ตัวอย่างที่กล่าวข้างต้นเป็นการแสดงให้เห็นถึงการปฏิวัติในโลกของการผลิตเป็นอย่างดี ซึ่งนับเป็นการปฏิวัติครั้งใหญ่หลังจากปี 1970 หรือที่รู้จักกันดีในนามการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่สาม ที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างมากในการผลิตตั้งแต่การออกแบบ การควบคุม และการนำไปปฏิบัติจริง และการเปลี่ยนแปลงนี้ได้ส่งผลถึงผู้ใช้ปลายทางของห่วงโซ่อุปทานคือผู้บริโภค ในปัจจุบัน เศรษฐกิจยุค อีคอมเมิร์ซ ได้ก่อให้เกิดการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่สี่ หรือที่เรียกว่า ธุรกิจยุคอุตสาหกรรม 4.0 ซึ่งผู้ดำเนินธุรกิจต่างๆ ต้องเร่งปรับตัวตามให้ทัน
อุตสาหกรรม 4.0 เป็นสัญลักษณ์ของการนำความสามารถด้านดิจิตัลใหม่ๆ มาประยุกต์ใช้ในการผลิตรวมถึงในแต่ละกระบวนการของห่วงโซ่คุณค่า หรืออย่างง่ายที่สุด คือการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีใน 1 ขั้นตอน เช่น เหมืองทองในแอฟริกาใช้ประโยชน์จากบิ๊ก ดาต้า ที่ได้จากอุปกรณ์ตรวจจับสัญญาณเพื่อค้นหาจุดบกพร่องในกระบวนการผลิต โดยเมื่อแก้ไขข้อบกพร่องนี้แล้วสามารถเพิ่มรายได้ถึง 37% หรือ 20ล้านเหรียญสหรัฐ ต่อปี
อย่างไรก็ตาม บริษัทต่างๆ ควรมองที่ห่วงโซ่คุณค่าของตนเองแบบองค์รวม เพื่อจะประเมินถึงศักยภาพของบริษัทในอุตสาหกรรม 4.0 ด้วยประสบการณ์สี่ทศวรรษในการสนับสนุนห่วงโซ่อุปทานซัพพลายเชนของลูกค้า ธุรกิจของเราจึงต้องจับตามองว่าการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้จะกระทบกับห่วงโซ่อุปทานทุกๆที่อย่างไร ดิฉันเชื่อว่าการกลับมาคิดถึงการจัดการห่วงโซ่อุปทานเป็นเรื่องจำเป็นอย่างยิ่งหากผู้ผลิตและผู้ค้าปลีกต้องการประสบความสำเร็จในยุคอุตสาหกรรม 4.0
ลูกค้าเป็นศูนย์กลาง
หากพิจารณาในแง่ของแนวโน้มของรายได้จากประสิทธิภาพของต้นทุน การจัดการห่วงโซ่อุปทานนับมีความสำคัญอย่างยิ่ง ในปัจจุบันการวิเคราะห์ข้อมูลจากบิ๊กดาต้าและความคาดหวังที่เปลี่ยนแปลงของลูกค้า ทำให้การคาดการณ์ความต้องการมีความซับซ้อนยิ่งขึ้น ซึ่งหมายถึงห่วงโซ่อุปทานในปัจจุบันมีบทบาทเพิ่มเติมที่สำคัญในการสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้ารวมถึงการรักษาลูกค้าเดิม
ทุกหน่วยงานของผู้ประกอบการลอจิสติกส์ตั้งแต่ศูนย์หน้าไปถึงแผนกสนับสนุน ไม่ว่าจะเป็นการผลิต คลังสินค้า การตลาด ฝ่ายขาย บัญชี การจัดส่งและการคืนสินค้า จึงต้องทำงานร่วมกันเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของห่วงโซ่อุปทานที่ยังคงควบคุมต้นทุนได้รวมถึงทำให้ลูกค้าพึงพอใจ
ตอบรับนวัตกรรม
โดยปกติแล้ว การควบรวมหน่วยงานต่างๆ ของธุรกิจค่อนข้างซับซ้อน โดยผลการวิจัยล่าสุดพบว่าผู้บริหาร 7% เชื่อว่าพวกเขาได้สร้างธุรกิจแบบครบวงจร ที่พร้อมสำหรับอุตสาหกรรม 4.0 โดยที่เข้าถึงเทคโนโลยีที่เหมาะสมเป็นเพียงส่วนหนึ่งที่ทำให้ธุรกิจประสบความสำเร็จ ด้วยเหตุนี้เองธุรกิจต่างๆ ยังคงต้องสร้างวัฒนธรรมที่พร้อมรับ นวัตกรรมใหม่ๆ รวมถึงบุคลากรตั้งแต่ระดับผู้บริหารระดับสูงจนกระทั่งถึงพนักงานทั่วไปที่พร้อมจะนำนวัตกรรมมาประยุกต์ในการทำงานเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงของบริษัท
อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการธุรกิจควรจะเปรียบเทียบระหว่างความคุ้มค่าและอุปสรรคในการนำลอจิสติกส์มาปรับใช้เพื่อให้ธุรกิจพร้อมในยุคอุตสาหกรรม 4.0 ซึ่งผลประโยชน์ที่อาจจะได้รับอาจจะมากกว่าอุปสรรคก็เป็นได้ไม่ว่าธุรกิจนั้นจะเล็กหรือใหญ่ก็ตาม ตัวอย่างเช่น แอร์บัส บริษัทผู้ผลิตเครื่องบินซึ่งลงทุนมหาศาลในการสร้าง"โรงงานเพื่ออนาคต" หรือ "Factory of the Future" โดยการใช้กระบวนการผลิตเครื่องบินเสมือนจริงด้วยคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลและหุ่นยนต์ที่ทำงานร่วมกัน ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นคือการผลิตอัจฉริยะ เพราะแอร์บัสสามารถจะผลิตเครื่องบินได้ตามความต้องการที่เพิ่มขึ้นได้อย่างยั่งยืน
รูปแบบของการแข่งขันในอนาคต
แน่นอนว่า สิ่งที่กล่าวมาทั้งหมดเป็นเพียงตัวอย่างบางส่วนที่แสดงให้เห็นถึงการนำเทคโนโลยีมาใช้ในห่วงโซ่อุปทาน เทคโนโลยีต่างๆ เช่น หน้าจอสัมผัส หุ่นยนต์ และเทคโนโลยีเออาร์ (Augmented Reality) สามารถนำมารวบรวมและดัดแปลงเพื่อทำให้เกิดห่วงโซ่อุปทานที่จะสนองความต้องการของลูกค้า อย่างไรก็ตาม สิ่งสำคัญไม่ได้อยู่ที่เทคโนโลยีที่บริษัทใช้เพียงอย่างเดียว แต่เป็นการเลือกทำงานกับผู้ผลิต การใช้เทคโนโลยี และผู้ให้บริการลอจิสติกส์เพื่อทำให้ห่วงโซ่อุปทานสนองความต้องการของตลาด
หากสามารถนำเทคโนโลยีมาใช้อย่างถูกต้อง บริษัทต่างๆ จะสามารถประสบความสำเร็จในธุรกิจ ลดเวลาในการเข้าถึงตลาด ลดต้นทุน เพิ่มผลผลิตและรายได้ๆ ถึงแม้จะลงทุนมากก็ตาม โดยผู้ตอบแบบสอบถามกว่าครึ่งคาดว่าจะกำไรจากการลงทุนคืนภายใน 2 ปี
กล่าวโดยสรุปคือปัจจุบันดิจิตัลมีบทบาทในธุรกิจมากขึ้น ดังนั้น บริษัทต่างๆ ควรเตรียมความพร้อมของห่วงโซ่อุปทานสำหรับอุตสาหกรรม 4.0เพื่อความได้เปรียบของการแข่งขันธุรกิจในอนาคต
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit