จากการประมาณการพบว่า ในปี พ.ศ. 2573 หรืออีก 10 กว่าปีข้างหน้า ประเทศไทยจะก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุแบบก้าวกระโดด โดยมีจำนวนผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นเป็น 17 ล้านคนจาก 11 ล้านคนในปี พ.ศ. 2559 หรือเพิ่มขึ้นเกินร้อยละ 27ของประชากรทั้งหมด กล่าวคือจะมีผู้สูงอายุ 1 คน ในประชากรทุกๆ 4 คน
ดีดีพร็อพเพอร์ตี้ ยังพบว่า เพียงร้อยละ 25 ของผู้ตอบแบบสำรวจ มีความกังวลว่าจะไม่สามารถจ่ายค่าที่อยู่อาศัยที่เหมาะสมหลังวัยเกษียณให้แก่ตนเอง (รูปที่1: 7ข้อกังวลเรื่องการอยู่อาศัยเมื่อเข้าสู่ช่วงสูงวัย) นอกจากนี้ ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB Economic Intelligence Center) พบว่า ประชาชนไทยส่วนใหญ่ ไม่มีการเตรียมความพร้อมทางด้านการเงินหลังวัยเกษียณ และมักมองข้ามความสำคัญของการออมเงิน และการลงทุนเพื่อใช้จ่ายในวัยหลังเกษียณ
จากผลสำรวจผู้ที่อยู่ระหว่างหาซื้อและผู้ซื้อที่อยู่อาศัยรวม 661 คน (แบ่งเป็นกลุ่มอายุ 21-39 ร้อยละ 43, กลุ่มอายุ40-59 ร้อยละ 40, และกลุ่มอายุ 60 ปีขึ้นไป ร้อยละ 43) พบว่าเพียงร้อยละ 37 กำลังเริ่มมองหาหรือเคยมองหาสถานที่พักอาศัยที่เหมาะสำหรับผู้สูงวัยหลังเกษียณโดยมีลักษณะที่ตอบโจทย์ความต้องการของธรรมชาติผู้สูงอายุ และมีสถานที่ดูแลผู้สูงวัยใกล้เคียงกับบริเวณที่พักอาศัย ในทางกลับกันผู้ตอบแบบสำรวจส่วนใหญ่ไม่รู้สึกว่าประเด็นนี้สำคัญและยังไม่ส่งผลกระทบ กับชีวิตพวกเขา ณ ขณะนี้
ธนาคารโลกหรือ World Bank ได้กล่าวไว้ว่า เหตุผลสำคัญที่ทำให้สังคมไทยมุ่งหน้าสู่สังคมผู้สูงอายุคืออัตราการเจริญพันธุ์ที่ลดลงอย่างน่าตกใจ จากร้อยละ 6.1 ในปี พ.ศ. 2508 เหลือเพียงร้อยละ 1.5 ในปี พ.ศ. 2558 (รูปที่2: การลดลงของอัตราการเจริญพันธุ์ของหญิงไทย) เนื่องจากประชากรส่วนใหญ่มีการศึกษาและมีฐานะทางการเงินที่ดีขึ้น รวมถึงผลสำเร็จของโครงการวางแผนครอบครัวที่รัฐบาลริเริ่มในปี พ.ศ. 2513
ประเทศสิงคโปร์ ก็เป็นอีกหนึ่งประเทศในทวีปเอเชียที่กำลังรับมือกับสังคมผู้สูงวัย ซึ่งขณะนี้มีจำนวนผู้สูงอายุมากถึง1ล้านคน หรือ ร้อยละ 18 ของประชากรทั้งหมดและคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 31 ในพ.ศ. 25732 นอกจากนี้รัฐบาลสิงคโปร์มองว่าจำนวนผู้เกษียณวัยอายุ 62 ขึ้นไปจะเพิ่มขึ้นสูงถึง 900,000 คนในปีเดียวกันนี้ ถึงกระนั้นแล้วแบบสำรวจผู้ที่อยู่ระหว่างหาซื้อและผู้ซื้อที่อยู่อาศัยในประเทศสิงคโปร์พบว่า ร้อยละ 80 ของผู้ทำแบบสำรวจ ไม่เห็นว่าเรื่องชีวิตวัยเกษียณเป็นเรื่องใกล้ตัว ที่มีผลกระทบกับพวกเขาในปัจจุบัน และส่วนมากยังไม่มองประเด็นเรื่องคุณภาพชีวิต และที่อยู่อาศัยว่าเป็นปัญหาใดๆ เป็นสถานการณ์ที่ใกล้เคียงกับประเทศไทย แต่สิ่งที่แตกต่างกันคือรายได้เฉลี่ยต่อหัวหรือ GDP per capita ของประเทศสิงคโปร์สูงกว่าประเทศไทยมากถึง 10 เท่า (รูปที่ 3: รายได้เฉลี่ยต่อหัว)
ประเทศสิงคโปร์เป็นประเทศหนึ่งที่กำลังประสบปัญหา โครงสร้างประชากร ที่มีคนสูงอายุเพิ่มขึ้น รัฐบาลจึงได้มีแนวคิดให้ผู้สูงอายุอยู่อาศัยในที่เดิม (ageing-in-place)3 โดยได้มีการจัดสรรที่ดินและพัฒนารูปแบบบ้านให้เหมาะสมสำหรับผู้สูงวัย ปัจจุบัน องค์การอาคารและสิ่งก่อสร้าง (Building and Construction Authority) แห่งประเทศสิงคโปร์ได้มีการปรับเปลี่ยน ประมวลการเข้าถึงอาคารโดยปราศจาก อุปสรรค(Code on Barrier-Free Accessibility in Buildings) ซึ่งออกเมื่อปี พ.ศ2533 ให้เป็น "Code on Accessibility in the Built Environment 2013" ซึ่งเป็นข้อบังคับสำหรับการสร้างอาคารและสิ่งก่อสร้าง เพื่อเตรียมความพร้อม สำหรับสังคมผู้สูงวัย และจำนวนประชากรผู้สูงอายุที่จะเพิ่มขึ้นในอนาคตอันใกล้ ให้พวกเขาสามารถเข้าถึงอาคาร และสิ่งก่อสร้างต่างๆได้อย่างปลอดภัย
"การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรของไทยในการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุจะมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจในหลายๆ ด้าน เนื่องจากมีผลกระทบโดยตรง ต่อจำนวนกำลังแรงงานที่ลดลง ซึ่งจะส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมประเภทต่างๆ สำหรับธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ซึ่งเน้นความต้องการของผู้บริโภคเป็นหลัก ได้เริ่มมีการนำลักษณะและแบบบ้านที่ออกแบบเพื่อรองรับความต้องการของสังคมผู้สูงวัย แต่มีเพียงผู้บริโภคกลุ่มเล็กๆ ที่ได้รับผลกระทบกับตนเองและครอบครัวเท่านั้น ที่เริ่มเข้าใจว่าการออกแบบและเลือกที่อยู่อาศัยมีผลกระทบอย่างมาก ต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ ดิฉันหวังเป็นอย่างยิ่งว่าแบบสำรวจนี้ จะช่วยให้รัฐบาลและผู้ที่เกี่ยวข้องมองเห็นปัญหาปัจจุบันในสังคม เข้าใจถึงความสำคัญของการมีกฎหมายที่เหมาะสมต่อการออกแบบอาคารและที่อยู่อาศัยให้ผู้สูงวัยสามารถอาศัยอยู่ในที่ที่เดิมได้โดยให้มีผลกระทบต่อชีวิตของพวกเขาน้อยที่สุด" นางกมลภัทรแสวงกิจ ผู้จัดการใหญ่ประจำประเทศไทย ดีดีพร็อพเพอร์ตี้ กล่าวข้อมูลอ้างอิง1 Thailand Economic Monitor - June 2016: Aging Society and Economy, www.worldbank.org2 AgeWatch Report Card: Global AgeWatch Index 2015, www.helpage.org3 Successful Ageing - A Review of Singapore's Policy Approaches, www.cscollege.gov.sg
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit