ทั้งนี้ การประชุมครั้งนี้จัดขึ้นโดยวธ.ร่วมกับจังหวัดนครพนม สำนักงานองค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) กรุงเทพฯ และสำนักเลขาธิการคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการศึกษาฯ สหประชาชาติ รวมถึงหน่วยงานรัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้อง เพื่อพัฒนาความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการและมุมมองนานาชาติ เรื่องมรดกโลกด้านศาสนา รวมทั้งเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ สร้างการมีส่วนร่วมและการรับรู้ของทุกฝ่ายทั้งในไทยและต่างประเทศ เพื่ออนุรักษ์และสนับสนุนการเสนอพระธาตุพนมขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกตามหลักการของยูเนสโก
โดยเชิญผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ด้านการบริหารจัดการมรดกโลกที่เกี่ยวกับศาสนาจาก 15 ประเทศ อาทิ เมียนมาร์ ลาว ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย จีน อินเดีย เนปาล เวียดนาม ศรีลังกา ภูฏาน เป็นต้น โดยผู้เชี่ยวชาญแต่ละประเทศ จะมานำเสนอกรณีศึกษาเปรียบเทียบเรื่องคุณค่าสากลของมรดกด้านศาสนา และแนวทางการอนุรักษ์และการบริหารจัดการตามแนวทางสากลของคณะกรรมการมรดกโลกในแต่ละประเทศกับพระธาตุพนม รวมทั้งลงพื้นที่ศึกษาดูงานสถานที่สำคัญของวัดพระธาตุพนมและบริเวณโดยรอบ
หลังจากนั้น วธ.จะนำข้อมูลและข้อเสนอแนะจากผู้เชี่ยวชาญมาประกอบการจัดทำเอกสารข้อมูลเกี่ยวกับพระธาตุพนม เพื่อให้มีความครบถ้วน รอบด้านและสมบูรณ์ที่สุดก่อนที่จะนำเสนอต่อยูเนสโกต่อไป ทั้งนี้ ก่อนหน้านี้คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบเมื่อวันที่ 24 มกราคม 2560 ให้เสนอบรรจุพระธาตุพนมไว้ในบัญชีรายชื่อเบื้องต้น (Tentative List) เพื่อพิจารณาเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรมในอนาคต ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างจัดทำเอกสารและแผนงานการบริหารจัดการเพื่อเสนอต่อยูเนสโก โดยจังหวัดนครพนมตั้งเป้าหมายจะเสนอขึ้นทะเบียนพระธาตุพนมเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรมต่อยูเนสโกในปี 2562
HTML::image( HTML::image( HTML::image(ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit