ปีนี้เป็นปีแรกที่มีการเปิดพื้นที่ที่เคยปนเปื้อนรังสีอย่างหนักในเขตอันตรายห้ามเข้า ที่เรียกว่า แอเรีย 1 และ 2 (Area 1, 2) ให้ประชาชนกลับเข้าไปอยู่อาศัยเช่นเดิม แม้ว่าหลายพื้นที่ ซึ่งมีการขจัดการปนเปื้อนรังสีไปเสร็จสิ้นกระบวนการแล้ว การปนเปื้อนรังสียังอยู่ในระดับที่เกินค่าการปนเปื้อนในระยะยาว ระดับรังสีในพื้นที่ป่าโดยรอบนั้นเทียบเท่ากับระดับรังสีในปัจจุบันในเขตอันตรายห้ามเข้ารัศมี 30 กิโลเมตรที่เชอร์โนบิล ซึ่งแม้ว่าหายนะภัยที่เชอร์โนบิลจะผ่านมาแล้วมากกว่า 30 ปี แต่พื้นที่อันตรายยังปิดตายถาวรสำหรับการกลับเข้าไปอยู่อาศัย
"ในการผลักดันอุตสาหกรรมนิวเคลียร์ รัฐบาลนายอาเบะนั้นพยายามสร้างมายาคติว่า หายนะภัยจากนิวเคลียร์นั้นจัดการได้ และทุกคนในฟุกุชิมะสามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติ แต่จากการสำรวจของเรา มันไม่ได้เป็นเช่นนั้นเลย" ยูโกะ โยเนดะ ผู้อำนวยการบริหาร กรีนพีซญี่ปุ่นกล่าว [1]
"ชาวฟุกุชิมะตกอยู่ในหายนะภัยที่รัฐบาลของตัวเองเป็นผู้ก่อ ประการแรกคือ รัฐบาลล้มเหลวในการจัดการปัญหา ทั้งการวางแผนมาตรการฉุกเฉิน และความปลอดภัยทางนิวเคลียร์ และล่าสุดคือนโยบายการย้ายถิ่นฐาน(กลับไปในพื้นที่ปนเปื้อน) เรากำลังเป็นห่วงสิทธิของประชาชนที่กำลังถูกละเมิดทั้งด้านสุขภาพ ที่อยู่อาศัย และสิ่งแวดล้อมจากนโยบายที่จงใจดังกล่าวนี้ โดยผู้หญิงและเด็กจะได้รับผลกระทบที่สุด"
คำสั่งอพยพที่เคยประกาศใช้กับหมู่บ้านอิตาเตะ จะถูกยกเลิกภายใน 31 มีนาคม 2560 หมู่บ้านแห่งนี้อยู่ห่างจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะไดอิจิ 30 - 50กิโลเมตร และมีการปนเปื้อนรังสีอย่างหนัก หนึ่งปีหลังจากนั้น รัฐบาลจ่ายเงินชดเชยให้ทุกครัวเรือน ที่ต้องอพยพย้ายถิ่น
ผลการสำรวจล่าสุดของกรีนพีซญี่ปุ่น พบปริมาณรังสีในบ้านเรือนหลายหลังในหมู่บ้านอิตาเตะอยู่ในระดับสูงกว่าที่รัฐบาลระบุถึงความเสี่ยงของการปนเปื้อนรังสีในระยะยาว ซึ่งหมายถึงระดับรังสีที่วัดได้รายปีและตลอดชั่วอายุขัย ที่จะส่งผลกระทบในระยะยาวต่อประชาชนผู้กลับเข้าไป บ้านหลายหลังในหมู่บ้านอิตาเตะ พบปริมาณรังสีมากพอที่คนๆหนึ่งต้องเอ็กซเรย์ปอดทุกสัปดาห์
รัฐบาลญี่ปุ่นแถลงการณ์ยืนยันเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมาว่า ยังไม่มีการประเมินความเสี่ยงจากการรับรังสีตลอดอายุขัยของประชาชนที่กลับเข้าไปอาศัยอยู่ที่หมู่บ้านอิตาเตะ
"เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ในโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ของญี่ปุ่นส่วนใหญ่ไม่ทำงาน ตลอดหกปีที่ผ่านมา หลังจากเกิดหายนะภัยฟุกุชิมะ แต่แทนที่รัฐบาลจะเรียนรู้จากหายนะภัยดังกล่าว รัฐบาลนายอาเบะกลับผลักดันให้เดินเครื่องเตาปฏิกรณ์อีกครั้ง นโยบายนี้ทำให้ญี่ปุ่นตกอยู่ในวงจรของพลังงานที่อันตรายและสกปรกไปอีกหลายสิบปี" โยเนดะ กล่าว "เราจำเป็นต้องลด ละ เลิกพลังงานนิวเคลียร์โดยเร่งด่วนและมุ่งสู่พลังงานหมุนเวียนที่เต็มร้อยซึ่งเป็นแนวทางเดียวที่ปลอดภัยและสะอาด และตอบสนองความต้องการพลังงานของญี่ปุ่นได้อย่างแท้จริง"
กรีนพีซเรียกร้องให้รัฐบาลญี่ปุ่น จัดสรรความช่วยเหลือทางการเงินอย่างเต็มรูปแบบให้กับผู้ประสบภัย และเปิดเผยข้อมูลอย่างโปร่งใสทั้งหมด เกี่ยวกับความเสี่ยงต่างๆ เพื่อผู้ประสบภัยเหล่านั้น ไม่ต้องตกอยู่ในภาวะที่ถูกบังคับให้ย้ายกลับ ด้วยเหตุผลที่ต้องการเงินช่วยเหลือ หรือได้รับข้อมูลด้านความปลอดภัยมาอย่างผิดๆ รัฐบาลต้องกำหนดมาตรการลดความเสี่ยงจากการรับรังสีให้อยู่ในระดับต่ำที่สุด เพื่อปกป้องสุขภาพของประชาชนและ เพื่อให้ประชาชนตัดสินใจได้เองว่า จะกลับหรือไปตั้งถิ่นใหม่ โดยไม่ต้องถูกข่มขู่ทางกฏหมาย หรือถูกบีบบังคับทางการเงิน [3]
วันนี้ กรีนพีซได้ยื่นจดหมายลงรายละเอียดเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิมนุษยชนของผู้ประสบภัยฟุกุชิมะ ให้รัฐบาลญี่ปุ่น ผ่านสถานทูตญี่ปุ่นในกรุงเฮลซิงกิ ปารีส บรัสเซลล์ส์ เซ้นท์ปีเตอร์สเบิร์ก และ เวียนนาหมายเหตุ:
[1] ผลกระทบที่ไม่เท่าเทียม: การละเมิดสิทธิมนุษยชนของผู้หญิงและเด็ก และ หายนะภัยนิวเคลียร์ฟูกุชิมะไดอิจิ
[2] ไม่อาจกลับคืนเป็นอย่างเดิม: กุมภาพันธ์ 2560 - กรีนพีซ กรณีตัวอย่างหมู่บ้านอิตาเตะ
[3] กรีนพีซสากล รณรงค์ร่วมลงชื่อสนับสนุนสิทธิของผู้ประสบหายนะภัยนิวเคลียร์
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit