กลุ่มมิตรผล-สกว. ปั้นนักวิจัยสู่เศรษฐกิจชีวภาพ

09 Feb 2017
กลุ่มมิตรผล จับมือ สกว. ปั้นบุคลากรวิจัยทั้งป.โท-เอก เพื่อสร้างนวัตกรรมต่อยอดอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลไทยสู่เศรษฐกิจชีวภาพ โดยมุ่งเทคโนโลยีชีวภาพและการจัดการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม หวังผลักดันอุตสาหกรรมเป้าหมายใหม่แบบก้าวกระโดด สอดรับนโยบายประเทศไทย 4.0
กลุ่มมิตรผล-สกว. ปั้นนักวิจัยสู่เศรษฐกิจชีวภาพ

กลุ่มมิตรผล และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) โดยโครงการพัฒนานักวิจัยและงานวิจัยเพื่ออุตสาหกรรม (พวอ.) ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการสนับสนุนโครงการวิจัยด้านเทคโนโลยีชีวภาพสำหรับนักวิจัยระดับปริญญาโทและปริญญาเอก ณ สำนักงานใหญ่

กลุ่มมิตรผล เพื่อสร้างนวัตกรรมต่อยอดอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลไทยสู่เศรษฐกิจชีวภาพ ผลักดันอุตสาหกรรมเป้าหมายใหม่ (New S-Curve) เพื่อสร้างวงจรการเติบโตแบบก้าวกระโดดครั้งใหม่ มุ่งขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยี สอดคล้องกับนโยบายประเทศไทย 4.0

ศ. นพ.สุทธิพันธ์ จิตพิมลมาศ ผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) กล่าวว่า นับเป็นโอกาสอันดียิ่งที่ สกว. ได้ร่วมมือกับกลุ่มมิตรผลในการยกระดับการพัฒนาอุตสาหกรรมไทยด้วยงานวิจัย เพื่อตอบสนองนโยบายของประเทศที่จะก้าวเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจฐานความรู้ โดยเริ่มตั้งแต่

การพัฒนานวัตกรรมด้านการเกษตรสมัยใหม่ ที่ใช้การผสมผสานระหว่างความรู้ดั้งเดิมและเครื่องจักรกลอัจฉริยะเพื่อเพิ่มผลผลิตต่อพื้นที่ ตลอดจนการสร้างฐานเศรษฐกิจชีวภาพ (Bio Economy) และเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตร ให้อุตสาหกรรมไทยมีความเข้มแข็งและอยู่ในระดับที่สามารถแข่งขันในตลาดสากล ซึ่งการพัฒนานี้จะรวมถึงการพัฒนากำลังคนที่มีศักยภาพ และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง โดยทั้งสองหน่วยงานมีเจตนารมณ์ร่วมกันที่จะพัฒนาบุคลากรวิจัยระดับปริญญาโท ปริญญาเอก และผลงานวิจัยที่มีประสิทธิภาพให้แก่กลุ่มมิตรผล ซึ่งมีโจทย์วิจัยที่ชัดเจน เป็นการใช้ประสบการณ์เชี่ยวชาญในการบริหารจัดการงานวิจัยของ สกว. ภายใต้ทุน พวอ. และทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดของทุกฝ่ายให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยจะร่วมกันจัดสรรงบประมาณฝ่ายละ 50% ไม่จำกัดจำนวนทุน ภายในระยะเวลา 5 ปี นับตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2559 – 30 กันยายน 2564 (ปีงบประมาณ 2560 - 2564)ด้าน นายกฤษฎา มนเทียรวิเชียรฉาย ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่

กลุ่มมิตรผล กล่าวว่า วิสัยทัศน์ใหม่ของกลุ่มมิตรผลกำลังมุ่งสู่การขับเคลื่อนธุรกิจฐานชีวภาพ (Bio-Based) ในกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายใหม่ (New S-Curve) เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจให้เติบโตแบบก้าวกระโดด สอดรับนโยบายประเทศไทย 4.0 โดยกลุ่มมิตรผลให้ความสำคัญกับการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยี รวมถึงบุคลากรด้านการวิจัย ซึ่งถือเป็นหัวใจสำคัญของการต่อยอดธุรกิจในกลุ่มเศรษฐกิจชีวภาพ (Bioeconomy) ซึ่งจะช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับเศรษฐกิจไทย เกษตรกร และสิ่งแวดล้อม โดยความร่วมมือกับ สกว. ในครั้งนี้ เรามุ่งเน้นที่การพัฒนาบุคลากรการวิจัยด้านเทคโนโลยีชีวภาพ ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่สำคัญในการพัฒนาต่อยอดพืชเศรษฐกิจ รวมถึงเทคโนโลยีการจัดการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมที่มีความสำคัญต่ออุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลของไทย

สำหรับรายละเอียดความร่วมมือนั้น กลุ่มมิตรผลจะดำเนินการคัดเลือกนักวิจัยขององค์กรที่มีคุณสมบัติเหมาะสมเพื่อเข้ารับทุนศึกษาในระดับปริญญาโทและปริญญาเอก ตามหลักสูตรการเรียน โดยมี สกว. เป็นผู้สนับสนุนทุนการศึกษาวิจัยครึ่งหนึ่ง ตามมาตรฐานของโครงการพัฒนานักวิจัยและงานวิจัยเพื่ออุตสาหกรรม (พวอ.) ซึ่งความร่วมมือในครั้งแรกนี้กลุ่มมิตรผลมีนักวิจัยเข้าร่วมโครงการจำนวนทั้งสิ้น 10 คน แบ่งเป็นการศึกษาระดับปริญญาโท 8 คน และระดับปริญญาเอก 2 คน นอกจากนี้ เพื่อเป็นการเพิ่มโอกาสในเข้าถึงการศึกษาของบุคลากร กลุ่มมิตรผลยังได้ร่วมมือกับภาควิชาเทคโนโลยีชีวภาพ คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จัดทำหลักสูตรการเรียนแบบ Non-Coursework เป็นรายแรกในภาคอุตสาหกรรม ซึ่งจะช่วยเอื้ออำนวยให้นักวิจัยสามารถทำงานวิจัยไปพร้อมกับมีการเรียน

การสอนในองค์กร เสมือนเป็นการยกหลักสูตรในมหาวิทยาลัยมาอยู่ภายในสถานที่ทำงานทั้งนี้ โครงการวิจัยของนักวิจัยจากกลุ่มมิตรผลในระดับปริญญาโทและปริญญาเอกที่ได้รับการสนับสนุนตามขอบเขตงานวิจัยของ พวอ. มี 4 หัวข้อหลัก ได้แก่ การพัฒนาปรับปรุงพันธุ์อ้อยการพัฒนาเทคโนโลยีในด้านการแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์อ้อยและน้ำตาล การพัฒนาเพื่อเพิ่มมูลค่าของวัสดุเหลือทิ้งด้วยกระบวนการ Bio-Refineryการสร้างเสริมระบบการจัดส่งและจัดเก็บวัตถุดิบ ความร่วมมือของกลุ่มมิตรผล และ สกว.ในครั้งนี้ ไม่เพียงแต่จะช่วยสร้างผลงานวิจัยด้านเทคโนโลยีชีวภาพที่จะนำไปสู่การพัฒนาเศรษฐกิจคลื่นลูกใหม่อย่าง Bioeconomy เท่านั้น แต่ยังถือเป็นการสร้างกลุ่มนักวิจัยรุ่นใหม่ ซึ่งถือเป็นบุคลากรที่สำคัญในการช่วยขับเคลื่อนภาคอุตสาหกรรมของประเทศไปสู่นโยบายประเทศไทย 4.0 ซึ่งประเทศไทยยังคงต้องการบุคลากรด้านการวิจัยระดับปริญญาเอกอีกกว่า 4,000 คนต่อปี เพื่อขับเคลื่อนไปสู่เป้าหมายดังกล่าว

HTML::image( HTML::image( HTML::image(