ขณะนี้ (29 พ.ค. 2560) ผู้ประกอบการได้รับความช่วยเหลือจากมาตรการพัฒนาเอสเอ็มอีตามแนวประชารัฐ ประกอบด้วย แหล่งเงินทุนอัตราดอกเบี้ยต่ำพิเศษ 1)โครงการกองทุนพัฒนาเอสเอ็มอีตามแนวประชารัฐ วงเงิน 20,000 ลบ. อัตราดอกเบี้ย 1% เพื่อส่งเสริมและสนับสนุน SMEs กลุ่มยุทธศาสตร์จังหวัด ผู้ประกอบการเข้าสู่ระบบ 438 ราย วงเงิน 1,944 ลบ. อนุมัติ 15 ราย วงเงิน 45 ลบ. เฉลี่ยรายละ 3 ลบ. 2)โครงการสินเชื่อ SMEs Transformation Loan วงเงิน 15,000 ลบ. อัตราดอกเบี้ย 3% เพื่อส่งเสริมและสนับสนุน SMEs กลุ่มนิติบุคคล เข้าสู่ระบบ 1,694 ราย วงเงิน 7,562 ลบ. อนุมัติ 306 ราย วงเงิน 1,123 ลบ. เฉลี่ยรายละ 3.6 ลบ. แบ่งเป็น 2.1)กลุ่มผู้ประกอบการที่มีปัญหาด้านสภาพคล่อง 93 ราย วงเงิน 333 ลบ. คิดเป็น 29.7%, 2.2)กลุ่มผู้ประกอบการใหม่(New/Startup) หรือที่มีนวัตกรรม 14 ราย วงเงิน 45 ลบ. คิดเป็น 4.07%, และ 2.3) กลุ่มผู้ประกอบการที่มีแนวโน้มเติบโตสู่อุตสาหกรรม 4.0 จำนวน 199 ราย วงเงิน 743 ลบ. คิดเป็น 66.25%
แหล่งเงินทุนไม่มีอัตราดอกเบี้ย ประกอบด้วย 1)โครงการฟื้นฟูกิจการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม วงเงิน 2,000 ลบ. เพื่อส่งเสริมและสนับสนุน SMEs ที่ประสบปัญหาสภาพคล่อง อนุมัติ 269 ราย วงเงิน 237 ลบ. เฉลี่ยรายละ 0.8 ลบ. และ 2)โครงการเงินทุนพลิกฟื้นวิสาหกิจขนาดย่อม วงเงินกองทุน 1,000 ลบ. เพื่อส่งเสริมและสนับสนุน SMEs ที่ขาดเงินทุนหมุนเวียน อนุมัติ 243 ราย วงเงิน 157 ลบ. เฉลี่ยรายละ 0.6 ลบ. โดยเป็นผู้ประกอบการ SMEs คนตัวเล็ก วงเงินไม่เกิน 2 แสนบาท ได้รับความช่วยเหลือจำนวน 55 ราย วงเงิน 11 ลบ.
นอกจากนี้ ธพว. ยังปล่อยสินเชื่อฟื้นฟู SMEs จากอุทกภัยภาคใต้ ปี 2560 อัตราดอกเบี้ย 3% เพื่อช่วยเหลือ SMEs ที่ได้รับความเสียหายในเขตพื้นที่ประกาศภัยพิบัติ 12 จังหวัด มี SMEs เข้าสู่ระบบ 239 ราย วงเงิน 767 ลบ. อนุมัติ 125 ราย วงเงิน 288 ลบ. เฉลี่ยรายละ 2.3 ลบ.
"จากยอดยื่นกู้และยอดอนุมัติของแต่ละจังหวัดที่ส่งเข้ามาผ่านสาขา ธพว. กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม และสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัด ตลอดจนศูนย์สนับสนุนและช่วยเหลือ SMEs (SME Support & Rescue Center) แสดงให้เห็นถึงกระแสตอบรับที่ดีจากผู้ประกอบการที่ยังประสงค์ผลักดันดำเนินธุรกิจให้ก้าวหน้าและเติบโตต่อเนื่อง ซึ่งจะช่วยให้ระบบธุรกิจมีเงินทุนหมุนเวียน เกิดการสร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างรายได้ ส่งผลให้เศรษฐกิจฐานรากเข้มแข็ง โดยเฉพาะ SMEs คนตัวเล็กที่เป็นกลุ่มเป้าหมายหลัก ที่ต้องการผลักดันให้มีวิถีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น สามารถพัฒนาต่อยอดภาคอุตสาหกรรมท้องถิ่นให้มีความพร้อมในการดำเนินธุรกิจ และภายในเดือน มิ.ย. นี้ คาดว่าจะมีผู้ประกอบการได้รับการอนุมัติเงินทุนประมาณ 12,000 ลบ. จากมาตรการดังกล่าวนี้"นายสมชาย กล่าวเพิ่มเติม
ทั้งนี้ ตั้งแต่เดือน มิ.ย. 2560 เป็นต้นไป ธพว. ในฐานะหน่วยงานร่วมในการบริหารงานโครงการกองทุนพัฒนา เอสเอ็มอีตามแนวประชารัฐ จะร่วมลงพื้นที่เดินหน้าจัดงานสัมมนาเชิงปฏิบัติการ "คลินิกเอสเอ็มอีสัญจรแนวประชารัฐ" ซึ่งเมื่อวันที่ 24 พ.ค. ที่ผ่านมา ท่านนายกรัฐมนตรี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้ลงพื้นที่เปิดตัวนำร่องจังหวัดสงขลาไปแล้วนั้น และอีก 7 จังหวัดที่จะจัดได้แก่ จังหวัดชลบุรี จังหวัดนครปฐม จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดพิษณุโลก จังหวัดกระบี่ จังหวัดอุบลราชธานี และจังหวัดอุดรธานี โดยจะมีเจ้าหน้าที่ร่วมออกบูธให้คำปรึกษาแนะนำ พร้อมรับความประสงค์ยื่นกู้ภายในงาน
*ผู้ประกอบการ SMEs ที่สนใจกองทุนพัฒนาเอสเอ็มอีตามแนวประชารัฐ ท่านสามารถแสดงความประสงค์ ยื่นคำขอกู้ได้ที่ สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัด ศูนย์สนับสนุนและช่วยเหลือ SMEs (SME Support & Rescue Center) กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือ ธพว. *สินเชื่อ SMEs Transformation Loan หรือสินเชื่ออื่นๆ ของธนาคาร สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ Call Center 1357 หรือ ธพว.ทุกสาขาทั่วประเทศ และติดตามกิจกรรมดีๆ ผ่านช่องทาง facebook.com/SMEDevelopmentBank *โครงการฟื้นฟูกิจการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมและโครงการเงินทุนพลิกฟื้นวิสาหกิจขนาดย่อม สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 0-2278-8800
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit