ผลวิจัยจาก PayPal และ อิปซอสส์ 2016: ประเทศไทยใช้สมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตในการช้อปออนไลน์ข้ามประเทศเป็นอันดับสองในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก

21 Feb 2017
เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ไทยมีสัดส่วนการช้อปออนไลน์ข้ามประเทศผ่านอุปกรณ์มือถือเป็นอันดับสองรองจากจีน โดยคนไทยนิยมช้อปออนไลน์ข้ามประเทศผ่านสมาร์ทโฟนถึง 33 เปอร์เซ็นต์ และอีก 13 เปอร์เซ็นต์ ช้อปผ่านแท็บเล็ต
ผลวิจัยจาก PayPal และ อิปซอสส์ 2016: ประเทศไทยใช้สมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตในการช้อปออนไลน์ข้ามประเทศเป็นอันดับสองในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก

PayPal หนึ่งในผู้นำด้านการชำระเงินแบบดิจิทัลระดับโลก และอิปซอสส์ (Ipsos) นำเสนอรายงานการวิจัยพฤติกรรมผู้บริโภคทั่วโลกปี 2016 โดยสำรวจพฤติกรรมการซื้อของออนไลน์ของผู้บริโภคกว่า 28,000 คน ใน 32 ประเทศ รวมถึงกลุ่มผู้บริโภคในประเทศไทยจำนวน 800 คน เผยโอกาสใหม่สำหรับผู้ค้าออนไลน์ชาวไทยที่ต้องการขยายไปยังตลาดต่างประเทศการใช้จ่ายผ่านช่องทางออนไลน์มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น

ยอดใช้จ่ายออนไลน์ทั้งหมดของนักช้อปชาวไทยคาดการณ์ว่าจะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นประมาณ 16 เปอร์เซ็นต์ จากปี 2559 ตามที่ประเมินไว้ที่ประมาณ 325.6 พันล้านบาท และคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 376.8 พันล้านบาท ในปี 2560 สำหรับยอดการช้อปออนไลน์ของประเทศไทยที่มาจากการซื้อของผ่านเว็บไซต์ในประเทศคาดว่าจะเพิ่มขึ้น 84 เปอร์เซ็นต์ ในปี 2560 จากยอดการซื้อสินค้าประมาณ 60.3 พันล้านบาทในปี 2560 ที่ผ่านมา

จากการสำรวจพบว่านักช้อปออนไลน์ในประเทศไทยจำนวน 55 เปอร์เซ็นต์ ระบุว่าพวกเขามีแนวโน้มที่จะใช้จ่ายออนไลน์มากขึ้นในปี 2560 และจากกลุ่มนักช้อปเหล่านั้น ราว 82 เปอร์เซ็นต์เห็นว่า ความสะดวกสบายของการช้อปออนไลน์น่าจะเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้พวกเขาหันมาช้อปด้วยวิธีนี้มากขึ้น 37เปอร์เซ็นต์มองว่าการส่งของที่รวดเร็วเป็นอีกปัจจัยหลัก และ 35 เปอร์เซ็นต์ คิดว่าทำให้ประหยัดเงินได้มากกว่า ซึ่งเหตุผลดังกล่าวล้วนเป็นปัจจัยอันดับต้นๆ และคาดว่าในปี 2560 นี้ พวกเขาจะหันมาใช้จ่ายออนไลน์มากขึ้น

ผู้บริโภคหันมาใช้ช่องทางอีคอมเมิร์ซเพื่อทำกิจธุระประจำวันมากขึ้น ผลวิจัยระบุว่าในประเทศไทย ในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา จากจำนวนผู้บริโภคที่ช้อปออนไลน์ข้ามประเทศ 54 เปอร์เซ็นต์ เลือกที่จะช้อปสินค้าหมวดหมู่ประเภทแฟชั่นมากที่สุด อาทิ เสื้อผ้า รองเท้า และ เครื่องประดับ ตามมาด้วยสินค้าในหมวดหมู่การศึกษาและสื่อบันเทิง (40 เปอร์เซ็นต์) และ สินค้าอิเล็กทรอนิกส์สำหรับผู้บริโภค (39 เปอร์เซ็นต์) ตามลำดับ

อย่างไรก็ตาม ผลวิจัยระบุว่าผู้บริโภคคาดการณ์ว่าในปีนี้ในประเทศไทย จะเปลี่ยนมาใช้ช่องทางอีคอมเมิร์ซในชีวิตประจำวันมากขึ้น สินค้า 3 ประเภทที่คาดว่าจะมีการซื้อผ่านช่องทางออนไลน์มากขึ้นในปี 2560 ได้แก่ ของใช้ในครัวเรือน (เติบโต 24 เปอร์เซ็นต์) สินค้าบริโภค (เติบโต 20 เปอร์เซ็นต์) และ สินค้าสำหรับเด็ก (เติบโต 16 เปอร์เซ็นต์)

เทรนด์การใช้จ่ายผ่านอุปกรณ์มือถือของคนไทยกำลังเป็นที่นิยม

จากการสำรวจในหลายประเทศ พบว่า ประเทศจีนและประเทศไทยเป็นนักช้อปข้ามประเทศที่นิยมซื้อสินค้าผ่านอุปกรณ์มือถือมากที่สุด โดยกว่า 47เปอร์เซ็นต์ของนักช้อปชาวจีนที่ซื้อสินค้าออนไลน์จากต่างประเทศ เลือกช้อปผ่านแท็บเล็ตและสมาร์ทโฟน ส่วนเหล่านักช้อปจากประเทศไทยถึง 46เปอร์เซ็นต์ นิยมซื้อสินค้าข้ามประเทศผ่านอุปกรณ์มือถือ ทั้งนี้จากการรวบรวมข้อมูลจากผู้ตอบแบบสอบถามในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกทั้งหมด โดยเฉลี่ยจะมีนักช้อปข้ามประเทศที่ซื้อสินค้าผ่านอุปกรณ์มือถืออยู่ที่ 37 เปอร์เซ็นต์ ซื่งเป็นผู้ใช้สมาร์ทโฟนถึง 27 เปอร์เซ็นต์

เหตุผลดังกล่าวเนื่องมาจากจำนวนผู้ใช้สมาร์ทโฟนที่เพิ่มขึ้นอย่างมากในประเทศไทย[1] และ PayPal คาดการณ์ว่าในปี 2560 นี้ ยอดการซื้อขายออนไลน์ผ่านอุปกรณ์มือถือ (mobile-commerce) จะเพิ่มเป็นจาก 141.7 พันล้านบาทในปี 2559 เป็น 173.6 พันล้านบาท และมีแนวโน้มว่าจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ตามจำนวนอุปกรณ์มือถือที่เพิ่มมากขึ้น ผนวกกับเทคโนโลยีเกี่ยวกับอุปกรณ์มือถือใหม่ๆ ที่ได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้การซื้อขายออนไลน์ผ่านอุปกรณ์มือถือเป็นทั้งประสบการณ์ และโอกาสทางธุรกิจทั้งสำหรับผู้ซื้อและผู้ค้าออนไลน์

"อินเตอร์เน็ตและการใช้อุปกรณ์มือถือที่เพิ่มมากขึ้น กำลังปฏิวัติรูปแบบการค้าปลีกแบบเดิมๆ ทำให้การซื้อขายนั้นไร้พรมแดนมากขึ้น และนี่คือโอกาสครั้งใหญ่ของธุรกิจไทยในการส่งออกสินค้าสู่ตลาดโลก ข้อมูลจากผลสำรวจ PayPal พบว่าช่องทางในการเติบโตนั้นยังมีอีกมากในการขยายธุรกิจไปสู่ตลาดโลกโดยปราศจากต้นทุนที่สูง เหมือน การขยายสาขาแบบดั้งเดิม" นายสมหวัง เหลืองไพบูลย์ศรี ผู้จัดการ PayPal ประจำประเทศไทย กล่าว

ความคุ้มค่าเป็นสิ่งสำคัญต่อนักช้อป

แม้การช้อปข้ามประเทศจะเป็นที่นิยมของผู้บริโภคชาวไทย แต่ยังมีข้อจำกัดบางอย่าง โดย 45 เปอร์เซ็นต์ของผู้สำรวจทั้งหมดระบุว่า ค่าขนส่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้นักช้อปไม่สามารถซื้อของข้ามประเทศได้บ่อยครั้งเท่าที่ควร ปัจจัยรองลงมาคือ การจ่ายค่าภาษีศุลกากร (44 เปอร์เซ็นต์) และความชัดเจนของอัตราภาษีศุลกากร (42 เปอร์เซ็นต์)

ดั้งนั้นร้านค้าควรจะหาช่องทางที่จะแก้ไขหรือบรรเทาความกังวลของผู้ซื้อในประเด็นดังกล่าว เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้ผู้บริโภคมั่นใจและกล้าซื้อสินค้ามากขึ้น ทั้งนี้ PayPal มีผลิตภัณฑ์ที่สามารถสร้างความมั่นใจในการช้อปด้วย Refunded Returns[2] หรือ การคืนเงินค่าจัดส่งให้สูงสุด 15 ดอลลาร์สหรัฐ[3] สำหรับสินค้าที่เข้าร่วม เพื่อช่วยให้นักช้อปมั่นใจในการช้อปออนไลน์มากขึ้น นอกจากนี้ PayPal ยังมีบริการ Buyer Protection หรือบริการคุ้มครองผู้ซื้อ เพื่อให้นักช้อปมั่นใจทุกครั้งในการช้อป และก้าวข้ามข้อจำกัดในการตัดสินใจที่จะซื้อในแต่ละครั้ง นโยบายนี้ครอบคลุมการซื้อในกลุ่มสินค้าที่จับต้องไม่ได้ อาทิ ตั๋วอิเล็คทรอนิคส์ต่างๆ ไฟล์เพลงดิจิตอล อีบุ๊ค เกมส์ และการโหลดซอฟท์แวร์และยังมีนโยบายคุ้มครองผู้ขายที่เรียกว่า Seller Protection ที่คุ้มครองผู้ขายจากการถูกหลอกลวงด้านธุรกรรมออนไลน์อีกด้วย

ผลวิจัยจาก PayPal และ อิปซอสส์ 2016: ประเทศไทยใช้สมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตในการช้อปออนไลน์ข้ามประเทศเป็นอันดับสองในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก