นายนายนที ขลิบทอง ผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชมเมืองแห่งชาติ (สทบ.)กล่าวถึงผลการดำเนินงานและแผนงาน ว่า ปัจจุบันมีการจัดตั้งกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง (กทบ.)ทั่วประเทศตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี จำนวน 79,595 กองทุน และมีสมาชิกกองทุน 12,827,938 คน ในจำนวนนี้เป็นกองทุนที่เกิดขึ้นใหม่ของรัฐบาลปัจจุบัน จำนวน 340 กองทุน และตามพ.ร.บ. กองทุนหมู้บ้านฯ พ.ศ. 2547 มีการจัดตั้งขึ้นจำนวน 1,582 กองทุน ซึ่งจะเป็นนิติบุคคล ดังนั้นกองทุนใหม่จึงเป็นนิติบุคลทันที ปัจจุบันมีกองทุนที่ยังไม่เป็นนิติบุคคล ซึ่งอยูในกระบวนการเร่งรัดให้จดกองทุนนิติบุคคลจำนวน 2,060 กองทุน เพื่อไม่ให้กองทุนเหล่านั้นเสียโอกาสความก้าวหน้าในการดำเนินงานกองทุน ปัจจุบันกองทุนหมู่บ้านฯ มีเงินหมุนเวียนกว่า 3 แสนล้านบาท โดยการดำเนินงาน 90% ของจำนวนกองทุนหมู่บ้านฯ มีผลการดำเนินการอยู่ในเกณฑ์ที่ดี ส่วนที่มีปัญหามีเพียง 10% ซึ่งนับว่าเป็นสัดส่วนที่น้อยมากและมีการติดตามเร่งแก้ไข
แผนและเป้าหมายการดำเนินงานของ กทบ. ในระยะต่อไปจะดำเนินการประเมินผลกองทุนหมู่บ้านฯ แยกเป็น A B C D และ E ให้แล้วเสร็จประมาณปลายเดือน สิงหาคม 2560 ในด้านบริการสมาชิกและประชาชน แก้ปัญหาหนี้นอกระบบ จัดการสวัสดิการชุมชน และช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อยในกรุงเทพมหานครฯในงบประมาณ 1,300 ล้านบาท รวมถึงการจัดการน้ำ ด้านการพัฒนาหมู่บ้านและชุมชน จะส่งเสริมพัฒนาให้เป็นหมู่บ้านท่องเที่ยว หมู่บ้านพัฒนาตัวอย่าง เสริมสร้างอาสาประชารัฐ ทำหน้าที่โฆษกชุมชนเพื่อประสานงานและประชาสัมพันธ์แต่ละหมู่บ้าน และวางแผนพัฒนาชุมชนภาคประชาชน ส่วนด้านการขับเคลื่อนโครงการเพิ่มความเข้มแข็งเศรษฐกิจฐานรากตามแนวทางประชารัฐในปี 2559 ตามงบประมาณ 35,000 ล้าน และในปี 2560 รัฐบาลได้เสริมงบประมาณเพื่อเพิ่มศักยภาพ อีก 15,000 ล้านบาทนั้นจะเร่งยกระดับต้นแบบร้านค้าประชารัฐ จำนวน 19,270 ร้าน ตลาดประชารัฐ 1,300 แห่ง สินค้าน้ำดื่มประชารัฐ 11,000 แห่ง จัดสัมนาประชารัฐและอาสาประชารัฐ สร้างเว็บไซต์ประชารัฐ
นายสุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีและประธานกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ ได้มอบนโยบายแก่ สทบ.ว่า ในการก้าวสู่อนาคตหมู่บ้าน4.0 โดยต้องมองถึงความยั่งยืน (SDGs) ตามแนวทางสหประชาชาติ และศาสตร์พระราชา กทบ. มุ่งพัฒนายกระดับกองทุนหมู่บ้านซึงปัจจุบันแบ่งเป็น A, B, C, D ให้มาตรฐานสูงขึ้น เช่น จาก C เป็น D , จาก B เป็น A , เปลี่ยนหนี้นอกระบบให้เป็นหนี้ในระบบเป็นหนี้ที่ดีมีอนาคตและก่อให้เกิดประโยชน์และความมั่นคงทางชุมชนอย่างแท้จริง ศึกษาพิจารณาการตั้งกองทุนชารีอะห์ โดยประสานกับคณะกรรมการอิสลามแห่งประเทศไทย เพื่อจัดตั้งกองทุนได้ถูกต้องหลักศาสนาอิสลาม โดยอยู่ภายใต้กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง เน้นในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้และเมืองใหญ่ ทั้งนี้กองทุนชารีอะห์ จะทำให้จำนวนสมาชิกกองทุนหมู่บ้านฯเพิ่มขึ้นอีก ประมาณ 300,000 คน ในด้านการบริหารจัดการต้องปรับกองทุนหมู่บ้านฯ ให้สอดรับกับยุทธศาสตร์ชาติ จากเดิมที่แบ่งพื้นที่ 4 ภาค มาเป็น 6 ภาค และปรับปรุงกลุ่มจังหวัดจากเดิม 13 กลุ่ม มาเป็น 18 กลุ่มจังหวัด นอกจากนี้ให้ศึกษาการตั้งศูนย์ปฏิบัติการจังหวัดของกองทุนหมู่บ้านฯ มีสำนักงานเป็นของตนเองเพื่อประสิทธิภาพของการดำเนินงานที่ชัดเจน
การติดอาวุธทางปัญญาให้กองทุนหมู่บ้าน จะเริ่มดำเนินการพัฒนาศักยภาพ 4 ด้าน คือ ด้านกฎหมายได้จัดสัมนาอบรมด้านกฎหมายร่วมกับสำนักงานอัยการ เมื่อวันที่ 15-18 สิงหาคม 2560 ซึงได้รับพระเมตตาจากพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา เสด็จร่วมงานประชุมครั้งนี้ในจังหวัดระยองด้วย สทบ.ได้จัดทำคู่มือรวมองค์ความรู้และกรณีศึกษาการบริหารจัดการกองทุนหมู่บ้านฯเพื่อง่ายต่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และเสิมประสบการณ์แก่บุคคลากรกองทุนหมู่บ้านฯ และชุมชนทั่วประเทศ
ในด้านการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ กองทุนหมู่บ้านฯร่วมมือกับกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม สร้างหลักสูตรพัฒนาผู้นำต้องมีความรู้ในเรื่องอินเทอร์เน็ต สามารถการเปลี่ยนแปลงสู่หมู่บ้านยุคใหม่ และทำแอพพลิชันเพื่อเป็นศูนย์กลางข้อมูลกองทุนหมู่บ้าน และโฆษกหมู่บ้านสามารถใช้แอพพลิเคชั่นเพื่อพูดคุยแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ในแต่ละหมู่บ้าน ด้านพัฒนาการเงินนั้นได้ร่วมมือกับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในการฝึกอบรมพัฒนา ยกระดับกองทุนหมู่บ้านฯ รวมเป็นสถาบันการเงินชุมชนที่ให้บริการแก่สมาชิกได้มีประสิทธิภาพ ส่วนด้านการพัฒนาจัดการธุรกิจ กทบ.ได้รับความร่วมมือจากกระทรวงพาณิชย์ เพื่อให้บริการสมาชิกหรือประชาชนอย่างมีประสิทธิภาพ แก้ปัญหาเรื่องหนี้นอกระบบ เสริมสร้างกองทุนหมู่บ้านเป็นชุมชนการออม และด้านการสื่อสารและภาษาร่วมมือกับสำนักงานราชบัณฑิตยสภา
นอกจากนี้ ยังมอบหมายให้สทบ. ทบทวนพิจารณานำเงินที่เหลืออยู่เกือบ 3,000 ล้านบาท กล่าวคือจากกองทุนพัฒนาหมู่บ้านและชุมชน (SML) กว่า 1,400 ล้านบาท และกองทุนพัฒนาเมือง อีกประมาณ 1,500 ล้านบาท มาใช้ให้เกิดประโยชน์มากที่สุด อีกทั้งได้มอบนโยบายและกรอบการดำเนินงานในระยะต่อไปของสทบ. ในการพัฒนาศักยภาพและความเข้มแข็งของกทบ.และสมาชิกฯ เพื่อร่วมกันขับเคลื่อนกองทุนหมู่บ้านฯ สร้างความเข้มแข็งเศรษฐกิจฐานราก พัฒนาหมู่บ้าน 4.0 สู่การบรรลุเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs) โดยส่งเสริมชาวบ้านประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับพื้นที่ในการพัฒนาหมู่บ้านให้เข้มแข็ง ผ่านกลไกของกองทุนหมู่บ้านฯ
HTML::image(ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit