"สำหรับการปฏิบัติการฝนหลวงในการช่วยเหลือภัยแล้ง มีพื้นที่เป้าหมาย คือ พื้นที่ภาคอีสาน จำนวน 5 เขื่อน ได้แก่ เขื่อนลำนำลอง เขื่อนลำตะคอง เขื่อนพระเพลิง เขื่อนมูลบล และเขื่อนลำแซะ ภาคกลาง เขื่อนวชิราลงกรณ์ และเขื่อนศรีนครินทร์ และในพื้นที่ภาคใต้ จะมีการเฝ้าระวังที่เขื่อนบางลาง ซึ่งขณะนี้ กรมฝนหลวงฯ อยู่ในระหว่างเตรียมความพร้อมของเครื่องบิน รวมทั้งการทบทวนและฝึกซ้อมนักบิน อย่างไรก็ตาม กรมฝนหลวงฯ มีเครื่องบินที่พร้อมปฏิบัติการในขณะนี้ จำนวน 4 ลำ และหลังจากวันที่ 10 ก.พ. 60 เป็นต้นไป จะเพิ่มเติมเครื่องบินเข้าไปอีก เพื่อให้มีความพร้อมอย่างเต็มประสิทธิภาพ สำหรับปฏิบัติการทุกภารกิจทั้งแต่เดือนมีนาคมเป็นต้นไป" พลเอก ฉัตรชัย กล่าว
ทั้งนี้ การเตรียมความพร้อมเพื่อลดความเสี่ยงจากภัยแล้งในด้านการเกษตร ได้เสนอ ครม. เมื่อวันที่ 24 ม.ค. 60 ซึ่งกระทรวงเกษตรฯ ได้เตรียมดำเนินการในเรื่องการจัดสรรน้ำ และแผนการเพาะปลูกพืชฤดูแล้งด้วย โดยมีมาตรการทั้งหมด 6 มาตรการ 29 โครงการ ได้แก่ 1) มาตรการส่งเสริมความรู้เพื่อลดความเสี่ยงจากภัยแล้ง จำนวน 7 โครงการ 2) มาตรการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำเพื่อการเกษตร จำนวน 5 โครงการ 3) มาตรการเพื่อปริมาณน้ำต้นทุน จำนวน 8 โครงการ 4) มาตรการฟื้นฟูและพัฒนาพื้นที่เกษตรที่ประสบภัย จำนวน 7 โครงการ 5) มาตรการสร้างการรับรู้และประชาสัมพันธ์ จำนวน 2 โครงการ และ 6) มาตรการจัดทำแผนชุมชนเพื่อบรรเทาผลกระทบจากภัยแล้ง โดยได้ดำเนินมาตรการโดยใช้งบปกติและเสนอของบกลาง จำนวน 2,197 ล้านบาท
นายสุรสีห์ กิตติมณฑล อธิบดีกรมฝนหลวงและการบินเกษตร กล่าวเพิ่มเติมว่า กรมฝนหลวงและการบินเกษตรได้มีหน่วยปฏิบัติการเคลื่อนที่เร็ว โดยขณะนี้มี 2 หน่วย ได้แก่ จ.นครสวรรค์ และ จ.นครราชสีมา โดยได้มีการติดตามสภาพอากาศเป็นรายสัปดาห์และขึ้นปฏิบัติการโดยใช้การรายงานสภาพอากาศรายวันด้วย หลังจากวันที่ 10 ก.พ. 60 จะเพิ่มหน่วยปฏิบัติการเป็น 3 หน่วยปฏิบัติการ และตั้งแต่วันที่ 22 ก.พ. 60 เราก็จะพร้อมทั้งหมด 7 หน่วยปฏิบัติการ และจะเปิดปฏิบัติการฝนหลวงตั้งแต่เดือนมีนาคม ทั้งนี้ ยังได้ขอรับการสนับสนุนจากกองทัพอากาศอีก 3 หน่วยปฏิบัติการ รวมเป็นทั้งสิ้น 10 หน่วยปฏิบัติประจำปีที่จะพร้อมดำเนินการต่อไป
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit