จากการสำรวจเมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับคดีวัดพระธรรมกาย ว่าจะจบอย่างไรเมื่อใช้ มาตรา 44 มาระยะหนึ่งแล้ว พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 48.40 ระบุว่า พระธัมมชโยหลบหนีเพื่อรอให้คดีหมดอายุความ รองลงมา ร้อยละ 34.80 ระบุว่า พระธัมมชโยมอบตัวสู้คดี ร้อยละ 6.00 ระบุว่า พระธัมมชโยถูกมหาเถรสมาคม (มส.) จับตัวได้ ร้อยละ 0.88 ระบุอื่น ๆ ได้แก่ ไม่มามอบตัวและคดีจะยืดเยื้อเช่นเดียวกับเณรคำ, ดีเอสไอน่าจะจับพระธัมมชโยได้ และร้อยละ 9.92 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ
สำหรับความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับสิ่งที่พระธัมมชโย ควรทำมากที่สุดในขณะนี้ พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 81.76 ระบุว่า ควรออกมามอบตัว รองลงมา ร้อยละ 11.20 ระบุว่า ควรหลบหนีต่อไป ร้อยละ 4.56 ระบุว่า ควรสึกจากการเป็นพระ ร้อยละ 0.16 ระบุว่า ไม่ต้องทำอะไร ควรอยู่เฉย ๆ และร้อยละ 2.32 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจด้านความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับสถานที่ที่คาดว่า พระธัมมชโย อยู่ ณ ขณะนี้ พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 40.32 ระบุว่า พระธัมมชโยน่าจะหลบหนีไปต่างประเทศแล้ว รองลงมา ร้อยละ 26.48 ระบุว่า ไม่อยู่ในวัดพระธรรมกายแต่ยังอยู่ในประเทศไทย ร้อยละ 21.20 ระบุว่า น่าจะยังอยู่ในวัดพระธรรมกาย ร้อยละ 0.48 ระบุอื่น ๆ ได้แก่ หนีไปแล้วแต่ไม่ทราบว่าอยู่ที่ใด หรืออาจจะหนีไปอยู่กับครอบครัว และร้อยละ 11.52 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ
ท้ายสุดเมื่อถามความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับสิ่งที่สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (พศ.) และมหาเถรสมาคม (มส.) ควรทำมากที่สุดเกี่ยวกับคดีวัดพระธรรมกายและพระธัมมชโย พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 20.16 ระบุว่า ควรปฏิรูปพุทธศาสนาอย่างจริงจัง รองลงมา ร้อยละ 19.36 ระบุว่า ควรเรียกพระธัมมชโยมามอบตัว หากไม่มาให้ประกาศว่าพ้นจากสมณเพศ ร้อยละ 17.44 ระบุว่า ไม่ต้องทำอะไรให้เป็นหน้าที่ของกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ตำรวจ ทหาร หรือเจ้าพนักงานฝ่ายปกครอง และควรประกาศว่าพระธัมมชโยพ้นจาก สมณเพศโดยทันทีในสัดส่วนที่เท่ากัน ร้อยละ 17.04 ระบุว่า ควรเรียกพระธัมมชโยมามอบตัว ร้อยละ 1.84 ระบุว่า ควรปกป้องพระธัมมชโย ร้อยละ 2.08 ระบุอื่น ๆ ได้แก่ ควรมีบทบาทและเข้าไปดูแลให้มากกว่านี้ ด้วยการร่วมมือกับหน่วยงานตำรวจ ดีเอสไอ และทหาร ทั้งการเจรจา ตกลงหรือการใช้มาตรการพระวินัยของสงฆ์และกฎหมายอย่างจริงจัง และร้อยละ 4.64 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ
เมื่อพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 8.72 มีภูมิลำเนาอยู่กรุงเทพฯ ร้อยละ 25.44 มีภูมิลำเนาอยู่ปริมณฑล และภาคกลาง ร้อยละ 18.16 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคเหนือ ร้อยละ 33.60 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และร้อยละ 14.08 มีภูมิลำเนา อยู่ภาคใต้ ตัวอย่าง ร้อยละ 56.16 เป็นเพศชาย ร้อยละ 43.68 เป็นเพศหญิง และร้อยละ 0.16 เป็นเพศทางเลือก ตัวอย่างร้อยละ 5.28 มีอายุ 18 – 25 ปี ตัวอย่าง ร้อยละ 16.96 มีอายุ 26 – 35 ปี ร้อยละ 23.84 มีอายุ 36 – 45 ปี ร้อยละ 34.24 มีอายุ 46 – 59 ปี ร้อยละ 18.80 มีอายุ 60 ปีขึ้นไป และร้อยละ 0.88 ไม่ระบุอายุ ตัวอย่าง ร้อยละ 22.64 ระบุว่าสถานภาพโสด ร้อยละ 72.16 สมรสแล้ว ร้อยละ 4.08 หม้าย หย่าร้าง แยกกันอยู่ และร้อยละ 1.12 ไม่ระบุสถานภาพการสมรส ตัวอย่างร้อยละ 25.44 จบการศึกษาประถมศึกษาหรือต่ำกว่า ร้อยละ 30.72 จบการศึกษามัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 7.28 จบการศึกษาอนุปริญญาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 27.76 จบการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ร้อยละ 7.04 จบการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า และร้อยละ 1.76 ไม่ระบุการศึกษา
ตัวอย่างร้อยละ 13.84 ประกอบอาชีพข้าราชการ/ลูกจ้าง/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 12.80 ประกอบอาชีพพนักงานเอกชน ร้อยละ 21.52 ประกอบอาชีพเจ้าของธุรกิจ/อาชีพอิสระ ร้อยละ 15.68 ประกอบอาชีพเกษตรกร/ประมง ร้อยละ 17.12 ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป/ ผู้ใช้แรงงาน ร้อยละ 14.80 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ/ว่างงาน ร้อยละ 2.00 เป็นนักเรียน/นักศึกษา ร้อยละ 0.32 เป็นพนักงานองค์กรอิสระ ที่ไม่แสวงหากำไร และร้อยละ 1.92 ไม่ระบุอาชีพ ตัวอย่างร้อยละ 12.00 ไม่มีรายได้ ร้อยละ 17.76 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนไม่เกิน 10,000 บาท ร้อยละ 25.28 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,001 – 20,000 บาท ร้อยละ 13.12 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001 – 30,000 บาท ร้อยละ 8.32 มีรายได้เฉลี่ย ต่อเดือน 30,001 – 40,000 บาท ร้อยละ 11.36 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนมากกว่า มากกว่า 40,001 บาทขึ้นไป และร้อยละ 12.16 ไม่ระบุรายได้
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit