ทั้งนี้โครงการประกวดวงดนตรีเพลงพระราชนิพนธ์ ชิงถ้วยพระราชทานสุดท้าย จากพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช นั้นจะเปิดโอกาสให้เยาวชน และประชาชนทั่วประเทศได้มีโอกาสร่วมแสดงความจงรักภักดีผ่านการขับร้อง และบรรเลงเพลงพระราชนิพนธ์ ตั้งแต่ 15 ตุลาคม 2559 – 26 กุมภาพันธ์2560 ณ เวสต์เกต ฮอลล์ ศูนย์การเซ็นทรัลพลาซา เวสต์เกต ซึ่งทางโครงการได้เปิดรับสมัครผู้ที่สนใจเข้าร่วมประกวดได้ตั้งแต่วันนี้ไปจนถึงวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2560 โดยมีรายละเอียดดังนี้ แบ่งการแข่งขันเป็น 2 ระดับ คือ ระดับมัธยมศึกษา และประชาชนทั่วไป ผู้ชนะทั้ง 2 ระดับจะได้รับถ้วยพระราชทานพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ไปครองทั้ง 2 ระดับ โดยกติกา และคุณสมบัติของวงดนตรีที่จะเข้าร่วมการประกวดคือ การแข่งขันประเภทมัธยมศึกษา สมาชิกในวงทุกคนต้องเป็นนักเรียนศึกษาในสถาบันศึกษาที่มีที่ตั้งอยู่ในประเทศไทยไม่เกินระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 , ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ(ปวช.) โดยต้องไม่มีประวัติการก่ออาชญากรรมร้ายแรง , มีสมาชิกวงตั้งแต่ 3 คนขึ้นไป แต่ต้องไม่เกิน 10 คน , ผู้สมัครต้องยอมรับกติกา และผลการตัดสินในการแข่งขันจากคณะกรรมการหรือผู้จัด ซึ่งถือเป็นอันสิ้นสุด , ไม่มีการจำกัดประเภทเครื่องดนตรี , ไม่จำกัดสัญชาติและเชื้อชาติ , ผู้สมัครต้องแข่งขันในวัน เวลา และสถานที่ ที่ผู้จัดกำหนดไว้ หากไม่สามารถมาตามกำหนดถือเป็นอันสละสิทธิ์ ซึ่งคณะกรรมการจะพิจารณาให้คะแนนจากการบรรเลงสดเท่านั้น การใช้ sequencerหรือ pre-programmed หรือ pre-recorded music มาเป็นตัวช่วยอาจจะทำให้วงของท่านโดนหักคะแนนได้ หากคณะกรรมการเห็นว่าเป็นการใช้อย่างไม่เหมาะสม
และระดับการแข่งขันประเภทประชาชนทั่วไปนั้น กติกา และคุณสมบัติคือ สมาชิกในวงทุกคนต้องเป็นนักเรียนศึกษาในสถาบันศึกษาที่มีที่ตั้งอยู่ในประเทศไทย สมาชิกในวงต้องศึกษาอยู่ในชั้นอุดมศึกษา, ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง(ปวส.) หรือประชาชนทั่วไป โดยต้องไม่มีประวัติการก่ออาชญากรรมร้ายแรง , มีสมาชิกวงตั้งแต่ 3 คนขึ้นไป แต่ต้องไม่เกิน 10 คน , ผู้สมัครต้องยอมรับกติกาและผลการตัดสินในการแข่งขันจากคณะกรรมการหรือผู้จัด ซึ่งถือเป็นอันสิ้นสุด , ไม่มีการจำกัดประเภทเครื่องดนตรี , ไม่จำกัดสัญชาติและเชื้อชาติ , ผู้สมัครต้องแข่งขันในวัน เวลา และสถานที่ ที่ผู้จัดกำหนดไว้ หากไม่สามารถมาตามกำหนดถือเป็นอันสละสิทธิ์ และคณะกรรมการจะพิจารณาให้คะแนนจากการบรรเลงสดเท่านั้น การใช้ sequencer หรือ pre-programmed หรือ pre-recorded music มาเป็นตัวช่วยอาจจะทำให้วงของท่านโดนหักคะแนนได้ หากคณะกรรมการเห็นว่าเป็นการใช้อย่างไม่เหมาะสมเช่นกัน สำหรับเกณฑ์การตัดสิน และขั้นตอนการสมัครนั้นสามารถทำตามขั้นตอนได้ดังนี้ กรอกใบสมัครผ่านช่องทาง เว็บไซต์ www.70thBandCompetition.net , ผู้เข้าประกวดเลือกเพลงจากรายชื่อบทเพลงพระราชนิพนธ์ตามที่ปรากฏอยู่บนหน้าเว็บไซต์รับสมัคร , บันทึก VDO การแสดงเพลงพระราชนิพนธ์ของวงความยาวไม่เกิน 5 นาที จำนวน 1 เพลงในรูปแบบไฟล์ แล้ว Upload ไปยังเว็บไซต์ www.70thBandCompetition.net ภายในวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2560 , วงแต่ละประเภทที่ผ่านการคัดเลือกจากรอบสื่อบันทึก VDO จะได้รับเชิญมาประกวดในรอบชิงชนะเลิศ 12 วงต่อประเภท แสดงเพลงพระราชนิพนธ์ความยาวไม่เกิน 15 นาที จำนวน 2 เพลง ที่เวสต์เกต ฮอลล์ ศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซา เวสต์เกต ในวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2560 โดยคณะกรรมการซึ่งเป็นผู้ทรงคุณวุฒิจากสมาคมนักร้องแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และอาจารย์จากคณะดุริยางคศิลป์จากมหาวิทยาลัยชั้นนำของประเทศ อาทิมหาวิทยาลัยศิลปากร , มหาวิทยาลัยรังสิต , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย , มหาวิทยาลัยมหิดล และผู้ทรงคุณวุฒิในสายวิชาชีพที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักและนับถือในวงกว้างนั้น จะตัดสินโดยยึดหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ ความสามารถในการบรรเลงร่วมกัน , ความโดดเด่น และความแม่นยำของเครื่องดนตรีแต่ละเครื่องในวง , ความคิดสร้างสรรค์ในการเรียบเรียงเสียงประสาน และการจัดรูปแบบวง , ความสามารถในการขับร้อง และการนำเสนออารมณ์เพลง , การแสดงออกบนเวที และการเคร่งครัดต่อเวลาที่กำหนด
นอกจากนี้แล้วภายในงานยังได้จัดกิจกรรมอื่น ๆ อีกมากมาย อาทิ การจัดการบรรยายเรื่อง "พระอัจฉริยภาพในฐานะทรงเป็นนักประพันธ์ดนตรี ของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช" พร้อมทั้งจัดการบรรยายเชิงสาธิต และปฏิบัติ (Master Class) กันอีกด้วย ไม่ว่าจะเป็นการจัดการบรรยายเรื่อง "พระอัจฉริยภาพในฐานะทรงเป็นนักประพันธ์ดนตรี ของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช" บรรยายโดยผู้ทรงคุณวุฒิทางด้านการประพันธ์ดนตรีจากมหาวิทยาลัยชั้นนำของประเทศ เนื่องจากบทเพลงพระราชนิพนธ์ของในหลวงนั้นนอกจากความไพเราะแล้วนั้น ยังมีความมหัศจรรย์อื่นๆ แฝงอยู่มากมาย ซึ่งเป็นการสะท้อนถึงพระอัจฉริยภาพของพระองค์ท่าน อย่างที่หาผู้ใดมาเปรียบปานได้ยากยิ่ง เหล่าผู้ทรงคุณวุฒิฯ ทั้งหลายจะวิเคราะห์ให้เป็นที่ประจักษ์ว่า อะไรคือความมหัศจรรย์ที่ซ่อนอยู่ในบทเพลงพระราชนิพนธ์เหล่านั้น และการจัดการบรรยายเชิงสาธิต และปฏิบัติ (Master Class)เป็นการสาธิตการบรรเลงเครื่องดนตรีที่สำคัญต่างๆในวง ให้มีความถูกต้อง และสร้างความไพเราะ รวมถึงเทคนิคในการบรรเลงรวมวงให้มีความถูกต้องความกระชับ พร้อมเพรียง สร้างสรรค์ และไพเราะมากยิ่งขึ้น
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit