ดร.อัครวิทย์ กาญจนโอภาษ รองเลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และ นวัตกรรมแห่งชาติ (สวทน.) และซีอีโอเมืองนวัตกรรมอาหาร กล่าวว่า จากมติในที่ประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 22 กันยายน 2558 เห็นชอบให้จัดตั้งโครงการ "เมืองนวัตกรรมอาหาร" (Food Innopolis) ในลักษณะที่ เป็น Super Cluster ซึ่งจะได้รับสิทธิประโยชน์สำหรับการส่งเสริมการลงทุนเป็นพิเศษในพื้นที่เป้าหมาย ถือเป็น นโยบายเร่งด่วนในการสร้างศักยภาพด้านการลงทุนและพัฒนาระบบ เศรษฐกิจของประเทศ ให้มีความสามารถ ในการแข่งขัน โดยเมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 2559 คณะรัฐมนตรี ได้มีมติเห็นชอบให้กระทรวงวิทยาศาสตร์ และ เทคโนโลยี เป็นหน่วยงานหลักในการขับเคลื่อนการจัดตั้ง และดำเนินการเมืองนวัตกรรมอาหาร ร่วมกับหน่วย งานที่เกี่ยวข้อง "เพื่อให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการวิจัยพัฒนาและนวัตกรรมสำหรับอุตสาหกรรม อาหาร" ซึ่งปัจจัยที่สำคัญในการขับเคลื่อนดังกล่าว คือนักวิจัย และกลไกสนับสนุนให้นักวิจัยในภาครัฐและเอกชน ได้ทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
โดยกรอบยุทธศาสตร์ของเมืองนวัตกรรมอาหาร จะเน้นการส่งเสริมและสนับสนุนบริษัทอาหาร ในการ เพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์และบริการ และความสามารถในการแข่งขันด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยีขั้นสูง รวมถึงการ เป็นศูนย์บริการแบบเบ็ดเสร็จและบริการครบวงจรด้วย Service Platform ที่ประกอบไปด้วย Global Network, Facilities & W=Equipment, Nutrition & Food Safety, Talent Mobility, Academy, FDA อีกทั้งยังส่งเสริมการ เชื่อมโยงโครงสร้างพื้นฐานด้านมาตรฐานวิเคราะห์ทดสอบและความปลอดภัยด้านอาหาร โดยอาศัยกลไก ประชารัฐ เชื่อมโยงกับผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมอาหาร และอุตสาหกรรมเกี่ยวเนื่องกับหน่วยงานวิจัย เพื่อ สร้างนวัตกรรมอาหาร โดยระบบมีความปลอดภัยสูง เพื่อรักษาข้อมูลความลับและการจัดการทรัพย์สินทาง ปัญญา ตามมาตรฐานสากล และการส่งเสริมสนับสนุนให้บุคลากรที่เชี่ยวชาญด้านการวิจัยพัฒนา (Talents) จาก ทั่วโลก มาร่วมวิจัยพัฒนากับบริษัทและหน่วยงานในเมืองนวัตกรรมอาหาร รวมถึงพัฒนาบุคลากรด้านนวัตกรรมอาหาร
ผศ.ดร. พูลศักดิ์ โกษียาภรณ์ ผู้อำนวยการด้านพัฒนากำลังคนสะเต็ม สวทน. กล่าวเสริมถึงนโยบายส่ง เสริมบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม (วทน.) จากมหาวิทยาลัยและสถาบันวิจัยภาครัฐ ไป ปฏิบัติงานเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในภาคเอกชน (Talent Mobility) ทำให้สามารถปลดล็อกให้นักวิจัย และ นักเรียนทุนมาทำงานในภาคเอกชนโดยสามารถนับอายุงานและการใช้ทุนได้ และยังสามารถนำผลการปฏิบัติงาน ในภาคเอกชนไปใช้ในการขอตำแหน่งทางวิชาการได้ตามเกณฑ์การตกลงของต้นสังกัด ซึ่งปัจจุบันมีการเคลื่อน ย้ายบุคลากรไปยังองค์กรเอกชนแล้วจำนวน 568 คนโดยมีภาคเอกชนที่เข้าร่วมโครงการ 177 บริษัท และมี มหาวิทยาลัยทั่วประเทศที่เข้าร่วมแล้วกว่า 21 แห่ง
ดังนั้น เมืองนวัตกรรมอาหาร จึงได้กำหนดจัดงาน Talent Mobility for Food Innovation 2017 ระหว่าง วันที่ 24-25 มีนาคม 2560 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ภายใต้แนวคิด "ยกระดับเมืองอุตสาหกรรมอาหาร ไทย ด้วยการวิจัยและพัฒนา" เพื่อสร้างการรับรู้ และตระหนักถึงศักยภาพของบุคลากร ด้านอาหารของไทย เพื่อ ส่งเสริมให้เกิดการเผยแพร่ผลงานวิจัย หรือเทคโนโลยีที่สามารถต่อยอดในเชิงพาณิชย์ได้ และเพื่อส่งเสริมให้เกิด ความร่วมมือด้านการทำวิจัยระหว่างผู้ประกอบการและนักวิจัย โดยคาดหวังกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมงาน 400 คน ได้แก่ กลุ่มผู้ประกอบการภาคเอกชนผู้มีบทบาทต่อการสนับสนุนการพัฒนาอุตสาหกรรมอาหาร เช่น หน่วยงาน ให้ทุนวิจัย มหาวิทยาลัย หน่วยงานภาครัฐ ที่สนับสนุนการวิจัยทั้งในและนอกกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ นักเรียน ทุนกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ และสื่อมวลชน เป็นต้น
การจัดงาน Talent Mobility for Food Innovation 2017 จะมีทั้งปาฐกถาพิเศษการบรรยายและการเสวนา เพื่อส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาในอุตสาหกรรมอาหาร การอบรมเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร การจัดแสดง นิทรรศการข้อมูลนักวิจัย และหน่วยงานสนับสนุน รวมถึงการจัดพื้นที่พบกันระหว่างผู้ประกอบการ นักวิจัย จากภาครัฐ และหน่วยงานสนับสนุน (Matching Zone) กว่า 15 จุด เพื่อส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือด้านการทำ วิจัย ซึ่งจะมีเจ้าหน้าที่ประสานการพบปะหารือ การให้คำปรึกษาด้านการขอรับการสนับสนุนจากแหล่งทุนวิจัย ภาครัฐ อาทิ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) สำนัก งานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) เป็นต้น รวมถึงจะมีพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ "โครงการส่งเสริมการเพิ่มศักยภาพการวิจัยและพัฒนาของ ประเทศและการยกระดับความสามารถการแข่งขันในภาคเอกชนด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและ นวัตกรรม" ระหว่างสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) และสำนักงานคณะกรรมการนโยบาย วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมแห่งชาติ (สวทน.) ซึ่งจะทำให้มีแหล่งเงินทุนสนับสนุนร่วมหรือความร่วมมือเครือข่าย สำหรับการเคลื่อนย้ายบุคลากรในโครงการ Talent Mobility เพิ่มเติม อีกทั้งผู้ประกอบการจะมีทางเลือกในการ รับทุนวิจัยตามลักษณะงานวิจัยได้มากขึ้น ผู้ประกอบการที่สนใจค้นหานักวิจัย รวมถึงนักวิจัย ที่สนใจเข้าร่วม โครงการหรือผู้สนใจเข้าร่วมงานสามารถลงทะเบียนได้ที่ http://register.sti.or.th/TMFood2017
"นอกจากนี้ เมืองนวัตกรรมอาหารยังได้จัดทำเว็บไซต์ FI-Databank เพื่อเพิ่มโอกาสให้ภาคอุตสาหกรรม สามารถเข้าถึงงานวิจัยพัฒนาและนวัตกรรม โครงสร้างพื้นฐานนักวิจัย และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง ได้อย่างมี ประสิทธิภาพ โดยจะเชื่อมโยงกันระหว่างภาคอุตสาหกรรม และการวิจัยในการสร้างมูลค่าเพิ่ม และการใช้ ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์จากผลงานวิจัย" ดร.อัครวิทย์ กล่าว
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit