โดยในคลัสเตอร์ของผลงานด้านเทคโนโลยีทางการแพทย์ (Medical Technology) ได้ร้อยเรียงเรื่องราวประกอบด้วย 3 โซนหลัก ได้แก่ ป้องกัน, รักษา และ ฟื้นฟู ซึ่งจะมีการนำเสนอนวัตกรรมเทคโนโลยีที่เป็นงานวิจัยพัฒนา พร้อมถ่ายทอดเทคโนโลยี และ พร้อมขยายผลเชิงพาณิชย์ อาทิ โครงการเทคโนโลยีชีวภาพเซรั่มน้ำยางพาราเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์สุขภาพและเครื่องสำอางมูลค่าสูงสู่เชิงพาณิชย์ (TCELS), หุ่นยนต์เสริมการเรียนรู้ในเด็กออทิสติกสเปคตรัม ที่ช่วยเด็กออทิสติก ฝึกพูดดีขึ้น ลดพฤติกรรมไม่เหมาะสมลง โดยประเทศไทยเป็นประเทศแรกที่ทำหุ่นยนต์ฝึกพูด ผู้คิดค้นคือ รศ.ดร.ปัณรสี ฤทธิประวัติ อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โดย ทีเซล จะนำหุ่นยนต์มาโชว์ให้กับทุกๆท่านที่มาร่วมงานได้มาสัมผัสตัวจริงกัน, ระบบรากเทียมสำหรับยึดติดอวัยวะเทียม (ADTEC), เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สำหรับงานทันตกรรม (DentiiScan 2.0) (สวทช.), เครื่องแสดงผลอักษรเบรลล์สำหรับผู้พิการทางสายตา (สซ.), ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางจากสารสกัดเมล็ดองุ่นไทย "วิทิสตร้า" (วว.) และ ผลิตภัณฑ์ไอโซโทปและสารเภสัชรังสี สำหรับรักษาและตรวจวินิจฉัยมะเร็งต่างๆ (สทน.) ทุกหน่วยงานจะนำผลงานผลิตภัณฑ์มาจัดแสดงพร้อมมีเจ้าหน้าที่ประจำบูธคอยให้บริการข้อมูลตอบข้อซักถามให้กับทุกท่าน
นอกจากนี้ยังมีการประชุม เสวนาทางวิชาการ การฝึกอบรมสาธิตเพื่อการถ่ายทอดเทคโนโลยีสร้างอาชีพ การบริการให้คำปรึกษาทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม รวมทั้งการเจรจาธุรกิจอีกด้วย