รู้ยัง ? ถ้ามีกฎหมายแฟรนไชส์ การจัดทำคู่มือ คือ หนึ่งในข้อบังคับนั้น

23 Feb 2017
กฎหมายแฟรนไชส์ ตอนนี้ยังไม่มี แต่อีกไม่นาน จะอาจจะมีในอนาคตอันใกล้นี้ ดังนั้นใครก็ตาม ที่ขายแฟรนไชส์ และเก็บค่าธรรมเนียมแรกเข้า หรือ หรือค่าธรรมเนียมต่างๆ หรือใช้คำว่าแฟรนไชส์ในกิจการของตัวเอง จำเป็นต้องเข้าสู่กระบวนการนี้สมาคมแฟรนไชส์ไทย ได้รับคำถามจากผู้ประกอบการมาโดยตลอด ถึง เรื่องกฏหมายแฟรนไชส์ ว่าจะมีจริงหรือไม่ ? และจะมาเมื่อไหร่ ? ข้อบังคับจะมีผลกระทบอะไรบ้าง ?วันนี้ จะมาอัพเดด เรื่องนี้กัน ในประเด็นที่สำคัญ
รู้ยัง ? ถ้ามีกฎหมายแฟรนไชส์ การจัดทำคู่มือ คือ หนึ่งในข้อบังคับนั้น

กฎหมายแฟรนไชส์ มีความพยายามกันมานานแล้ว ที่จะให้เกิดขึ้น เพื่อสร้างความเป็นธรรมให้กับผู้ซื้อแฟรนไชส์เป็นหลัก เริ่มร่างขึ้นโดยกรมพัฒนาธุรกิจการค้า แต่หลังจากนั้นก็ดูเงียบๆไป แต่ในเวลานี้ มีการร่างขึ้นมาใหม่โดย คณะสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ที่กำลังเสนอเข้าสภาอยู่ และอยู่ในระหว่างรับฟังความคิดเห็นของผู้รู้ และผู้เกี่ยวข้องฝ่ายต่างๆ ซึ่งคาดว่า น่าจะมีการออกมาบังคับใช้ได้ในรัฐบาลยุคนี้

เนื้อหาของกฎหมาย มีรายละเอียดรายข้อ ที่ต้องพูดกันยาว แต่ขอสรุปในประเด็นที่น่าสนใจ ดังนี้การจดทะเบียน

ท่านใดก็ตามที่ทำธุรกิจแฟรนไชส์ ต้องขึ้นทะเบียนการประกอบธุรกิจแฟรนไชส์ และให้ข้อมูล ทำตามแบบฟอร์มที่กำหนดไว้ เข่น ชื่อ ประเภท ที่ตั้ง หลักฐานผลกำไรการประกอบการ สัญญาแฟรนไชส์ และเอกสารอื่นๆตามกำหนด เป็นต้น

ทั้งนี้ การจดทะเบียนนั้น เป็นเรื่องดี ทำให้มีข้อมูลพื้นฐานของธุรกิจแฟรนไชส์ในประเทศ ว่ามีจำนวนเท่าไรกันแน่ มีใครบ้าง และมีข้อมูลเป็นอย่างไร ซึ่งจะมีประโยชน์อย่างมาก สำหรับประชาชนได้ค้นหาข้อมูลธุรกิจแฟรนไชส์ที่สนใจ ได้อย่างครบถ้วน และถูกต้อง และยังให้ประโยชน์ในการกำหนดทิศทาง ในการส่งเสริมอุตสาหกรรมแฟรนไชส์ของไทย ให้กับภาครัฐ และองค์กรต่างๆ

อย่างไรก็ตาม การขึ้นทะเบียน อาจมีรายละเอียดและเงื่อนไขมากมาย ที่อาจทำให้ผู้ประกอบการบางราย ไม่ต้องการเข้าสู่กฎหมายนี้ และเลี่ยงการใช้คำอื่นแทนคำว่า ธุรกิจแฟรนไชส์ แต่ถ้าธุรกิจแฟรนไชส์รายใด ทำตามข้อบังคับนี้ และผ่านมาได้ ก็จะสร้างความเชื่อถือให้กับกิจการของตนเองได้ในระดับหนึ่ง ซึ่งจะเป็นผลดีมากในด้านความน่าเชื่อถือของระบบแฟรนไชส์ไทยในภาพรวมการมีสาขาบ้างแล้ว

ผู้ที่จะขายแฟรนไชส์ จะต้องมีสาขาของตัวเองอย่างน้อย 2 สาขา และดำเนินกิจการนั้นมาไม่น้อยกว่า 2 ปี และเป็นธุรกิจที่ทำกำไรต่อเนื่อง ไม่น้อยกว่า 2 ปี เช่นกัน

ข้อนี้ เป็นข้อบังคับที่น่าสนใจมาก เพราะอาจมีผลกระทบกับ กิจการที่ใช้คำว่าแฟรนไชส์ โดยไม่มีคุณสมบัติเพียงพอ แต่ในหลักความเป็นจริงแล้ว ใครที่จะเป็นผู้ขายแฟรนไชส์ได้ ควรมีอายุที่มากกว่านี้ด้วยซ้ำ เพราะถ้าหากผู้ที่ขายแฟรนไชส์เพิ่งเปิดธุรกิจแค่ปีเดียว มาประกาศขายแฟรนไชส์เลย นั่นหมายถึง ขาดความรู้ความชำนาญในธุรกิจนั้น และ นั่นคือ ความเสี่ยงของผู้ที่มาลงทุนซื้อแฟรนไชส์ ดังนั้นข้อบังคับนี้ เป็นการป้องกันใครๆ ที่จะลุกขึ้นมาขายแฟรนไชส์โดยที่ขาดคุณสมบัติที่เหมาะสม แต่ข้อนี้ก็ยังเป็นกรณีที่ต้อง อยู่ในการรับฟัง ความคิดเห็นจากอีกหลายฝ่ายเพิ่มเติมหน้าที่การจัดทำคู่มือ

ผู้ที่จดทะเบียนประกอบการธุรกิจแฟรนไชส์ จะต้องแสดงคู่มือการปฏิบัติงานด้วย ซึ่งเรื่องนี้จะอยู่นข้อบังคับของกฏหมายแฟรนไชส์อย่างแน่นอน และ ผู้ที่ขายแฟรนไชส์ ต้องฝึกอบรมการปฏิบัติงานควบคู่กับการจัดทำให้มีคู่มือที่ชัดเจน ถูกต้องและครบถ้วน

นี่คือข้อบังคับ ของกฏหมายแฟรนไชส์ที่จำเป็น ผู้ที่ขายแฟรนไชส์ทุกรายจะต้องมีการจัด คู่มือปฏิบัติงานขึ้นมา เพราะคู่มือ คือ หัวใจของการทำระบบแฟรนไชส์ คู่มือ เป็นการบันทึก กระบวนการปฏิบัติงานอย่างละเอียด และบอกวิธีการบริหารจัดการร้าน เพื่อสร้างมาตรฐานของทุกสาขา ให้มีมาตรฐานเดียวกัน ซึ่งนี่เป็นปัจจัยความสำเร็จของธุรกิจแฟรนไชส์ด้วย

และเมื่อไหร่ก็ตาม ที่กฎหมายแฟรนไชส์ถูกบังคับใช้ ก็หมายความว่า ใครที่ใช้คำว่าแฟรนไชส์ในกิจการนั้น ต้องมีการจัดทำคู่มือ และ การอบรมควบคู่กันไปด้วย หากไม่มี ก็เท่ากับว่าทำผิดกฎหมาย และ ต้องได้รับโทษตามที่กฎหมายกำหนดไว้

แต่ ข้อบังคับในเรื่องการจัดทำคู่มือ ยังไม่มีรายละเอียดว่า แบบไหน ? อย่างไร ? ซึ่งในเรื่องนี้ ผู้เชี่ยวชาญหลายฝ่าย กำลังระดมความคิดเห็น นำเสนอกันอยู่

ในรายละเอียด เรื่องกฏหมายแฟรนไชส์ ยังมีอีกหลายข้อ แต่ในที่นี้ ก็จะชี้จุดสำคัญมาคุยกันก่อน ซึ่งคู่มือการปฏิบัติงาน หรือ คู่มือการดำเนินกิจการ (Operation Manual) เป็นเรื่องสำคัญ และอยู่ในข้อบังคับของกฎหมายแฟรนไชส์อย่างแน่นอน แล้ว ถ้าใครที่อยู่ในธุรกิจแฟรนไชส์ หรือ กำลังจะทำธุรกิจแฟรนไชส์ ยังไม่มีละก็ ก็ต้องรีบศึกษาไว้ก่อน เพราะการจัดทำไม่ใช่เรื่องง่าย ต้องใช้เวลามาก เพื่อทำให้ใช้งานได้จริง ที่จริงแล้ว การทำคู่มือ ถึงแม้ไม่มีกฎหมายบังคับ ทุกรายที่ทำแฟรนไชส์ ก็จำเป็นต้องมี เพราะมันมีผลดีต่อทุกกิจการที่ใช้มัน เพื่อสร้างระบบมาตรฐาน และเป็นเครื่องมือสำคัญในการขยายกิจการให้เติบโตอย่างมั่นคง

กฎหมายที่กำหนดขึ้นมาในเรื่องของการจัดทำคู่มือ เป็นเรื่องที่มีประโยชน์ และจำเป็นอย่างยิ่ง สำหรับเจ้าของกิจการแฟรนไชส์เอง ที่ได้ทบทวนกระบวนการของธุรกิจตัวเอง รู้จักการสร้างระบบมาตรฐานด้านต่างๆ เพื่อพัฒนาธุรกิจให้ดีขึ้น อีกทั้งให้ประโยชน์แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ ที่ได้รับความรู้ในการทำธุรกิจที่ถูกต้องอย่างเต็มที่ ที่สำคัญเกิดประโยชน์ต่อลูกค้าที่จะมั่นใจได้ว่า จะได้รับสินค้าและบริการที่เหมือนกัน เท่ากันทุกแห่ง ซึ่งพวกเขาก็จะกลับมาอีกซ้ำแล้วซ้ำเล่า ที่จะสร้างเม็ดเงินที่มั่นคงกลับมาให้กิจการนั้นนั่นเอง เปิดอบรม และปฏิบัติการ เขียนคู่มือ

สมาคมแฟรนไชส์ไทย มีความตั้งใจที่จะให้ผู้ประกอบการ ได้เรียนรู้เกี่ยวกับการจัดทำคู่มือ เพื่อบันทึกภูมิปัญญาของแต่ละธุรกิจให้เป็นระบบ และใช้ถ่ายทอดได้ดี ทั้งสำหรับเจ้าของกิจการทั่วไปที่ต้องการสร้างมาตรฐานระบบงาน หรือ ผู้ที่มีร้านสาขา และผู้ที่ทำธุรกิจแฟรนไชส์ โดยมีการอบรมและเวิร์คช้อป "ปฏิบัติการ เขียนคู่มือ" ซึ่งจะเริ่มในวันเสาร์ที่ 4 มีนาคม 2560 นี้ (อบรม 5 วัน) ที่อาคารซีพีทาวเวอร์ ถนนสีลม ซึ่งผู้ที่เข้าอบรมนอกจากจะได้ความรู้ในการจัดทำคู่มือแล้ว การลงมือทำจริง จะทำให้กิจการได้มีคู่มือปฏิบัติงานกลับไปใช้ได้จริง และมีตัวชี้วัดผลถึงผลงานที่ดีขึ้นตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ หากผู้สนใจ อบรมและเวิร์คชอป "ปฏิบัติการเขียนคู่มือ"

สามารถติดต่อสอบถามได้ที่ โทร. และ ไลน์ที่ 086-341-2973

หรือ สอบถามที่ E mail [email protected]

หรือ ดูรายข้อมูลเพิ่มเติมที่ www.franchisefocus.co.th

รู้ยัง ? ถ้ามีกฎหมายแฟรนไชส์ การจัดทำคู่มือ คือ หนึ่งในข้อบังคับนั้น รู้ยัง ? ถ้ามีกฎหมายแฟรนไชส์ การจัดทำคู่มือ คือ หนึ่งในข้อบังคับนั้น