นายกฤษฎาฯ สรุปวา "การเบิกจ่ายงบประมาณของรัฐบาลในช่วง 5 เดือนแรกของปีงบประมาณกว่า 1.38 ล้านบาท ซึ่งสูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้ว แสดงถึงความพยายามของรัฐบาลในการเร่งรัดเบิกจ่ายของงบประมาณ และในขณะเดียวกันรัฐบาลยังคงบริหารเงินคงคลังให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม"
ฐานะการคลังของรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสดในช่วง 5 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2560
หน่วย: ล้านบาท
5 เดือนแรก
เปรียบเทียบ
ปีงบประมาณ 2560
ปีงบประมาณ 2559
จำนวน
ร้อยละ
1. รายได้
852,823
877,594
(24,771)
(2.8)
2. รายจ่าย
1,382,079
1,311,426
70,653
5.4
3. ดุลเงินงบประมาณ
(529,256)
(433,832)
(95,424)
(22.0)
4. ดุลเงินนอกงบประมาณ
(37,903)
(39,276)
1,373
3.5
5. ดุลเงินสดก่อนกู้ (3+4)
(567,159)
(473,108)
(94,051)
(19.9)
6. เงินกู้เพื่อชดเชยการขาดดุล
234,330
313,023
(78,693)
(25.1)
7. ดุลเงินสดหลังกู้ (5+6)
(332,829)
(160,085)
(172,744)
(107.9)
8. เงินคงคลังปลายงวด
108,471
266,097
(157,626)
(59.2)
หมายเหตุ : การบริหารเงินคงคลังหรือเงินสดที่รัฐบาลถือครองต้องมีเพียงพอสำหรับการใช้จ่าย แต่ไม่มากจนก่อให้เกิดภาระดอกเบี้ยจนเกินไป ระดับของเงินคงคลังที่เหมาะสมจึงขึ้นอยู่กับการนำส่งรายได้และภาระรายจ่ายในห้วงเวลาอันใกล้ ประกอบกับความสามารถในการกู้ยืมเพื่อเติมเต็มเงินคงคลัง กล่าวคือ หากในห้วงเวลาอันใกล้มีรายได้นำส่งเพียงพอสำหรับรายจ่าย รัฐบาลย่อมไม่จำเป็นต้องถือครองเงินคงคลังเกินเหมาะสม
ที่มา: กรมบัญชีกลาง และสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง
รายละเอียดเพิ่มเติม ดูได้จาก www.fpo.go.th สำนักนโยบายการคลัง สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง
โทร 0 2273 9020 ตอ 3538