ปัจจัยที่มีผลต่ออันดับเครดิต
การผลิตแผ่นพิมพ์วงจรอิเล็กทรอนิกส์สำหรับอุตสาหกรรมรถยนต์มีอัตราส่วนกำไรสูง: KCE เน้นผลิตแผ่นพิมพ์วงจรอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้ในอุตสาหกรรมรถยนต์ซึ่งมีการเติบโตและอัตราส่วนกำไรที่สูง นอกจากนี้ในอุตสาหกรรมนี้ยังมีความยากลำบากสำหรับคู่แข่งรายใหม่ในการเข้าสู่อุตสาหกรรม (High Barrier to Entry) เมื่อเทียบกับอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์สำหรับสินค้าบริโภคทั่วไป (Consumer Electronics) ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ปัจจัยดังกล่าวได้ช่วยให้การดำเนินงาน และสถานะทางธุรกิจของ KCE ปรับตัวดีขึ้น แม้ว่าสภาวะอุตสาหกรรมจะมีความท้าทาย
ผู้ผลิตแผ่นพิมพ์วงจรอิเล็กทรอนิกส์สำหรับอุตสาหกรรมรถยนต์รายใหญ่: KCE เป็นหนึ่งในสิบของผู้ผลิตแผ่นพิมพ์วงจรอิเล็กทรอนิกส์สำหรับอุตสาหกรรมรถยนต์รายใหญ่ของโลกตามรายได้ ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา รายได้ของ KCE เติบโตอย่างแข็งแกร่ง โดยมีอัตราการเติบโตสูงกว่าอุตสาหกรรมโดยรวม นอกจากนี้ KCE ยังมีอัตราส่วนกำไรที่สูง เนื่องจากบริษัทมีโครงสร้างต้นทุนที่อยู่ในระดับต่ำจากกระบวนการผลิตที่มีประสิทธิภาพ และค่าแรงที่ต่ำในประเทศไทย
โอกาสการเติบโตในอนาคต: KCE ยังได้รับประโยชน์จากโอกาสการเติบโตในระยะยาวของผลิตภัณฑ์แผ่นพิมพ์วงจรอิเล็กทรอนิกส์สำหรับอุตสาหกรรมรถยนต์ จากการผลิตรถยนต์ที่เติบโตเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะรถยนต์ไฟฟ้า และการเพิ่มขึ้นของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ในรถยนต์ ในช่วงสามปีที่ผ่านมา รายได้ของ KCE เติบโตในอัตราเฉลี่ยร้อยละ 14 มาอยู่ที่ 1.38 หมื่นล้านบาทในปี 2559 จาก 9.3 พันล้านบาท ในปี 2556 ในขณะที่กระแสเงินสดจากการดำเนินงานก่อนการเปลี่ยนแปลงของเงินทุนหมุนเวียน (Funds Flow from Operations) เพิ่มขึ้นอย่างมากมาอยู่ที่ 4 พันล้านบาทในปี 2559 จาก 1.6 พันล้านบาทในปี 2556
สถานะทางการเงินที่แข็งแกร่ง: ฟิทช์คาดว่าถึงแม้ว่าการลงทุนของบริษัทจะยังคงอยู่ในระดับสูง KCE น่าจะยังคงมีกระแสเงินสดที่แข็งแกร่ง และสามารถรักษาอัตราส่วนหนี้สินให้อยู่ในระดับต่ำ ในช่วง 2-3 ปีข้างหน้า โดย Funds Flow from Operations ที่แข็งแกร่งในระดับประมาณ 3.7-4.4 พันล้านบาทต่อปีในช่วง 3 ปีข้างหน้า น่าจะเพียงพอสำหรับเงินลงทุน และเงินปันผลจ่าย ซึ่งส่งผลให้บริษัทน่าจะมีกระแสเงินสดสุทธิเป็นบวกในช่วงดังกล่าว ฟิทช์คาดว่าอัตราส่วนหนี้สินสุทธิที่ปรับปรุงแล้วต่อกระแสเงินสดจากการดำเนินงานก่อนการเปลี่ยนแปลงของเงินทุนหมุนเวียน (FFO-Adjusted Net Leverage) จะอยู่ในระดับต่ำกว่า 1 เท่าในช่วง 3 ปีข้างหน้า (สิ้นปี 2559 อยู่ที่ 0.9 เท่า)
ความเสี่ยงจากราคาทองแดง: KCE มีความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงของราคาวัตถุดิบ โดยเฉพาะราคาทองแดง ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 8 ของต้นทุนการผลิต ฟิทช์คาดว่าราคาทองแดงที่มีการเปลี่ยนแปลงร้อยละ 10 จากราคาที่บริษัทคาดไว้น่าจะมีผลกระทบต่ออัตราส่วนกำไรจากการดำเนินงานก่อนดอกเบี้ยจ่าย ภาษี ค่าเสื่อม ค่าตัดจำหน่าย ต่อรายได้ (EBITDA Margin) ประมาณร้อยละ 0.8 ฟิทช์คาดว่าราคาทองแดงจะปรับตัวสูงขึ้นในปี 2560 และส่งผลให้ EBITDA Margin ของ KCE อาจลดลงมาอยู่ที่ประมาณร้อยละ 28 (ปี 2559 อยู่ที่ร้อยละ 29) ถึงแม้ว่าบริษัทจะยังคงได้รับประโยชน์การกระบวนการผลิตที่มีประสิทธิภาพขึ้นจากกระบวนการผลิตของโรงงานใหม่ บริษัทมีการเสนอการเปลี่ยนแปลงราคาของผลิตภัณฑ์ปีละหนึ่งครั้ง ซึ่งทำให้บริษัทสามารถเจรจาเพิ่มราคาผลิตภัณฑ์ในการเสนอราคาครั้งต่อไปหากต้นทุนราคาทองแดงมีแนวโน้มสูงขึ้น อย่างไรก็ตามการส่งผ่านต้นทุนราคาทองแดงนั้นขึ้นอยู่กับอำนาจการต่อรองระหว่างบริษัทและลูกค้า
การกระจุกตัวของรายได้; ความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน: ปัจจัยเสี่ยงหลักของ KCE ประกอบด้วยการที่บริษัทมีกลุ่มลูกค้าที่กระจุกตัว การแข่งขันด้านราคาที่สูง และความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ นอกจากนี้ KCE ยังมีความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน โดยการแข็งค่าของเงินบาทเมื่อเทียบกับสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐฯ อาจส่งผลให้บริษัทรับรู้รายได้ในรูปสกุลเงินบาทลดลง
การกำหนดอันดับเครดิตโดยสรุป
สถานะทางธุรกิจของ KCE ได้รับการสนับสนุนจากกลยุทธ์ของบริษัทที่เน้นผลิตแผ่นพิมพ์วงจรอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้ในอุตสาหกรรมรถยนต์ ซึ่งมีการเติบโต และอัตราส่วนกำไรที่สูง นอกจากนี้ยังมีความยากลำบากสำหรับคู่แข่งรายใหม่ในการเข้าสู่อุตสาหกรรมนี้ เมื่อเทียบกับผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับสินค้าบริโภคทั่วไป ถึงแม้ว่าบริษัทจะดำเนินธุรกิจในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ที่มีความเสี่ยงสูงกว่าความเสี่ยงของอุตสาหกรรมอื่นๆโดยรวม KCE ดำเนินงานในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ที่มีความเสี่ยงใกล้เคียงกับบริษัท เอสวีไอ จำกัด (มหาชน) หรือ SVI (BBB+(tha)/แนวโน้มเครดิตมีเสถียรภาพ) โดยบริษัททั้งสองเน้นตลาดเฉพาะกลุ่มในอุตสาหกรรมที่ตนดำเนินงานอยู่ ซึ่งมีการแข่งขัน และความผันผวนของความต้องการ ที่ต่ำกว่า ทำให้บริษัทมีรายได้และกำไรที่ค่อนข้างมั่นคง อย่างไรก็ตาม KCE มีอัตราส่วนกำไรที่สูงกว่า SVI มาก ซึ่งน่าจะสะท้อนถึงการแข่งขันที่รุนแรงน้อยกว่า และต้นทุนการผลิตที่ดีกว่า นอกจากนี้ KCE ยังมีขนาดใหญ่กว่า SVI อย่างมีนัยสำคัญทั้งในด้านรายได้และกำไร ปัจจัยดังกล่าวส่งผลให้ KCE มีอันดับเครดิตสูงกว่า SVI หนึ่งระดับ
สมมุติฐานที่สำคัญ
สมมุติฐานที่สำคัญของฟิทช์ที่ใช้ในการประมาณการ
ปัจจัยที่อาจมีผลต่ออันดับเครดิตในอนาคต
ปัจจัยบวก
ปัจจัยลบ
สภาพคล่อง
KCE มีสภาพคล่องที่เพียงพอ โดย ณ สิ้นปี 2559 บริษัทมีหนี้ที่ถึงกำหนดชำระภายในหนึ่งปีจำนวน 2.4 พันล้านบาท โดยหนี้ระยะสั้นดังกล่าวส่วนใหญ่ประกอบด้วยหนี้เพื่อสนับสนุนการส่งออก โดยมีหนี้ระยะยาวที่ถึงกำหนดชำระในปี 2560 จำนวน 550 ล้านบาท ซึ่งบริษัทมีเงินสดเพียงพอจำนวน 892 ล้านบาท ในขณะที่บริษัทมีสภาพคล่องอย่างเพียงพอซึ่งมาจากวงเงินกู้หมุนเวียนที่ยกเลิกไม่ได้จำนวน 1.57 หมื่นล้านบาท ณ สิ้นปี 2559
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit