กองส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยนเรศวร นำโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วศิน
ปัญญาวุธตระกูล ผู้อำนวยการ ร่วมกับ
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (
องค์การมหาชน) จัดการประชุมสรุปผลและนำเสนอผลการดำเนินโครงการการพัฒนารูปแบบการเขียน
ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นชาติพันธุ์ ในพื้นที่ชุมชนภาคเหนือตอนล่างแบบมีส่วนร่วม เมื่อวันที่ ๒ – ๓ กันยายน ๒๕๖๐ ณ อาคารวิสุทธิกษัตริย์ มหาวิทยาลัยนเรศวร โดยเป็นการนำเสนอผลการดำเนินกิจกรรมตลอดระยะเวลา ๑ ปีของโรงเรียนนำร่องในเขตภาคเหนือตอนล่าง จำนวน ๗ แห่ง จากการเลือกหนึ่งประเด็นในชุมชน ทำให้แต่ละโรงเรียนมีประวัติศาสตร์ท้องถิ่นที่ก่อเกิดความรู้ ความภาคภูมิใจ การอนุรักษ์ สืบสาน ทั้งยังมีการต่อยอดสร้างรายได้ อาชีพ เกิดเป็นการท่องเที่ยวในชุมชน และนวัตกรรม ได้แก่, วิถีชีวิตคนทำเม็ดมะม่วงหิมพานต์ โดยโรงเรียนอนุบาลท่าปลา (ชุมชนร่วมจิต) อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์, การเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตรอบลำน้ำบึงสามพัน โดยโรงเรียนบึงสามพันวิทยาคม เพชรบูรณ์, วิถีชีวิตช่างแทงหยวกกล้วยแลแห่นาค อำเภอนครไทย โดยโรงเรียนนครไทย พิษณุโลก, ลายผ้าปักม้งในเขตนครไทย-ชาติตระการ โดยโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ ๒๓ นครไทย พิษณุโลก, การศึกษาลายผ้าทอมือกลุ่มสตรีทอผ้าบ้านนาเมือง โดยโรงเรียนชาติตระการวิทยา พิษณุโลก, พระเจ้าทันใจสามพี่น้อง โดยโรงเรียนสามเงาวิทยาคม ตาก, วิถีชีวิตช่างปั้นเครื่องสังคโลก โดยโรงเรียนบ้านเมืองเก่าศรีอินทราทิตย์ สุโขทัย ทั้งหมดนี้นับเป็นคลังข้อมูลทางสังคม–วัฒนธรรมที่สำคัญ ทั้งยังเป็น
โมเดลการเขียนประวัติศาสตร์ท้องถิ่นชาติพันธุ์ให้กับโรงเรียนต่าง ๆ ทั่วประเทศต่อไป