ทีมที่ชนะเลิศคือ ภาพยนตร์สั้นเรื่อง จิตแพทย์ จากมหาวิทยาลัยรังสิต โดยนางสาวธิดาทิพย์ พรรคพล, นายชนาธิป พิสุทธิ์เสรีวงศ์, นายณัฐวัตน์ วันดี ซึ่งนำเสนอเรื่องราวปัญหาของการใช้ชีวิตคู่ระหว่างมนุษย์กับเทคโนโลยี (มือถือ) ซึ่งทั้งสองก็ได้มาปรึกษาจิตแพทย์ และได้เล่าเรื่องราวและปัญหาที่เกิดจากการใช้งานเทคโนโลยี ความเหมาะสมในการใช้ การดูแลรักษา ที่บางครั้งมนุษย์ก็ละเลยและมองว่าเป็นเรื่องที่ไม่ได้แปลกที่ทั้งคู่ต่างให้เวลากับโทรศัพท์มือถือของตนเองมากกว่าการใช้ชีวิตคู่ร่วมกัน ในแง่มุมที่ประชดประชัน เสียดสีสังคมที่นิยมวัตถุ
ทีมรองชนะเลิศอันดับ ๑ คือ ภาพยนตร์สั้นเรื่อง My daughter จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยนางสาวปานตะวัน ตรงมณีธรรม, นางสาวอัยรินทร์ ฉายประเสริฐ, นางสาวสิริณัฏฐ์ ลิมปกาญจน์ภา ซึ่งนำเสนอผลงานผ่านชีวิตของคุณแม่และลูกสาวตัวน้อย เป็นคุณแม่ที่กำลังเกิดขึ้นในชีวิตจริงมากมายในปัจจุบัน เป็นคุณแม่ที่ติดโลก Social Media ที่ต้องอัพเดทชีวิตของตนเองทุกขณะผ่านโปรแกรม Facebook จนเกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันขึ้นมา
ทีมรางวัลรองชนะเลิศอันดับ ๒ คือภาพยนตร์สั้นเรื่อง ต้น จากมหาวิทยาลัยกรุงเทพ โดยนายปัญญา ชู, นางสาวอริสรา ธีรจิตต์, นางสาวพิชญาภา วิมุกตายน ซึ่งได้นำเสนอมุมมองเรื่องการใช้ Social Media ที่กำลังทำให้ทุกคนรับบทบาทการเป็นสื่อสารมวลชนจำเป็น แต่ขณะเดียวกันการเป็นนักข่าวมือถือแม้จะสื่อสารได้รวดเร็ว แต่แตกต่างอย่างมากกับสื่อมวลชนอาชีพที่มีหลักจรรยาบรรณวิชาชีพมากำกับ ภาพที่ออกมาจึงย้อนกลับให้สังคมได้มามองมุมนี้กันอีกครั้ง
นอกจากนั้นเป็นรางวัลชมเชย 9 รางวัล ประกอบด้วย ภาพยนตร์สั้นเรื่อง "หลงแอนด์ฟาวด์" จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, "ธนัทหันคอไม่ได้" จากมหาวิทยาลัยศิลปากร, "ขวัญข้าว" จากมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, "ใครผิด"จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, "ปลดล็อค ให้หลงรัก" จากมหาวิทยาลัยมหาสารคาม, "นิทานก่อนนอน" จากมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์, "Isn't Exam" จากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี, "ลับหลัง" จากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และ "จุดเริ่มต้น" จากมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครส่วนรางวัลขวัญใจมหาชน หรือ Popular Vote มีจำนวน 3 รางวัล อันดับหนึ่งเป็นผลงานภาพยนตร์สั้นเรื่อง "พรหนึ่งข้อ" จากมหาวิทยาลัยศรีปทุม อันดับที่สองคือ "คนโดนของ" จากมหาวิทยาลัยศรีปทุม และอันดับสามคือ "เน็ตไอดอล No!!" จากมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร
การจัดประกวดครั้งนี้นอกจากเป็นการฝึกทักษะในการผลิตสื่อดิจิทัลในรูปแบบภาพยนตร์สั้นแล้ว ยังเป็นครั้งแรกที่เปิดโอกาสให้กลุ่มนักศึกษาได้ผลิตในเนื้อหาการใช้เทคโนโลยีที่ถูกต้องเพื่อเผยแพร่ออกไปสู่สังคมวงกว้าง เพราะถึงแม้ประเทศไทยจะผลักดันให้ก้าวไปสู่การเป็น Thailand 4.0 และเกิดการใช้เทคโนโลยีในวงกว้าง มีการเติบโตขึ้นอย่างมากมาย แต่ก็จำเป็นที่จะต้องสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องในการใช้งานเทคโนโลยีเหล่านั้นไปพร้อมกันด้วย ดังนั้นสื่อที่จะสร้างความเข้าใจจำเป็นต้องมีการผลิตออกมาควบคู่ไปกับการเติบโตครั้งนี้การจัดครั้งนี้ถือเป็นปีแรกที่ สำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้เริ่มดำเนินงาน และมีแผนที่จะดำเนินการต่อเนื่องทุกปีต่อไป และต้องการผลักดันให้เกิดจำนวนนักศึกษาเข้าร่วมโครงการที่มากขึ้น เกิดสื่อที่หลากหลายเพื่อรับใช้สังคม รวมถึงการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์เข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมนี้ในทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นการให้ร่วมแสดงความคิดเห็น การกดไลค์หรือแชร์ไปยังสื่อต่างๆ ต่อไป
สำหรับผลงานทั้งหมดของผู้เข้าร่วมประกวดในปีนี้ สามารถติดตามหรือดาวน์โหลดมาชมได้ที่http://www.ondefilm.com/index.php/welcome/vdo