ผศ.ดร.ภานวีย์ โภไคยอุดม รองอธิการบดี ฝ่ายนโยบายและแผน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร หรือ เอ็มยูที (MUT) เปิดเผยว่า "เด็กและเยาวชนไทยปัจจุบัน มีแนวคิด พฤติกรรม และรูปแบบการใช้ชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไปจากเมื่อก่อนมาก การพัฒนาระบบการศึกษา จึงจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนทั้งในส่วนของรูปแบบการเรียนการสอน และเนื้อหาหลักสูตรให้มีความน่าสนใจ กระตุ้นให้เกิดความอยาก ใคร่รู้ มากกว่าการสอนแบบเดิม เน้นการสร้างความรู้มากกว่าการท่องจำ รวมทั้งต้องสร้างบรรยากาศ สภาพแวดล้อมให้เหมาะสมเอื้อต่อการพัฒนาองค์ความรู้ด้วย
สถาบันอนาคตไทยศึกษา ระบุว่า ปัญหาการศึกษาของเด็กไทยมีปัญหา ตั้งแต่เด็กวัยก่อนเรียนไปจนถึงมหาวิทยาลัย ร้อยละ 20 ของเด็กก่อนวัยเรียนมีพัฒนาการที่ต่ำกว่าวัย เด็กชั้นประถมศึกษาประมาณ 140,000 คนอ่านหนังสือไม่ออก และกว่า 270,000 คนเขียนหนังสือไม่ได้ ส่วนเด็กชั้นมัธยมศึกษากว่า 1 ใน 3 ไม่สามารถอ่านจับใจความได้ ส่วนการที่จะเข้ามหาวิทยาลัยชั้นนำได้นั้น จำเป็นต้องเข้ามาเรียนในกรุงเทพ ดังเห็นได้จากโรงเรียนที่คะแนนโอเน็ตสูงสุด 50 โรงเรียน จำนวน 34 โรงเรียนอยู่ในกรุงเทพ ส่วนนักศึกษามหาวิทยาลัย ส่วนใหญ่เมื่อเรียนจบ จะได้งานต่ำกว่าวุฒิที่จบการศึกษา และเงินเดือนไม่สูงนัก
ปัญหาดังกล่าว ส่วนหนึ่งเกิดจากระบบการสอนแบบเดิมที่มักจะตีกรอบความคิด สอนให้ท่องจำ ไม่เน้นการคิดวิเคราะห์ ทำให้เด็กหรือเยาวชนรุ่นใหม่ขาดอิสระทางความคิด ขาดความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการ เกิดความรู้สึกเบื่อหน่ายในการเรียน นำไปสู่การพัฒนาบุคลากรพร้อมใช้ในอนาคตไม่เป็นไปตามเป้าหมาย ดังนั้น MUT จึงได้ออกแคมเปญรณรงค์ #หยุดสาดสีใส่เด็ก เพื่อศึกษาถึงความคิดและความต้องการของเด็กและเยาวชนต่อระบบการศึกษาปัจจุบัน รวมทั้งกระตุกต่อมความคิดต่อระบบการศึกษาไทยจากคนไทยทุกคน
ผู้ที่ต้องการแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับระบบการศึกษาของไทย สามารถแสดงความคิดเห็นและติด แฮชแท็ก (Hashtad) #หยุดสาดสีใส่เด็ก ได้ทั้งในสื่อสังคมออนไลน์ Facebook และ Instagram
"ถึงเวลาแล้วที่ ระบบการศึกษาไทย จะก้าวผ่านสู่การศึกษา 4.0 ที่มุ่งเน้นการเรียนการสอนแบบ Active Learning ส่งเสริมให้เกิดการคิดวิเคราะห์ ประมวลผลความรู้มากกว่าการท่องจำ เช่นเดียวกับ MUT ที่ได้ปรับและเปลี่ยนเนื้อหารายวิชาให้เหมาะสมกับรูปแบบกิจกรรม เพื่อกระตุ้นความสนใจและความคิดสร้างสรรค์จากผู้เรียน โดยพบว่า กลุ่มนักศึกษามีความสุขกับการเรียน ส่งผลให้มีผลการเรียนที่ดีขึ้นมากเดิมกว่าร้อยละ 70" รองอธิการบดีกล่าวสรุป
สำหรับผู้สนใจสามารถสอบถามรายละเอียดได้ที่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร โทรศัพท์ 02-988-4021-4 เว็บไซต์ www.mut.ac.th
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit