"เบาหวานในเด็กคือ ภาวะน้ำตาลในกระแสเลือดสูงกว่าเกณฑ์ปกติ ซึ่งในเบาหวานชนิดที่ 2 เกิดจาก ฮอร์โมนอินซูลินที่มีพอเพียงแต่ไม่สามารถทำงานได้ เนื่องจากเซลล์ร่างการดื้อต่อฮอร์โมนอินซูลิน
ส่วนลักษณะบ่งชี้ของเด็กป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 มักพบในเด็กที่อ้วน ผิวหนังต้นคอ หนา ดำ เรียกว่า อะแคนโทสิส (Acanthosis negrican) มีประวัติครอบครัวเป็นเบาหวานหลายคน จะมีอาการร่วมคือปัสสาวะบ่อย ดื่มน้ำมาก ทางออกการรักษาเบื้องต้นคือ ให้ยาทานเพื่อกระตุ้นการทำงานของฮอร์โมนอินซูลิน และที่สำคัญ คือ การควบคุมอาหาร และการออกกำลังกาย
"โรคเบาหวานในเด็กนั้นถ้าปล่อยไว้จะเกิดผลกระทบคือ ในภาวะฉุกเฉิน ทำให้เลือดเป็นกรดอ่อนเพลียซึม หายใจหอบลึก ขาดสารน้ำ เกลือแร่ในร่างกาย และในระยะยาว น้ำตาลในเลือดที่สูง ทำให้ไตเสื่อม จอประสาทตาเสื่อม ไขมันในเลือดสูง เส้นเลือดหัวใจตีบ ในอนาคตได้" พญ.นวลผ่องเพิ่มเติม
2 พฤติกรรมสุ่มเสี่ยงต่อการเป็นเบาหวานในเด็กอ้วน
1 กินดะ- การรับประทานอาหารที่มีแป้งและน้ำตาลมากเกินไป
ช่วงปิดเทอมของเด็กหลังยุคมิลเลนเนียมและการคืบคลานของนวัตกรรมไอที ลูกหลานของเรานั่งเฝ้ายูทูบ เกมส์ และทีวี ในมือมีป๊อบคอน แฮมเบอร์เกอร์ ไก่ทอด โดนัท น้ำอัดลม และน้ำหวานปรุงแต่งที่เติมน้ำตาลมหาศาลลงไป ทั้งหมดล้วนแต่เป็นอาหารหาซื้อง่ายแต่คุณค่าทางโภชนาการต่ำ หนำซ้ำยังหยิบยื่นน้ำตาล ไขมัน ตัวการสำคัญของความอ้วนและเบาหวาน
2 ไม่ขยับ- การขาดการออกกำลังกาย
อันที่จริงทุกโรคที่คืบคลานสู่ชีวิตทั้งเด็กและผู้ใหญ่ ข้อสำคัญประการหนึ่งก็คือ ขาดความกระฉับกระเฉง ไม่ออกกำลังกายนั่นเอง ภาวะเด็กอ้วนนั้นสร้างปัจจัยสนับสนุนโดยตรงกับการสะสมของไขมันและน้ำตาล ยิ่งไม่แอกทีฟ ไม่จ๊อกกิ้ง ไม่เข้ายิม หรือไม่เล่นกีฬา ก็ยิ่งมีความเสี่ยงสูงที่เบาหวานกลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตเขาตั้งแต่อายุยังน้อยออกกำลังไปด้วย ได้ประโยชน์หลายทาง พร้อมรับแสงแดดอ่อนๆ ไปด้วย
ป้องกันก่อนเบาหวานถามหา
วิธีป้องกันอย่างยั่งยืนคือสร้างสุขลักษณะและนิสัยกินอาหาร 5 หมู่ที่มีประโยชน์ และออกกำลังกาย
1 ออกกำลังกาย-ออกไปสัมผัสแดด
เมื่อเด็กๆ ออกแรงและออกกำลังจะทำให้กล้ามเนื้อต้องใช้พลังงานมากขึ้น กล้ามเนื้อจะย่อยสลายแป้งที่สะสมไว้ และดึงน้ำตาลจากเลือดเป็นแหล่งพลังงาน ป้องกันภาวะน้ำตาลในเลือดสูง ทางที่ดีมากๆ คือ ให้ออกแรง
2 อย่าปล่อยอ้วน-น้ำหนักเกิน
คีบหนังหน้าท้องของลูกๆ หลานดูว่า หนาเกิน 1 นิ้วหรือไม่ (ไม่ควรเกิน) การลดอ้วนลงพุงจำเป็นต้องใช้วิธีออกกำลัง ทางดีที่สุดคือ คาร์ดิโอหรือแอโรบิค เช่น เดินเร็ว เดินขึ้นลงบันไดตามโอกาส จักรยาน ฯลฯ สลับกับการออกกำลังต้านแรง เช่น ยกน้ำหนัก เพิ่มมวลกล้ามเนื้อและลดการสะสมของไขมัน
ปลูกฝังนิสัยและวินัยของพวกเขาว่าแม้จะอ้วนก็เป็นเด็กอ้วนที่ฟิต เพื่อที่วันหนึ่งจะโตไปเป็นผู้ใหญ่ที่แข็งแรง หุ่นดี ปลอดโรค ข้อสำคัญระวังอย่าให้น้ำหนักเพิ่มขึ้น และถ้าเพิ่มเมื่อไรให้รู้จักควบคุมและลดน้ำหนักด้วยวิธีที่ถูกต้อง
3 คิดก่อนกินเสมอ
เด็กๆ เป็นวัยที่ยังต้องการการเจริญเติบโต และอาหารครบหมู่ซึ่งมีรายละเอียดแตกต่างจากผู้ใหญ่ ให้เน้นว่าวันไหนที่ไม่ได้ออกแรง-ออกกำลังมาก ให้ลดแป้งขัดสี เช่น ข้าวขาว อาหารทำจากแป้ง ฯลฯ และน้ำตาลลง และลดน้ำตาลในรูปเครื่องดื่มทุกประเภท วิธีที่ดีคือ เปลี่ยนข้าวขาวเป็นข้าวกล้อง และเปลี่ยนขนมปังขาวเป็นขนมปังโฮลวีท อย่างน้อยครึ่งหนึ่ง ลดปริมาณอาหารสะดวกซื้อ และฟาสต์ฟู้ดยอดฮิตทั้งหลายแหล่ และเพิ่มผัก ผลไม้ และถั่วมากขึ้น
HTML::image(ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit