำระหนี้ได้กว่าเดือนละ 6,000 บาท ทำให้คุณภาพชีวิตของผู้รีไฟแนนซ์บ้านดีขึ้นจากภาระหนี้ที่ลดน้อยลง

บริษัท ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีจากลูกค้าสินเชื่อบ้านตั้งแต่ในปีแรกของการดำเนินธุรกิจ สามารถปลุกกระแสคนไทยให้ตื่นตัวเรื่องการรีไฟแนนซ์บ้านได้เป็นอย่างมาก และในโอกาสก้าวสู่ปีที่ 2 นี้ จึงเสริมทัพทีมบริหารมากความสามารถ อย่าง คุณพรพิมล ปฐมศักดิ์ เพื่อส่งเสริมธุรกิจให้มีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง สามารถทำให้บริษัท เติบโตขึ้นในการเป็นที่ปรึกษาด้านการรีไฟแนนซ์บ้านที่ดี ให้กับผู้กู้ได้อย่างแน่นอน

คุณกรณ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ธุรกิจฟินเทค กำลังเป็นที่จับตามองในปัจจุบัน เพราะสามารถตอบโจทย์ ไลฟ์สไตล์คนรุ่นใหม่ได้เป็นอย่างดี โดย 8 เดือนที่ผ่านมา ได้มีการรีไฟแนนซ์ไปแล้วกว่า 600 ครัวเรือน เป็นวงเงิน 1,300 ล้านบาท และคาดว่าภายในสิ้นปี 2560 จะมียอดอนุมัติไม่ต่ำกว่า 3,400 ล้านบาท

โดยตลาดสินเชื่อบ้านในขณะนี้มีมูลค่ากว่า 3.4 ล้านล้านบาท ภาพรวมของธุรกิจสินเชื่อบ้านในปีนี้ มีการเติบโตใกล้เคียงกับปีที่ผ่านมา คือ มีการขยายตัวสินเชื่อที่อยู่อาศัยปล่อยใหม่เพิ่มขึ้น 3-5 % บ่งชี้ให้เห็นถึงความต้องการรีไฟแนนซ์ในอนาคต จากการสำรวจปัจจุบันมีผู้สนใจรีไฟแนนซ์ สินเชื่อบ้านเพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัว เนื่องจากผู้กู้สินเชื่อบ้านตื่นตัวและให้ความสนใจในการลดดอกเบี้ย และเห็นประโยชน์อื่นๆ มากขึ้น ซึ่งประมาณการขนาดของตลาดอยู่ที่ 3 แสนล้านบาท

คุณพรพิมล ปฐมศักดิ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท รีฟินน์ อินเตอร์เนชั่นแนล ดอทคอม จำกัด กล่าวถึง แนวทางการบริหารงานในปีนี้ว่า รีฟินน์มุ่งเน้นในเรื่องการพัฒนา เว็บไซค์ให้ใช้งานได้ง่ายขึ้นและนำเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์มาใช้ในการคัดกรองข้อเสนอจากหลากหลายธนาคาร ให้ตรงกับความต้องการของผู้กู้ อีกทั้งยังพัฒนาการสื่อสารระหว่าง ผู้ใช้บริการกับธนาคารให้คล่องตัว เป็นระบบ realtime มากขึ้น เพื่อสนองความต้องการของผู้ใช้บริการ ในการลดภาระค่าใช้จ่ายดอกเบี้ย ลดขั้นตอนในการทำรีไฟแนนซ์

รีฟินน์ เป็นบริษัทสตาร์ทอัพที่มีศักยภาพสูงในการพัฒนาการทำงาน ด้านระบบการจัดการ จึงได้รับรางวัลต่างๆ เป็นการยืนยันผลงานคุณภาพ อาทิ

รางวัล Best Social Innovation Awards 2016 มอบโดยองค์กรการกุศล Social Ventures Hong Kong 1 ใน 4 ทีม ผู้ชนะเลิศรางวัล Thailand Digital Startups จากสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (DEPA) โดยได้รับการสนับสนุนไปศึกษา และพบนักลงทุนที่ Silicon Valley ประเทศสหรัฐอเมริกา

ได้รับการบรรจุให้อยู่ใน Southeast Asia's Top 75 FinTech Startups 2017 จัดโดย TechSauce

ได้รับคัดเลือก 1 ใน 10 ทีม เข้าร่วมโครงการ Digital Ventures Accelerator ใน Batch แรก โดยบริษัท Digital Ventures

ได้รับคัดเลือก ให้เป็น 1 ใน 10 ทีม ให้เข้าร่วมโครงการ Krungsri Rise 2 โดย Krungsri Finnovate

รางวัลเหล่านี้สะท้อนถึงความตั้งใจ และความเป็นมืออาชีพในการที่จะพัฒนาธุรกิจของคนไทย และสามารถหาวิธีการที่จะให้ลูกค้าได้รับประโยชน์สูงสุดจากการใช้บริการของรีฟินน์

นอกจากนี้ ในส่วนของการดำเนินธุรกิจ รีฟินน์ เป็นบริษัทสตาร์ทอัพรุ่นใหม่ที่ได้รับการยอมรับจาก นักลงทุนทั้งไทยและต่างประเทศอย่างมาก โดยที่ผ่านมาได้มีการเจรจาเพื่อขยายช่องทางธุรกิจและความร่วมมือทางธุรกิจเช่นกัน ซึ่งในอนาคต บริษัท รีฟินน์ อินเตอร์เนชั่นแนล ดอทคอม จำกัด จะสามารถเติบโตและเป็นที่ปรึกษาด้านการรีไฟแนนซ์บ้าน ตอบโจทย์ทุกความต้องการให้ลูกค้าเพื่อช่วยพัฒนา และยกระดับคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น

“กรณ์ จาติกวณิช” พร้อม Co-founder นำทัพทีม “รีฟินน์” ปลุกกระแสคนไทยให้ตื่นตัวรีไฟแนนซ์บ้าน ยื่นขอรีไฟแนนซ์ผ่านรีฟินน์ 32,000 ล้านบาท