ดร.ณัฐพล รังสิตพล กรรมการสถาบันยานยนต์ ผู้ทำการแทนผู้อำนวยการสถาบันยานยนต์ กล่าวถึง นโยบายสำคัญของภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมยานยนต์ ที่สอดคล้องกับพันธกิจของสถาบันฯ ในการเป็นหน่วยงานที่ขับเคลื่อนโครงการต่างๆ ของภาครัฐ ซึ่งในขณะนี้โครงการที่ต้องการให้ทุกภาคส่วนช่วยกันผลักดัน ให้เห็นผลเป็นรูปธรรมอย่างเร็วที่สุด คือ "โครงการระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor) หรือ EEC" เนื่องจากนักลงทุนต่างประเทศได้ให้ความสนใจในเรื่องนี้เป็นพิเศษ ซึ่ง EEC เป็นแผนยุทธศาสตร์ภายใต้นโยบายประเทศไทย 4.0 โดยมีเป้าหมายเพื่อยกระดับพื้นที่เขตเศรษฐกิจภาคตะวันออก "World - Class Economic Zone" รองรับการลงทุนอุตสาหกรรมซุปเปอร์คลัสเตอร์ และอุตสาหกรรมเป้าหมายของประเทศ อันจะเป็นกลไกขับเคลื่อนเศรษฐกิจในอีก 20 ปีข้างหน้า แทนที่ Eastern Seaboard เดิม โดยคาดการณ์ว่าการลงทุนใน EEC จะสามารถกระตุ้นให้เศรษฐกิจขยายตัวเฉลี่ยราว 5% ต่อปี มีการลงทุนในช่วง 5 ปี กว่า 1.5 ล้านล้านบาท โดยเป็นการลงทุนในกลุ่ม 10 อุตสาหกรรมเป้าหมายของรัฐบาลประมาณ 1 แสนล้านบาท โครงการนี้ยังช่วยดึงดูดนักท่องเที่ยวกว่า 10 ล้านคนต่อปี สร้างรายได้เพิ่มให้กับประเทศมูลค่าไม่ต่ำกว่า 4.5 แสนล้านบาทต่อปี ประกอบกับข้อมูลจากเลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน หรือ บีโอไอ ที่เปิดเผยว่า นักลงทุนมีความสนใจที่จะลงทุนในพื้นที่ EEC มากขึ้น เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่มีความพร้อม โดยในช่วงปี 2558 - 2559 มีนักลงทุนยื่นขอรับการส่งเสริมการลงทุนผ่านโครงการต่างๆ ในพื้นที่ 3 จังหวัด คือ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี และระยอง รวมแล้ว 2.87 แสนล้านบาท ซึ่งในไตรมาสแรกของปี 2560 มีการยื่นขอรับส่งเสริมการลงทุนในอุตสาหกรรมเป้าหมาย 1.6 หมื่นล้านบาท คาดว่าเมื่อแผนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานมีความชัดเจนและ พ.ร.บ. อีอีซี ประกาศใช้ จำนวนนักลงทุนเป้าหมายจะเพิ่มขึ้น โดยได้ตั้งเป้าหมายไว้ว่าจะมีการยื่นขอรับส่งเสริมฯในอุตสาหกรรมเป้าหมายในพื้นที่ EEC 1.5 แสนล้านบาท
ดร.ณัฐพล กล่าวว่า "การลงทุนในระยะ 5 ปีแรก (พ.ศ. 2560 – 2563) เป็นการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน และการลงทุนเพื่อสนับสนุน 10 อุตสาหกรรมเป้าหมายที่สอดคล้องกับนโยบายประเทศไทย 4.0 ซึ่งหนึ่งในนั้นคือ อุตสาหกรรมยานยนต์อนาคตที่อยู่ในกลุ่มอุตสาหกรรมเดิม หรือ First S-Curve และอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ รวมถึงอุตสาหกรรมการบินและโลจิสติกส์ ที่อยู่ในกลุ่มอุตสาหกรรมใหม่ หรือที่เรียกว่า New S-Curve นับเป็นการยกระดับคุณภาพการคมนาคม เพิ่มการเชื่อมต่อภายในประเทศและภูมิภาค ให้เป็นศูนย์กลางการคมนาคมและโลจิสติกส์ของภูมิภาคอาเซียน ในอนาคต และขณะนี้นักลงทุนชาวต่างชาติต่างให้ความสนใจพร้อมที่จะเข้ามาลงทุน โดยรัฐบาลคาดการณ์ว่าจะสามารถดึงดูดการลงทุนได้มากกว่า 1.9 ล้านล้านบาท จากภาคเอกชน โดยมีบริษัทผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่ อาทิ โตโยต้า นิสสัน และ บี เอ็ม ดับเบิลยู ที่ต่างให้ความสนใจในโครงการ"
มุมมองของสถาบันยานยนต์ต่ออุตฯ ยานยนต์ยุค 4.0 กับการปรับตัวของผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ในปัจจุบัน ไปสู่ผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์อนาคต
ดร.ณัฐพล ได้ให้ความเห็นต่ออุตสาหกรรมยานยนต์ในยุค 4.0 และแนะแนวทางสำหรับผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ในการปรับตัวเพื่อก้าวเข้าสู่ยานยนต์ไฟฟ้า ว่า "เรากำลังก้าวเข้าสู่ยุค 4.0 ซึ่งเป็นยุคของการบูรณาการโลกของการผลิต เข้ากับการเชื่อมต่อทางเครือข่ายในรูปแบบ "The Internet of Things (IoT)" ผู้ผลิตชิ้นส่วนฯต้องตื่นตัว และยอมรับเทคโนโลยีใหม่ๆที่จะเกิดขึ้นเป็นอันดับแรก และต้องดูเรื่องความชำนาญของตนเอง ที่สามารถต่อยอดไปสู่การผลิตชิ้นส่วนในยานยนต์ไฟฟ้าเป็นหลัก ตัวอย่างที่เห็นได้ชัด คือ คนไทยมีความถนัดในกระบวนการขึ้นรูปโลหะ โดยอาจต่อยอดจากการหล่อโลหะ การหล่อขึ้นรูป ไปสู่การหล่อโครงมอเตอร์และชิ้นส่วนอื่นๆ โดยใช้เครื่องจักรเดิม แต่หากจำเป็นต้องผลิตชิ้นส่วนที่ยากและมีความซับซ้อนขึ้น ก็อาจจำเป็นต้องสั่งซื้อเครื่องจักรและเทคโนโลยีเข้ามา รวมถึงการนำเอาระบบอัตโนมัติมาใช้ในส่วนที่จำเป็น โดย ณ ปัจจุบัน บีโอไอ ได้มีมาตรการสนับสนุนการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน มาตรการด้านการยกเว้นภาษีเครื่องจักรเพื่อการผลิตชิ้นส่วนแต่ละประเภท การส่งเสริมด้านการวิจัยและพัฒนาชิ้นส่วนยานยนต์ไฟฟ้า รวมถึงเงินสนับสนุนด้านต่างๆ เป็นต้น"
"กระทรวงอุตสาหกรรม และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง กำลังดำเนินการด้านนโยบายการสนับสนุนการผลิตรถยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า (EV) ให้เกิดเป็นรูปธรรมโดยเร็วที่สุด ซึ่งจากการประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่าน มีมติเห็นชอบมาตรการของกระทรวงการคลัง กำหนดโดยกรมสรรพสามิต ให้จัดเก็บภาษีสรรพสามิตในอัตราพิเศษ สำหรับรถยนต์ไฟฟ้าไฮบริดและรถยนต์ไฟฟ้าปลั๊กอินไฮบริด โดยจะลดอัตราภาษีสรรพสามิตลงจากอัตราปกติ 50% ขณะที่รถยนต์ไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่จากเดิมเสียภาษี ที่ 10% ลดลงเหลือ 2%" ดร.ณัฐพล กล่าวเสริม
เผยความคืบหน้าศูนย์ทดสอบยานยนต์และยางล้อแห่งชาติ แรงหนุน EEC
ดร.ณัฐพล กล่าวเพิ่มเติม เกี่ยวกับความคืบหน้าการจัดตั้ง โครงการศูนย์ทดสอบยานยนต์และยางล้อแห่งชาติว่า "ณ ตอนนี้ ในเฟสแรกที่เป็นสนามทดสอบยางล้อ R117 ซึ่งคาดว่าจะดำเนินการแล้วเสร็จในปลายปีนี้ เพื่อเตรียมการติดตั้งเครื่องมือและพร้อมเปิดให้บริการในช่วงต้นปี 2561 ส่วนสนามทดสอบที่เหลือทั้ง 7 สนาม มีเป้าหมายแล้วเสร็จในปี 2562 ซึ่งนับเป็นโอกาสอันดี ที่ศูนย์ทดสอบยานยนต์ฯ ที่ตั้งอยู่ในจังหวัดฉะเชิงเทรา ถือเป็น 1 ใน 3 ของจังหวัดนำร่องโครงการ EEC และผมเชื่อว่าศูนย์ทดสอบยานยนต์ฯ แห่งนี้ สามารถช่วยอำนวยความสะดวกในการทดสอบมาตรฐานยานยนต์ และผลิตภัณฑ์ยานยนต์ที่เกี่ยวเนื่อง รวมถึงการให้คำปรึกษาแนะนำเกี่ยวกับการพัฒนานวัตกรรมด้านผลิตภัณฑ์ และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับยานยนต์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และครบวงจรในรูปแบบ One Stop Service"
สถาบันฯ จับมือ รี้ด เทรดเด็กซ์ จัดสัมมนา Automotive Summit 2017
"สำหรับ งานออโตโมทีฟ ซัมมิท 2017 (Automotive Summit 2017) ที่สถาบันยานยนต์ ร่วมจัดกับ รี้ด เทรดเด็กซ์ มาเป็นปีที่ 5 ติดต่อกันนั้น ภาพรวมการจัดงานในปีที่ผ่านมา เรามุ่งไปสู่การเตรียมความพร้อมไทยให้เป็นฐานการผลิตยานยนต์ของโลกที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และได้รับเสียงตอบรับจากผู้เข้าร่วมสัมมนาเป็นอย่างดี มีหัวข้อสัมมนาที่น่าสนใจ วิทยากรที่มีความเชี่ยวชาญมาให้ความรู้และแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ผู้เข้าร่วมงานยังได้มีโอกาสเยี่ยมชมบูธที่มาจัดแสดงภายในงาน ส่งผลให้เกิดความพึงพอใจในภาพรวมการจัดงานกว่า 90% และจากข้อมูลสรุปในปีที่ผ่านมา พบว่า ผู้เข้าร่วมงานสัมมนา เป็นผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์และค่ายรถยนต์ ร้อยละ 43 รองลงมาเป็นหน่วยงานด้านการวิจัยและพัฒนา ภาคการศึกษา ภาคราชการ ผู้ผลิตด้าน REM และผู้ที่สนใจทั่วไป ซึ่งเป็นคนที่อาศัยหรือทำธุรกิจอยู่ในประเทศไทย ร้อยละ 70 และมาจากยุโรปรวมถึงภูมิภาคอาเซียน อีกร้อยละ 30 นับเป็นกิจกรรมที่ผลักดันและต่อยอดให้เกิดความรู้ ความเข้าใจกับบุคลากรในอุตสาหกรรมยานยนต์ทุกภาคส่วน สานต่อพันธกิจหลักของสถาบันฯ โดยในปีนี้ จัดขึ้นในคอนเซ็ปต์ "มุ่งสู่อุตสาหกรรมยานยนต์ 4.0" (Driving toward Automotive Industry 4.0) ภายใต้งาน แมนูแฟกเจอริ่ง เอ็กซ์โป 2017 และถือเป็นหนึ่งในงานสำคัญของวงการยานยนต์ในระดับภูมิภาคอาเซียน ที่จะมอบองค์ความรู้เกี่ยวกับยานยนต์อนาคต นวัตกรรมและการออกแบบยานยนต์ในอนาคต เทคโนโลยีและมาตรฐานการทดสอบรถยนต์ รวมถึงการปรับตัวของผู้ประกอบการเพื่อให้ก้าวทันการผลิตในยุค 4.0 ที่สอดรับกับนโยบายภาครัฐในการพัฒนายานยนต์อนาคต และสนับสนุนผู้ประกอบการให้มีศักยภาพในการแข่งขันได้ในระดับภูมิภาคอาเซียน โดยงานนี้จะจัดขึ้นระหว่าง วันที่ 21 - 22 มิถุนายน 2560 ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค"
ในส่วนของไฮไลท์วันแรกนั้น สถาบันฯ ได้รับเกียรติจาก ท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ดร. อุตตม สาวนายน เป็นประธานในพิธีเปิด และกล่าวปาฐกถาพิเศษ ในหัวข้อ "ความร่วมมือเพื่ออนาคตของอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย ภายใต้โครงการระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก" และ ผู้แทนจาก บริษัท แอพพลัส อีเดีย ด้า ผู้เชี่ยวชาญในการออกแบบสนามทดสอบยานยนต์ระดับโลก บรรยายพิเศษ ในหัวข้อ "สนามทดสอบ…ที่เป็นมากกว่าแค่การทดสอบ" นับว่าเป็นปัจจัยหลักสำหรับการพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์ของไทยเพื่อก้าวสู่ความยั่งยืน และสร้างศักยภาพในการแข่งขัน ไม่ใช่เพียงแค่การทดสอบยานยนต์เท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงการให้และสร้างองค์ความรู้ การพัฒนาทักษะ และยังต่อยอดไปสู่การพัฒนายานยนต์อนาคต และยังมีวิทยากรชั้นนำระดับโลก อาทิ กรรมการผู้จัดการและซีอีโอ จาก บริษัท บี เอ็ม ดับเบิลยู แมนูแฟคเจอริ่ง (ประเทศไทย) ผู้นำด้านยานยนต์แห่งนวัตกรรม มาบรรยายในหัวข้อ "เทคโนโลยีและนวัตกรรมสำหรับยานยนต์ในอนาคต" ที่จะทำให้เราก้าวทันความเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมของยานยนต์ในอนาคต ที่มีการพัฒนาอย่างไม่หยุดนิ่ง ซึ่งนอกเหนือจากแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงไปสู่ยานยนต์อนาคตแล้ว บริษัท โรเบิร์ต บ๊อช ออโตโมทีฟ เทคโนโลยี (ประเทศไทย) ผู้นำด้านเทคโนโลยีและโซลูชั่น สำหรับอุตสาหกรรมยานยนต์ โดยประธานในภูมิภาคอาเซียน มานำเสนอด้าน "นวัตกรรมใหม่ๆ ของระบบส่งกำลัง" ซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่ได้ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อทำให้ยานยนต์นั้นมีประสิทธิภาพในการลดปริมาณก๊าซ CO2 ที่ปล่อยสู่ชั้นบรรยากาศ ได้ดียิ่งขึ้น"
ดร. ณัฐพล กล่าวเสริมว่า "เมื่อพูดถึงเทคโนโลยีและนวัตกรรมแล้ว สิ่งที่ขาดไม่ได้คือ มาตรฐานการทดสอบ โดยเฉพาะความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม นำไปสู่หัวข้อการสัมมนาในวันที่สอง โดย องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ) กับหัวข้อ "อนาคตของประสิทธิภาพการใช้ยานยนต์ในประเทศ" โดยเน้นการประเมินผลของมาตรการภาษีสรรพสามิตรถยนต์ใหม่ ที่จัดเก็บตามมลพิษก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ปลดปล่อยออกมาก (CO2 - based excise tax) ซึ่งแปรผันโดยตรงกับอัตราการสิ้นเปลืองเชื้อเพลิง (Fuel economy) ตั้งแต่ปี 2559 ที่มีการบังคับใช้ นอกจากนั้น Global Head โครงการ E-Mobility จาก บริษัท ทูฟ ซูด หน่วยงานด้านการทดสอบ ตรวจประเมิน และให้การรับรองการตรวจสอบ จะมาให้ความรู้ในหัวข้อ "การทดสอบแบตเตอรี่ และมาตรการการรองรับยานยนต์ไฟฟ้า ในตลาดโลก" และผู้ประกอบการยังจะได้รับฟังข้อมูลที่เป็นประโยชน์ในการเตรียมความพร้อมในกระบวนการผลิต เพื่อให้เกิดความคุ้มค่าที่สุด ในยุค 4.0 โดยผู้อำนวยการฝ่ายการตลาดและพัฒนาธุรกิจ จาก บมจ. เดลต้า อีเลคโทรนิคส์ (ประเทศไทย) ผู้ผลิตชิ้นส่วนอีเลคโทรนิคส์ ชั้นนำของโลก ที่จะนำตัวอย่างกรณีศึกษาด้าน "กระบวนการผลิตที่ล้ำสมัยและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม สำหรับอุตสาหกรรมยานยนต์" มานำเสนอ พร้อมกับ ประธานบริษัทและซีอีโอ จาก บมจ. อาปิโก้ ไฮเทค หนึ่งในผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ระดับโลก ที่จะมาแสดงให้เห็นถึงวิธีการปรับตัวของผู้ประกอบการไทย ในการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตให้ได้ปริมาณที่มากขึ้น ด้วยการใช้หุ่นยนต์อัตโนมัติ เพื่อก้าวสู่การเป็นองค์กรชั้นนำระดับโลกในอนาคต กับหัวข้อ "การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีระบบอัตโนมัติกับยานยนต์"
"ทั้งหมดเป็นแค่เพียงไฮไลท์ส่วนหนึ่งเท่านั้น และยังมีวิทยากรระดับโลกอีกกว่า 10 ท่าน ที่พร้อมให้ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมยานยนต์ ที่พร้อมจะช่วยขับเคลื่อนให้ผู้ประกอบการในประเทศไทยมุ่งสู่อุตสาหกรรมยานยนต์ 4.0 ในอนาคต และภายในงานยังมีการออกบูธของผู้สนับสนุน ที่เปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมสัมมนาได้สัมผัสกับอุปกรณ์ด้านการทดสอบยานยนต์ของจริง สุดท้ายนี้ ผมต้องขอขอบคุณ ผู้สนับสนุนหลักในการจัดงาน ครั้งนี้ อาทิ บริษัท ฟอร์ด เซลส์ แอนด์ เซอร์วิส (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท คอนทิเนนทอล ออโตโมทีฟ (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท บ๊อช ออโตโมทีฟ (ประเทศไทย) จำกัด และบริษัท เอดีที ซิสเต็มส์ (เอเชีย แปซิฟิก) จำกัด และหน่วยงานอื่นๆอีกมากมาย ที่ทำให้งานนี้ประสบผลสำเร็จด้วยดีมาโดยตลอด ขอบคุณครับ" ดร.ณัฐพล กล่าวปิดท้าย
การพัฒนาด้านเทคโนโลยี ปรับเปลี่ยนเครื่องจักรในการผลิต เพื่อให้ทันรองรับกับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น
นายดวงเด็ด ย้วยความดี รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท รี้ด เทรดเด็กซ์ จำกัด เผยถึง มูลค่าการนำเข้าเครื่องจักรเพื่อการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ในปี 2559 รวมทั้งสิ้น 50,383 ล้านบาท โดยมูลค่านำเข้าเครื่องจักรจาก 3 ประเทศสูงสุด คือ ประญี่ปุ่น คิดเป็นมูลค่า 21,023 ล้านบาท (ร้อยละ 41.73) รองลงมาคือ จีน มูลค่า 10,541 ล้านบาท (ร้อยละ 20.92) และไต้หวันมูลค่า 5,736 ล้านบาท (ร้อยละ 11.39) โดยแนวโน้มการนำเข้าเครื่องจักรเพื่อการผลิตยานยนต์ทางเลือกเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง สอดคล้องกับทิศทางของอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า สำหรับ 5 อุตสาหกรรมใหม่ ที่รัฐบาลถือเป็นอุตสาหกรรมอนาคตสำหรับประเทศไทย และของโลก ซึ่งปัจจุบัน มีบริษัทยักษ์ใหญ่ระดับโลกหลายราย ได้แสดงความสนใจที่จะเข้ามาลงทุนใช้ประเทศไทยเป็นฐานในการผลิต ประกอบด้วย 1) อุตสาหกรรมหุ่นยนต์เพื่อการอุตสาหกรรม (Robotics) เพื่อมาทดแทนแรงงานที่หายากขึ้นทุกวัน 2) อุตสาหกรรมการบินและโลจิสติกส์ (Aviation and Logistics) ซึ่งรัฐบาลกำหนดเป้าหมายการก่อสร้างบริเวณสนามบิน อู่ตะเภา 3) อุตสาหกรรมเชื้อเพลิงชีวภาพและเคมีชีวภาพ (Biofuels and Biochemicals) 4) อุตสาหกรรมดิจิทัล (Digital) และ 5) อุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร (Medical Hub) โดยผู้ประกอบการของไทยส่วนหนึ่งเป็นซัพพลายเชน ป้อนชิ้นส่วนต่าง ๆ ให้กับอุตสาหกรรมที่ต่างชาติเข้ามาลงทุนอยู่แล้ว เพียงแต่ต้องเพิ่มพัฒนาการทางด้านเทคโนโลยี ปรับเปลี่ยนเครื่องจักรในการผลิตเข้าไป เพื่อให้ทันรองรับกับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น
ในส่วนของการจัดงานสัมมนา Automotive Summit 2017 ไฮไลท์กิจกรรมภายในงาน "แมนูแฟกเจอริ่ง เอ็กซ์โป 2017" โดยสถาบันยานยนต์ และรี้ด เทรดเด็กซ์ ได้มีความร่วมมือระหว่างกันมาเป็นปีที่ 5 ถือว่าประสบผลสำเร็จด้วยดีมาตลอด นับเป็นเวทีที่ขับเคลื่อนให้เกิดการพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์ของประเทศ
แมนูแฟกเจอริ่ง เอ็กซ์โป 2017 ระหว่างวันที่ 21 - 24 มิถุนายน 2560 ณ ไบเทค มหกรรมแสดงเทคโนโลยีและโซลูชั่นเพื่ออุตสาหกรรมสนับสนุนและการผลิตที่ครบวงจร ประกอบด้วย 7 งานหลัก คือ InterPlas Thailand สำหรับการผลิตชิ้นส่วนอุตสาหกรรมภาชนะและบรรจุภัณฑ์พลาสติก InterMold Thailand เทคโนโลยีการผลิตและบำรุงรักษาแม่พิมพ์และชิ้นส่วน Automotive Manufacturing เทคโนโลยีเพื่อการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ครบวงจร Assembly Technology เทคโนโลยี ระบบและอุปกรณ์เพื่อสายการผลิตอัตโนมัติ Surface & Coatings สำหรับการเตรียมผิวโลหะ สี และการเคลือบผิว NEPCON Thailand เทคโนโลยีการประกอบการตรวจวัดและการทดสอบ สำหรับการผลิตอิเล็กทรอนิกส์และ M Fair มหกรรมเพื่อการจับคู่ทางธุรกิจ ระหว่างผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมสนับสนุนจากจากประเทศญี่ปุ่นกับผู้ประกอบการท้องถิ่นในอุตสาหกรรมสนับสนุนทั่วอาเซียน
โดยในปีนี้ได้รวบรวมเทคโนโลยีล่าสุดกว่า 2,452 แบรนด์ จาก 46 ประเทศ โดยมากกว่า 50 % เป็นแบรนด์จากญี่ปุ่น คาดว่าผู้เข้าชมคุณภาพกว่า 70,000 ราย ผู้ประกอบการต่างชาติ กว่า 5,000 ราย ยืนยันเข้าร่วมงาน คาดเงินสะพัดทางธุรกิจไม่ต่ำกว่า 5 พันล้านบาทไฮไลท์ กิจกรรม
• M-Fair งานเจรจาจับคู่ทางธุรกิจ สร้างพันธะมิตร รับช่วงการผลิตสำหรับ SMEs ญี่ปุ่นและผู้ประกอบการในอาเซียน
• 3D Technology Zone ส่วนแสดงพิเศษเทคโนโลยีการพิมพ์ 3 มิติ ตั้งแต่สแกนเนอร์ ซอฟต์แวร์ จนถึงเครื่องพิมพ์ เพื่อให้ออกมาเป็นชิ้นงานที่ต้องการ
• Smart 4.0 Zone พบแนวคิดสร้างสรรค์ทางอุตสาหกรรม กับการจัดแสดงการควบคุมเครื่องควบคุมอัตโนมัติ (PLC) เชื่อมต่อการสั่งงานผ่าน Internet of Things จากแบรนด์ชั้นนำ
• Plastic Innovation Showcase ชมตัวอย่างชิ้นงาน วัสดุแห่งอนาคต และนวัตกรรมด้านการผลิตพลาสติก
และโซลูชั่นเพื่อการผลิตจากกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ
>> ลงทะเบียนเข้าร่วมงานสัมมนา Automotive Summit 2017 ได้ที่ www.thaiauto.or.th
>> กำหนดการ Automotive Summit 2017 ได้ที่ http://www.thaiauto.or.th/2012/Automotive Summit/2017/Program.asp
*หมายเหตุ - เนื้อหาการสัมมนา Automotive Summit 2017 เป็นภาษาอังกฤษ
HTML::image( HTML::image( HTML::image(ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit