ประกันชีวิตถือเป็นเครื่องมือในการสร้างหลักประกันให้กับชีวิต ขณะที่การประกันวินาศภัยนับเป็นกลไกสำคัญในการบริหารทรัพย์สิน ด้วยเหตุนี้ กองทุนประกันชีวิตและกองทุนประกันวินาศภัยจึงมีบทบาทหน้าที่สำคัญในการคุ้มครองสิทธิประโยชน์ผู้เอาประกันภัย ในกรณีบริษัทถูกเพิกถอนใบอนุญาตประกอบธุรกิจ พร้อมส่งเสริมธุรกิจประกันภัยให้ยั่งยืนและมีเสถียรภาพยิ่งขึ้น ซึ่งในปีนี้ได้ดำเนินการครบรอบ 9 ปี ในการคุ้มครองสิทธิผู้เอาประกันภัย
โดยกองทุนประกันชีวิตได้กำหนดแผนยุทธศาสตร์ 3 ปี (2560 - 2562) โดยมีมาตรการหลักประกอบด้วย
"สำหรับในปีนี้คาดว่าธุรกิจประกันชีวิตจะยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่อง เพราะปัจจุบันมีประชาชนถือครองกรมธรรม์ประกันชีวิตเพียง 38% จากประชากรกว่า 65 ล้านคน ขณะที่หลายประเทศในทวีปเอเชียมีอัตราถือครองเกิน100% แสดงให้เห็นว่าตลาดประกันชีวิตในไทยยังขยายตัวได้ดี"
ด้าน นางกมลวรรณ กีรติสมิต ผู้จัดการกองทุนประกันวินาศภัย เปิดเผยว่า ขณะนี้มีบริษัทประกันวินาศภัยถูกเพิกถอนใบอนุญาต จำนวน 8 บริษัท ประกอบด้วย บจก.สัมพันธ์ประกันภัย บจก. เอ.พี.เอฟ. อินเตอร์เนชั่นแนลอินชัวร์รันส์ บจก.วิคเตอรี่ประกันภัย (ประเทศไทย) บจก.ลิเบอร์ตี้ประกันภัย บจก.ส่งเสริมประกันภัย บมจ.ยูเนี่ยนอินเตอร์ประกันภัย บมจ.ศูนย์สุขภาพประเทศไทย และ บมจ.สัญญาประกันภัย ส่งผลให้มีประชาชนเข้ายื่นคำร้องต่อกองทุนประกันวินาศภัย และกรมบังคับคดี ประมาณ 25,000 คำขอ
โดยในปีนี้มีคำขอที่ผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการบริหารกองทุนประกันวินาศภัยแล้ว จำนวน 8,419 คำขอ รวมเป็นเงินที่ต้องชำระจำนวน 299,545,706 บาท กองทุนฯ ได้ดำเนินการส่งจดหมายแจ้งจำนวนเงินที่เจ้าหนี้มีสิทธิได้รับพร้อมเอกสารแนบเรียบร้อยแล้ว ซึ่งตอนนี้อยู่ในระหว่างการดำเนินงานรวบรวมและตรวจสอบเอกสารตอบกลับจากเจ้าหนี้ เพื่อดำเนินการชำระเงินให้เจ้าหนี้ที่ได้รับผลกระทบอย่างเร็วที่สุด
สำหรับทิศทางธุรกิจประกันวินาศภัยปี 2560 คาดว่าจะมีการเติบโตในอัตรา 2-3% จากสิ้นปี 2559 ที่คาดว่าจะโตที่อัตรา 2% โดยมีปัจจัยสนับสนุนการเติบโตหลักๆ มาจากการเติบโตทางเศรษฐกิจ(จีดีพี) ซึ่งตลาดคาดการณ์ไว้ประมาณ 3-4% โดยเฉพาะปัจจัยจากการลงทุนโครงการภาครัฐและการเบิกจ่าย ขณะเดียวกันแนวโน้มภาคการส่งออกและภาคการท่องเที่ยวมีสัญญาณดีขึ้นสำหรับแผนยุทธศาสตร์กองทุนประกันวินาศภัย ระยะ 3 ปี ประกอบด้วย มาตรการที่ 1 บริหารการจัดการด้านการเงินให้มีประสิทธิภาพ: คุ้มครองสิทธิประโยชน์ทางด้านการเงินของเจ้าหนี้บริษัทประกัน
วินาศภัยที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาตเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ มาตรการที่ 2 เสริมสร้างความรู้กองทุนประกันวินาศภัยของประชาชนผู้มีส่วนได้เสีย มาตรการที่ 3 การบริหารจัดการภายในกองทุนประกันวินาศภัย และมาตรการที่ 4 ด้านนวัตกรรมและการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของกองทุนประกันวินาศภัย
"กองทุนประกันวินาศภัย มุ่งเน้นในการให้ความสำคัญกับการดำเนินงานตามวิสัยทัศน์ พันธกิจ และเป้าประสงค์ ดังกล่าว ให้มีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุดต่อระบบธุรกิจเพื่อสร้างความเชื่อมั่นในการคุ้มครองสิทธิประโยชน์และส่งเสริมธุรกิจประกันวินาศภัยให้ยั่งยืน" นางกมลวรรณ กล่าว
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit