นายธีรรัตน์ ปัณฑรสูตร กรรมการผู้จัดการของ SYMC กล่าวว่า "การที่มีบริษัทที่ประกอบธุรกิจเชื่อมต่อโครงข่ายระดับโลกอย่าง TIME เข้ามาเป็นพันธมิตรกับบริษัท จะช่วยให้โอกาสในการเติบโตในอนาคตของ SYMC เข้มแข็งขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ผมมองเห็นถึงโอกาสในการเติบโตของ SYMC และการที่มีพันธมิตรที่ดีในเวลาที่เหมาะสม จะช่วยเพิ่มความสามารถของเราในการเติบโตไปในอนาคตอย่างมาก
เมื่อพิจารณาจากประสบการณ์ ความสามารถ และผลการดำเนินงานย้อนหลังในอดีตของ TIME ในการให้บริการเชื่อมต่อโครงข่ายทั้งในและระหว่างประเทศ รวมทั้งให้บริการด้านการจัดเก็บข้อมูล (Data Center) แก่ลูกค้า Wholesale และลูกค้าองค์กร ผมเชื่อว่า ธุรกรรมในครั้งนี้จะเป็นประโยชน์ต่อทั้งบริษัทและผู้ถือหุ้นของบริษัทในระยะยาว เนื่องจากหลังจากTIME เข้ามาเป็นพันธมิตรทางธุรกิจและผู้ถือหุ้นใหญ่ของ SYMC แล้ว ผมเชื่อว่า TIME จะช่วยเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันของบริษัท ทำให้บริษัทสามารถก้าวขึ้นสู่การเป็นหนึ่งในผู้ให้บริการโครงข่ายที่มีคุณภาพสูงชั้นนำของประเทศและสามารถเชื่อมต่อโครงข่ายสู่ต่างประเทศผ่านโครงข่ายระหว่างประเทศของ TIME
นอกจากนี้ เงินเพิ่มทุนประมาณ 1,000 ล้านบาทจากการทำ Right Offering จะช่วยเสริมความแข็งแกร่งทางการเงิน และช่วยให้บริษัทมีเงินลงทุนที่เพียงพอต่อการลงทุนเพิ่มเติมในโครงการใหม่ๆ ในอนาคต หลังจากธุรกรรมดังกล่าวเสร็จสมบูรณ์ทั้งหมด ทางผู้บริหารของ SYMC และ TIME จะร่วมกันพิจารณาโอกาสในการลงทุนด้านต่างๆ ของบริษัท เพื่อขยายและพัฒนาธุรกิจเดิม นำเสนอผลิตภัณฑ์ การให้บริการใหม่ๆ และกลุ่มลูกค้าใหม่ๆ เพื่อส่งเสริมการเติบโตระยะยาวของบริษัทเป็นสำคัญ"
นายอาฟซอล อับดุลราฮิม ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่ม TIME กล่าวว่า "TIME ชื่นชมความสำเร็จของ SYMC มาเป็นระยะเวลานาน และเรามีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ตอนนี้ทั้งสองบริษัทสามารถผนึกความเป็นพันธมิตรเข้าด้วยกัน ผ่านการเสนอเข้าลงทุนเป็นพันธมิตรทางธุรกิจใน SYMC ซึ่ง TIME ตื่นเต้นอย่างมากกับศักยภาพในการเติบโตของตลาดโทรคมนาคมในประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง แผนแม่บททางด้านเศรษฐกิจดิจิตอล (Digital Economy Masterplan) และการพัฒนาประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน เราตั้งตารอที่จะเริ่มทำงานร่วมกับผู้บริหารของ SYMC ในการพัฒนา และพา SYMC ก้าวไปสู่อีกระดับ นอกจากนี้ผมรู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ทราบว่า กลุ่มผู้ถือหุ้นใหญ่ของ SYMC ประมาณร้อยละ 47 ได้แสดงความสนับสนุนในการเข้าลงทุนเป็นพันธมิตรทางธุรกิจของเราในครั้งนี้"ข้อความที่มีลักษณะเป็นการคาดการณ์เหตุการณ์ในอนาคต (Forward-Looking Statements)
เนื้อความที่ปรากฏในเอกสารฉบับนี้ระบุถึงข้อความที่มีลักษณะเป็นการคาดการณ์เหตุการณ์ในอนาคต ซึ่งสะท้อนมุมมองปัจจุบันของผู้บริหารของ SYMCและ/หรือ TIME ที่เกี่ยวกับการคาดการณ์ถึงเหตุการณ์ในอนาคต หรือข้อความโดยคำจำกัดความว่า "คาดหวังว่า" "เชื่อว่า" "คาดการณ์ว่า" "มีแผนจะ" "ตั้งใจ" "อาจจะ" "วางแผน" "ควรจะ" และคำหรือข้อความอื่นใดที่มีความหมายคล้ายคลึงกัน ซึ่งรวมไปถึงข้อความใดๆ ที่ไม่ได้อ้างอิงจากความเป็นจริงที่เกิดขึ้นในอดีต ถือว่ามีความตั้งใจที่จะคาดการณ์ถึงเหตุการณ์ในอนาคตโดยคำจำกัดความหรือข้อความดังกล่าวมีความเสี่ยงและความไม่แน่นอนอน โดยส่วนใหญ่ยากต่อการคาดการณ์และอยู่เหนือการควบคุมของ TIME และ SYMC ซึ่งรวมถึงแต่ไม่จำกัดเพียง สภาพเศรษฐกิจและอุสาหกรรมโดยทั่วไป การแข่งขันจากคู่แข่ง วิธีการขาย/จาหน่ายสินค้าและบริการ การเปลี่ยนแปลงของความต้องการลูกค้า ลูกค้าและคู่ค้า การเปลี่ยนแปลงค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน การเปลี่ยนแปลงของนโยบายรัฐบาลและความต่อเนื่องของแหล่งเงินทุน และเงื่อนไขที่จาเป็นอื่นๆในการสนับสนุนบริษัทในอนาคต ข้อความที่มีลักษณะดังกล่าวอ้างอิงจากแผนปัจจุบันของบริษัทการคาดการณ์และการประมาณการในปัจจุบันซึ่งไม่ควรใช้อ้างอิงเพื่อประกอบการ SYMCและ/หรือTIMEไม่มีภาระผูกพันในการแก้ไขหรือปรับปรุงข้อความที่เป็นการคาดการณ์ในอนาคตดังกล่าวข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับบริษัท ซิมโฟนี่ คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) (SYMC)
SYMC เป็นบริษัทประกอบธุรกิจเป็นผู้ให้บริการวงจรสื่อสารความเร็วสูงภายในประเทศ โดยเน้นการใช้โครงข่ายเคเบิลใยแก้วนาแสงเป็นโครงข่ายหลัก และให้บริการเกี่ยวเนื่องอื่นๆ เช่น การบริหารจัดการโครงข่ายใยแก้วนาแสงปลายทาง การบริการติดตั้งโครงข่ายและอุปกรณ์ SYMCจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2553 โดยปัจจุบันมีมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดที่ 3,872 ล้านบาท (ข้อมูล ณ วันที่ 6 มี.ค. 2560) SYMC ให้บริการที่หลากหลายในประเทศได้แก่ internet access, private network, digital broadcast, local loop for international และ access network รวมไปถึงให้บริการระหว่างประเทศได้แก่ internet private leased circuits และ โครงข่ายเคเบิลใต้น้ำ ซึ่งจะพร้อมให้บริการในช่วงกลางปี 2560
บริษัทเป็นบริษัทเอกชนรายแรกของประเทศไทยที่ได้รับอนุญาตให้ดาเนินการสร้างระบบเคเบิลใต้น้ำระหว่างประเทศ โดยใช้ชื่อ โครงการเคเบิลใต้น้ำMCT (MCT Submarine Cable System) ซึ่งเกิดจากความร่วมมือของ 3 ประเทศ ได้แก่ มาเลเซีย กัมพูชาและไทย มีระยะทางกว่า 1,300 กิโลเมตร โดยมีสถานีเคเบิลโมฬีภาคพื้นดินที่จังหวัดระยอง โดยคาดว่า โครงการเคเบิลใต้น้ำ MCT จะก่อสร้างแล้วเสร็จและพร้อมเปิดให้บริการได้ประมาณกลางปี2560 เพื่อรองรับการสื่อสารใน อนาคตที่ต้องมีประสิทธิภาพสูงขึ้นด้วยต้นทุนที่ต่ำลง
ในปี 2559 บริษัทมีรายได้ 1,388.7 ล้านบาท กำไรก่อนหักค่าใช้จ่ายดอกเบี้ย ภาษี ค่าเสื่อม และค่าตัดจำหน่าย (EBITDA) 636.5 ล้านบาท (อัตราส่วน กำไรก่อนหักค่าใช้จ่ายดอกเบี้ย ภาษี ค่าเสื่อม และค่าตัดจำหน่ายร้อยละ 45.8) และกำไรสุทธิที่ 99.4 ล้านบาท (อัตราส่วนกำไรสุทธิร้อยละ 7.2) นอกจากนี้ SYMC มีสินทรัพย์รวม 4,036.9 ล้านบาท เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด 81.4 ล้านบาท อัตราส่วนหนี้สินต่อทุน 1.88 เท่า ณ วันที่ 31 ธันวาคม2559 สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมสามารถเข้าชมได้ที่เวปไซด์ของบริษัท: www.symphony.net.th
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit