รมว.วธ. กล่าวต่อไปว่า จากการที่กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) ได้ส่งเสริมให้คณะสงฆ์ และพุทธศาสนิกชน เดินทางมาปฏิบัติธรรม สักการะสังเวชนียสถาน 4 ตำบล ได้ค้นพบว่าปัจจุบัน การเดินทางของผู้แสวงบุญมีความสะดวกสบายมากขึ้นหลังจากที่วธ. จัดตั้งศูนย์อำนวยความสะดวกพระสงฆ์และพุทธศาสนิกชนผู้เดินทางไปประกอบศาสนกิจนมัสการสังเวชนียสถานใน ตำบลที่ประสูติ ตรัสรู้ ปฐมเทศนา ปรินิพพาน จำนวน9 แห่ง ประกอบด้วย ประเทศเนปาล 1 แห่ง ได้แก่ วัดไทยลุมพินีประเทศอินเดีย 8 แห่ง ได้แก่ 1.วัดไทยกุสินารา 3.วัดไทยพาราณสี 4.วัดไทยพุทธคยา 5.วัดไทยสารนาถ 6.วัดไทยเชตวันมหาวิหาร 7.วัดไทยนวราชรัตนาราม 8.วัดไทยนวมินทร์ธัมมิกราช และ 9.วัดอโยธยารามราชธานี อีกทั้งกระทรวงสาธารณะสุข (สธ.) ได้ส่งคณะแพทย์มาดูแล ประกอบด้วย แพทย์ พยาบาล และเภสัชกร กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) ได้ริเริ่มส่งเจ้าหน้าที่คอยอำนวยความสะดวกในเรื่องหนังสือเดินทางและวีซ่าด้วย
รมว.วธ. กล่าวว่า ข้อมูลจากพระธรรมทูตมีคนไทยเดินทางไปแสวงบุญปี 2558 ประมาณกว่า 70,000 คน ในปี 2559 เพิ่มเป็นกว่า 80,000 คนในภาพรวมถือได้ว่าคนไทยเดินทางไปแสวงบุญที่อินเดียมากเป็นอันดับที่ 4 รองลงมาจากไต้หวัน ศรีลังกา พม่า ดังนั้นแนวทางการดูแลผู้แสวงบุญชาวไทยในอนาคต วธ.เห็นว่าควรจะประสานความร่วมมือกับกระทรวงอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมอีกเช่น กระทรวงคมนาคม เพิ่มเที่ยวบินของสายการบินไทยให้บริการที่สนามบินพุทธคยา และพาราณสี ในช่วงนอกฤดูกาลท่องเที่ยว เนื่องจากมีผู้แสวงบุญคนไทยเดินทางมาตลอดทั้งปี โดยเฉพาะช่วงวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา อาทิ วิสาขบูชา อาสาฬหบูชาและเข้าพรรษา ซึ่งทางคณะพระธรรมทูตก็เห็นด้วยที่จะให้ วธ. รับไปดำเนินการประสานความร่วมมือกับกระทรวงคมนาคม และการบินไทยเพิ่มเที่ยวบินรวมไปถึงชวนนักลงทุน เอกชน ลองศึกษาความเป็นไปได้ในการลงทุนเรื่องที่พัก โรงแรมเพื่อรองรับผู้แสวงบุญที่อินเดียด้วย