นอกเหนือจากอนิเมะญี่ปุ่นและซีรีส์เกาหลีแล้ว นวนิยายออนไลน์ ภาพยนตร์ และละครโทรทัศน์จีนที่สร้างจากงานวรรณกรรมเหล่านี้ ก็ได้รับความนิยมมากขึ้นในหมู่นักอ่านไทยเช่นกัน
ซีรีส์ดังบนอินเทอร์เน็ตเรื่อง "ท่านอ๋อง เมื่อไหร่ท่านจะหย่ากับข้า!"ซึ่งเพิ่งจบซีซั่นแรกไปนั้น ก็ได้รับความนิยมจากผู้ชมชาวไทยเป็นอย่างมาก โดยพวกเขาต่างก็อินไปกับสองตัวละครหลักอย่าง Xiao Tan และ Mo Liancheng ซีรีส์เรื่องนี้มีเวอร์ชั่นซับไทยให้รับชมบนยูทูบ ซึ่งมียอดวิวถล่มทลาย พร้อมคอมเมนต์ชื่นชมอย่างล้นหลาม โดยแฟนๆในไทยต่างเฝ้าคอยซีซั่น 2 ของซีรีส์เรื่องนี้อย่างใจจดใจจ่อ
"ท่านอ๋อง เมื่อไหร่ท่านจะหย่ากับข้า!" ไม่ใช่ซีรีส์จีนเรื่องแรกที่สร้างปรากฏการณ์ฮิตในไทย ก่อนหน้านี้ผู้ชมชาวไทยก็เป็นแฟนตัวยงของละครโทรทัศน์จีนมายาวนานแล้ว โดยสถานีโทรทัศน์ 5-6 สถานีได้นำซีรีส์จีนมาออกอากาศเป็นประจำ อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันซีรีส์จีนส่วนใหญ่ที่ออกฉายและได้รับความนิยมอย่างสูงในไทยนั้น ล้วนสร้างมาจากนิยายออนไลน์ เช่น "หลางหยาป่าง" "จอมนางจารชนหน่วย 11" และ "ท่านอ๋อง เมื่อไหร่ท่านจะหย่ากับข้า!" ซึ่งแตกต่างจากในอดีตที่คนไทยชื่นชอบละครโทรทัศน์ที่ดัดแปลงมาจากหนังสือนวนิยายดั้งเดิมหรือพงศาวดารอย่างเช่น " สามก๊ก"
ตามแผงร้านหนังสือทั่วประเทศไทย ผลงานนิยายจากปลายปากกาของผู้แต่งชาวจีน ได้ติดทำเนียบหนังสือขายดีมาอย่างยาวนาน รวมถึง "สยบฟ้าพิชิตปฐพี" และ "ยอดกุนซือทะลุมิติ" และที่น่าสนใจก็คือ ถึงแม้ในอดีต ผู้ที่รักการอ่านในไทยจะเป็นผู้หญิงเสียส่วนใหญ่ แต่หลังจากที่นิยายออนไลน์จีนได้เจาะตลาดหนังสือไทยแล้ว นิยายแนวแฟนตาซีและกำลังภายในก็สามารถดึงดูดนักอ่านเพศชายได้มากขึ้น โดยที่ "เทพยุทธ์เซียน Glory" "สยบฟ้าพิชิตปฐพี" และ "คนขุดสุสาน" ล้วนติดอันดับท็อปหนังสือขายดีเป็นเวลานาน โดยเฉพาะเรื่อง "สยบฟ้าพิชิตปฐพี" ซึ่งล่าสุดออกเล่ม 10 และเป็นผลงานของ Mao Ni ผู้แต่งชื่อดังที่มีแฟนๆในไทยติดตามจำนวนมาก ขณะที่ความร่วมมือด้านลิขสิทธิ์และการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมระหว่างแพลตฟอร์มวรรณกรรมออนไลน์ของจีนที่มีฝ่ายวรรณกรรมจีนเป็นตัวแทน, เจ้าของทรัพย์สินทางปัญญาของนิยายดังเหล่านี้ และองค์กรสำนักพิมพ์ในไทย ได้ส่งเสริมให้สองฝ่ายมีความใกล้ชิดกันมากขึ้น
ตามทัศนะของคุณเคนนั้น มีหลายสิ่งที่คล้ายคลึงกันระหว่างวัฒนธรรมจีนกับไทย ดังนั้น เขาจึงคาดหวังว่า วรรณกรรมออนไลน์ของจีนจะครองใจนักอ่านชาวไทย นอกจากนี้คุณเคนยังกล่าวเสริมด้วยว่า สำนักพิมพ์ต่างๆในไทยพยายามตีพิมพ์งานแปลวรรณกรรมจีนเหล่านี้ออกมาเป็นหนังสือ ซึ่งขับเคี่ยวกับวรรณกรรมต้นฉบับคลาสสิก อย่างไรก็ตาม "งานวรรณกรรมออนไลน์เหล่านี้ได้รับการยอมรับมากขึ้น เนื่องจากอ่านเข้าใจได้ง่ายกว่า"
ผู้บริหารสยามอินเตอร์มัลติมีเดีย ระบุว่า งานวรรณกรรมจีนเติบโตอย่างเห็นได้ชัดในประเทศไทย ถึงขนาดที่แฟนพันธุ์แท้จำนวนมากที่ทนรอไม่ไหว ต้องแข่งแปลกับสำนักพิมพ์ หรือรับงานแปลต้นฉบับภาษาจีน นอกจากนี้ยังมีกลุ่มนักแปลซับไตเติลที่รวมตัวกันเพื่อเป็นตัวแทนของนักอ่านอีกด้วย รายงานระบุว่า สยามอินเตอร์มัลติมีเดีย ซึ่งมีประสบการณ์กว่า 20 ปีในการแปลและตีพิมพ์นิยายจีน ได้วางจำหน่ายหนังสือนิยายจีน 10-12 เล่ม/ปี และมียอดขายอันน่าทึ่ง โดยคิดเป็นสัดส่วนมากถึง 70% ของรายได้จากการขายผลิตภัณฑ์ทั้งหมด นอกจากนี้ ผลงานคลาสสิกจากจีนเหล่านี้ยังถูกนำไปใช้เป็นแบบเรียนในมหาวิทยาลัยมาหลายรุ่น และมีแนวโน้มที่จะได้รับความสนใจในชั้นเรียนของมหาวิทยาลัยทั่วโลกเพิ่มขึ้นอีกด้วย ซึ่งช่วยกำหนดมาตรฐานใหม่ให้กับการพัฒนาคุณภาพของอุตสาหกรรมสื่อสิ่งพิมพ์ไทย
เราคาดว่าจะได้เห็นงานวรรณกรรมออนไลน์ของจีนเข้าถึงนักอ่านชาวไทยมากขึ้น ขณะเดียวกันก็จะได้เห็นวรรณกรรมคลาสสิกของไทยเริ่มเข้าสู่ตลาดนักอ่านในจีนด้วยเช่นกัน
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit