"ก่อนจะขายที่สวนยางเคยมีสัตวบาลของซีพีเอฟมาพูดคุยกับครอบครัวเรา แนะนำว่ากำลังขยายโครงการเลี้ยงหมูขุนในอำเภอสว่างวีระวงศ์ อุบลราชธานี บอกอย่างละเอียดว่าต้องทำอะไร มีรายจ่ายเท่าไหร่ และ รายได้ที่จะได้รับเป็นอย่างไร ตอนนั้นเราแค่ฟังไว้เป็นข้อมูลแต่ยังไม่กล้าลงทุนเพราะเราเคยแต่ทำนา ไม่เคยเลี้ยงสัตว์มาก่อน ทิ้งระยะเวลามาเกือบปีจนขายสวนยางได้เงินจำนวนนี้มา ตอนแรกอยากเก็บไว้ก่อนกับเอาไปซื้อของที่อยากได้ แต่สุดท้ายเราก็มานึกถึงอาชีพเลี้ยงหมูและมองว่าถ้าเป็นอาชีพเราจะมีเงินมากกว่านี้ จึงกลับไปปรึกษากับทางซีพีเอฟอีกครั้ง" สมพงค์ บอกถึงการหันเหชีวิตจากชาวนามาเป็นคนเลี้ยงหมู กับโครงการส่งเสริมอาชีพการเลี้ยงสุกรขุนแก่เกษตรกรรายย่อย หรือโครงการฝากเลี้ยงกับ บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือซีพีเอฟ
สมพงค์ บอกว่า หลังจากที่ได้ศึกษาระบบคอนแทรคฟาร์มอย่างจริงจัง พบว่าเป็นระบบที่ดี มีบริษัทคอยสนับสนุน ที่สำคัญความเสี่ยงเรื่องตลาดยังเป็นศูนย์ เพราะบริษัทเป็นตลาดรองรับให้ เขาจึงตัดสินใจทำฟาร์มหมูทันที ด้วยเงินสดที่มีอยู่ไม่ได้กู้ยืมใคร โดยแบ่งที่ดินบางส่วนบนที่นา 12 ไร่ของครอบครัวขันคำ ที่ ต.แก่งโดม อ.สว่างวีระวงศ์ จ.อุบลราชธานี เพื่อสร้าง "สายทองฟาร์ม" ในปี 2555 เป็นการเลี้ยงหมูขุน ความจุ 600 ตัว ในโรงเรือนปิดที่สามารถปรับอากาศภายในได้ ที่เรียกว่าโรงเรือนอีแวปตามมาตรฐานของบริษัท โรงเรือนแบบนี้เหมือนหมูได้นอนในห้องแอร์เย็นๆตลอดเวลา
กำลังหลักในการเลี้ยงหมูนอกจากสมพงค์แล้ว ยังมี สายทอง ขันคำ ผู้เป็นบุตรสาว มาช่วยเลี้ยงหมูด้วยสายทองเล่าว่า ก่อนจะเริ่มเอาหมูเข้าเลี้ยงสัตวบาลของซีพีเอฟพาไปศึกษาดูงานการเลี้ยงจากเกษตรกรรุ่นพี่ที่ทำฟาร์มมาก่อน เพื่อให้รู้ว่าในแต่ละวันเกษตรกรจะต้องทำอะไรบ้าง รุ่นพี่มีประสบการก็จะถ่ายทอดเทคนิค วิธีการที่ถูกต้อง รวมทั้งยังได้ร่วมอบรมพื้นฐานการเลี้ยงร่วมกับเพื่อนเกษตรกรรุ่นใหม่ๆหลายคน หลังจากเริ่มรับหมูเข้าเลี้ยงทางสัตวบาลก็เข้ามาช่วยดูแลแนะนำการเลี้ยงตลอดระยะเวลากว่า 5-6 เดือนจนกระทั่งจับหมูออกขายได้
"เลี้ยงหมูได้รุ่นเดียวเราก็มองเห็นถึงอนาคตที่ดีแล้ว เพราะเลี้ยงหมูไม่ยุ่งยาก มีวิธีการดูแลที่เราสามารถทำได้ เรียนรู้เทคนิคได้ เวลาทำงานก็เย็นสบายเพราะโรงเรือนปรับอากาศได้ ไม่เหนื่อยเหมือนทำนา รายได้จากการเลี้ยงรุ่นแรกพอหักค่าไฟและค่าใช่จ่ายอื่นแล้ว มีเงินเหลือประมาณ 2 แสนบาท ทุกคนดีใจมาก เพราะได้อย่างที่เราตั้งใจไว้ หมูโตดี เสียหายน้อย รายได้ก็มากตามไปด้วย จึงตัดสินใจขึ้นฟาร์มใหม่ "สมพงค์ฟาร์ม" บนที่ดินผืนเดียวกัน คราวนี้กู้เงินจากธนาคารมาสร้าง และเหลืออีกแค่ 2 ปีก็จ่ายคืนเงินกู้ครบแล้ว ตอนนี้ญาติๆที่เคยค้านเราในตอนแรกเพราะกลัวว่าจะทำไม่ได้ และกลัวไม่สำเร็จอย่างที่บริษัทมาแนะนำ เขาเห็นความสำเร็จของเราก็หันมาลงทุนเลี้ยงหมูอยู่ในกลุ่มเดียวกัน 6 รายแล้ว พวกเราดีใจที่มีส่วนทำให้ญาติๆมีอยู่มีกินดีขึ้นกว่าเดิม" สายทอง บอกอย่างภูมิใจ
นอกจากนี้ สายทองยังเปิดเผยถึงเคล็ดลับการเลี้ยงหมูให้ประสบความสำเร็จว่า ยึดหลักการพื้นฐานการเลี้ยงหมูที่บริษัทแนะนำ ในเรื่อง "5 หัวใจการเลี้ยงสัตว์" ตั้งแต่การมีพันธุ์หมูที่ดี การใช้อาหารทีมีโภชนาการเหมาะสมกับหมูแต่ละช่วงอายุ การเลี้ยงในโรงเรือนอีแวปที่ปรับอากาศได้ทำให้หมูอยู่สบาย จึงไม่เครียด ไม่ป่วย และไม่จำเป็นต้องใช้ยารักษา เพียงใส่ใจกับการทำวัคซีนตามที่สัตวแพทย์กำหนดอย่างเคร่งครัด ประกอบกับมีระบบการเลี้ยงที่ดีมีมาตรฐาน ที่สำคัญคือการป้องกันโรคอย่างเข้มงวดห้ามไม่ให้คนหรือรถจากภายนอกเข้าฟาร์มเด็ดขาด และการเลี้ยงของที่นี่ยังเน้นการดูแลหมูช่วงเล็กๆอย่างดีที่สุด โดยต้องดูเรื่องความอบอุ่น สังเกตการนอนของหมูที่ต้องนอนกระจายตัวไม่นอนสุม ควบคุมการระบายอากาศให้ดี โรงเรือนและคอกเลี้ยงสะอาดไม่มีฝุ่น
นอกจากการจะใส่ใจกับเลี้ยงหมูอย่างดีแล้ว เรื่องชุมชนและสิ่งแวดล้อมก็เป็นอีกส่วนที่ฟาร์มแห่งนี้ให้ความสำคัญ เพื่อให้ฟาร์มอยู่กับชุมชนได้อย่างยั่งยืน ด้วยการใช้ระบบไบโอแก๊สเพื่อบำบัดน้ำและของเสียที่เกิดขึ้นในระหว่างการเลี้ยง ทำให้ได้ทั้งก๊าซมีเทนสำหรับนำมาปั่นเป็นกระแสไฟฟ้าลดค่าใช้จ่ายด้านไฟฟ้าได้มากถึงกว่า 40% และยังช่วยลดกลิ่น แมลง และฝุ่นละอองได้เป็นอย่างดี และสายทองยังปลูกต้นไม้ไว้หลังโรงเรือนเพื่อช่วยดูดซับกลิ่นอีกขั้นหนึ่งด้วย
"เราสรุปได้เลยว่าการเลือกมาทำฟาร์มหมูในระบบคอนแทรคฟาร์มกับซีพีเอฟ เป็นการเลือกที่ถูกต้อง และไม่มีความเสี่ยงอย่างที่คนอื่นเคยทักท้วง ถ้าวันนั้นเอาเงินไปซื้อรถ เราก็จะมีแค่รถ แต่ปัจจุบันเรามีรถจากเงินเลี้ยงหมู เรามีความเป็นอยู่ที่ดี มีรายได้ทั้งจากการเลี้ยงหมู การขายขี้หมูตากแห้งหลังผ่านระบบไบโอแก๊สปีละเกือบ 3 หมื่นบาท เราทำนาโดยใช้ขี้หมูนี้เป็นปุ๋ยช่วยลดต้นทุนได้อีก ที่สำคัญเรายังภูมิใจที่ได้เป็นเกษตรกรตัวอย่างทำหน้าที่ถ่ายทอดความสำเร็จและเคล็ดลับให้เพื่อนเกษตรกรรุ่นใหม่ๆ ได้นำไปปรับใช้ให้เหมาะกับฟาร์มของตัวเอง เพื่อช่วยกันผลิตหมูมีมาตรฐาน ปลอดสาร ปลอดภัย" สายทอง กล่าวสรุป
ความสำเร็จของ "สายทองฟาร์ม" และ "สมพงค์ฟาร์ม" เป็นอีกหนึ่งแรงบันดาลใจให้กับคนที่ต้องการมีอาชีพที่มั่นคง บนพื้นฐานของการดำเนินธุรกิจที่มีมาตรฐาน ซึ่งผลที่สุดแล้วคนที่จะได้รับประโยชน์มากที่สุดก็คือผู้บริโภคและเกษตรกรเอง./
HTML::image( HTML::image( HTML::image(ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit