สุดปลื้ม! มหกรรมดิจิทัลคอนเทนต์ 2017 ปิดฉากงดงาม อัดแน่นความรู้จากกูรูระดับโลกและเจรจาธุรกิจ

10 Apr 2017
Bangkok International Digital Content Festival 2017 หรือ มหกรรมดิจิทัลคอนเทนต์ แห่งปี 2017 ซึ่งเป็นการร่วมมือระหว่างภาครัฐโดยสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศและเอกชนจาก 5 สมาคมทางด้านดิจิตอลคอนเทนต์ไทย ประกอบด้วย TGA (สมาคมอุตสหกรรมซอฟต์แวร์เกมไทย) DCAT (สมาคมดิจิทัลคอนเทนต์ไทย) e-LAT (สมาคมอีเลิร์นนิ่งแห่งประเทศไทย) TAGGA (สมาคมผู้ประกอบการอนิเมชั่นและคอมพิวเตอร์กราฟฟิกส์ไทย) และ BASA (สมาคมธุรกิจบางกอกเอซีเอ็มซิกราฟ) ที่มาร่วมงานและแสดงผลงานทางดิจิทัลให้กับผู้ซื้อจากไทยและเทศเป็นการจับคู่ค้าให้กับผู้ประกอบการเพื่อกระตุ้นการส่งออกของอุตสาหกรรมดิจิทัลไทยให้มากขึ้น บรรยากาศของงานเต็มไปด้วยผู้เข้าร่วมชมงานและเข้าร่วมฟังสัมมนามากมายจากหลายหน่วยงานไม่เพียงแต่ผู้ร่วมงานคนไทยเท่านั้นยังมีผู้เข้าร่วมงานจากประเทศอื่นๆ เช่น ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ จีน อังกฤษ อเมริกา เป็นต้น ทุกคนเข้ามาด้วยเป้าหมายที่แตกต่างกัน แต่เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของงานเดียวกัน
สุดปลื้ม! มหกรรมดิจิทัลคอนเทนต์ 2017 ปิดฉากงดงาม อัดแน่นความรู้จากกูรูระดับโลกและเจรจาธุรกิจ

สำหรับสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (DEPA) กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม แม่งานใหญ่ของปีนี้ในฐานะสำนักงานที่ทำหน้าที่ในการส่งเสริมและสนับสนุนอุตสาหกรรมดิจิทัลเทคโนโลยีในมิติต่าง ๆ เพื่อพัฒนาศักยภาพอุตสาหกรรมดิจิทัลคอนเทนต์ โดยการพัฒนาอุตสาหกรรมและนวัตกรรมดิจิทัลที่สอดคล้องกับนโยบาย Thailand 4.0 และแผนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม รวมถึงการพัฒนาบุคลากรและเสริมศักยภาพทำให้ดิจิทัลคอนเทนต์ไทยเป็นที่ยอมรับ พร้อมสร้างรายได้เข้าสู่ระบบเศรษฐกิจของประเทศได้นอกจากนี้ภายในงานยังมีพิธีมอบรางวัล ประกอบด้วย TGA Awards รางวัลที่วัดกันด้วยคุณภาพกราฟฟิคของเกมทั้งบนสมาร์ทโฟนและ คอมพิวเตอร์ ซึ่งเกมส์ที่ถูกเสนอรายชื่อรับรางวัลนั้นจะต้องดูกันที่ความสร้างสรรค์ กราฟฟิค และอีกหลายๆปัจจัย ดังเช่นARAYA เกมที่จะให้ผู้เล่นเข้าไปสำรวจโรงพยาบาลร้าง ถูกถ่ายทอดออกมาในมุมมองของบุคคลที่หนึ่งและภาพที่เสมือนจริง รวมถึงมีเบาะแสและปมให้ไขข้อสงสัย ทำให้เป็นเกมส์ยอดเยี่ยมแห่งปี ลำดับต่อมา DCAT Awards เป็นรางวัลที่เกี่ยวกับการออกแบบคาแรคเตอร์ มีทั้งหมด 4 รางวัล ซึ่ง ตัวละครที่คว้าไปได้ถึง 2 ใน 4 นั้น ก็คือ ปังปอนด์ ตัวละครเด็กชายอายุ 8 ขวบน่าตาน่ารักจากปลายปากกานักวาดการ์ตูน นามปากกา ต่าย นิตยสารขายหัวเราะที่นักอ่านการ์ตูนรู้จักกันเกือบ 20 ปีที่แล้ว ในปีนี้ได้รับการยกย่องให้เป็นThe best character แต่เดิมที่เป็นเพียงภาพสองมิติบนแผ่นกระดาษนำมาพัฒนาให้เป็นตัวละครสามมิติโลดแล่นอยู่บนคอมพิวเตอร์ให้เราได้เห็นกัน

สาขาถัดมา คือ TAGGA Award หรือรางวัลที่เกี่ยวกับ Graphic Animation ที่สามารถพบเห็นผลงานในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นจากภาพยนตร์ การ์ตูน และ ละคร โดยผลงานที่ได้รับการคัดเลือกได้ตัดสินจากองค์ประกอบด้านความสร้างสรรค์ ความสวยงาม รายละเอียดของ Graphic Design ซึ่ง The Monk Studio ได้รับจากการสร้างสรรค์ผลงานแอนิเมชันที่งดงามจนดังไกลถึงในเวทีระดับโลก และมากันที่ BASA Award สำหรับงานวิจัยที่ทำผลงานออกมาเป็นประโยชน์และทรงคุณค่า ไม่ว่าจะเป็นนิสิตนักศึกษามหาวิทยาลัย ศาสตราจารย์ ก็มีสิทธิได้ขึ้นมาบนเวทีแห่งนี้ได้เช่นเดียวกัน สำหรับสาขาสุดท้าย เป็นสาขาที่ยากที่สุด ถึงแม้ในปีนี้จะไม่มีผู้ใดได้รับรางวัลชนะเลิศจากสมาคมฯในส่วนของ e-LAT Award ซึ่งเป็นรางวัลในด้านของเทคโนโลยีด้านการศึกษา ถือว่าเป็นส่วนสำคัญในการพัฒนาของประเทศเลยก็ว่าได้ เพราะนำมาใช้เป็นสื่อการสอนให้กับนักเรียน เยาวชนรุ่นต่อๆไป

นอกจากนี้ภายในงาน "Bangkok International Digital Content Festival 2017" ครั้งนี้มีกิจกรรมที่น่าสนใจ ดังนี้

· การแสดงศักยภาพและผลงานทางด้านดิจิทัลของผู้ประกอบการไทย พร้อมการมอบรางวัลในสาขา ต่าง ๆ "BIDC Awards 2017" ให้แก่ผู้ประกอบการไทยที่มีผลงานโดดเด่นในรอบปี เพื่อเป็นต้นแบบในอุตสาหกรรมซอฟแวร์ไทยและดิจิทัล กระตุ้นให้เกิดการพัฒนาและต่อยอดความสำเร็จในอนาคต

· กิจกรรมการเจรจาธุรกิจ กับผู้ประกอบการรายสำคัญในธุรกิจดิจิทัลจากต่างประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา แคนาดา อังกฤษ ฝรั่งเศส นิวซีแลนด์ ญี่ปุ่น มาเลเซีย สิงคโปร์ จีนและเกาหลี รวมกว่า 40 ราย เข้าร่วมการเจรจาธุรกิจกับนักธุรกิจไทย 60 ราย

· งานสัมมนาและประชุมเชิงปฏิบิตการ(Seminar & Workshop) รวมกว่า 20 หัวข้อ จากวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิระดับโลกที่มีเดินสายไปให้ความรู้กับกลุ่มนักพัฒนาที่เชียงใหม่ ขอนแก่นและนครศรีธรรมราช อีกด้วยโดยมีวิทยากร อาทิ Mr. Raymond Pao, HTC Corporation ผู้ผลิตและพัฒนา VR headset HTC ที่จะมาบอกเรื่องเล่าเรื่องราวของเทคโนโลยีที่เป็นเทรนด์ใหม่ล่าสุดอย่าง VR (Virtual reality) ในหัวข้อ "VR" the world changing technology และMr. Goichi Suda CEO แห่ง Grasshopper manufacture ผู้สร้างเกมสุดอาร์ตอย่าง No more hero, Lolipop chainsaw, Killer 7 ที่จะมาร่วมสัมนากันในหัวข้อ "Art of designing worlds and characters for video games" และ Mr. Ishan Shukla ผู้ชนะการประกวดแอนนิเมชั่นในเวทีระดับโลก มาพูดคุยเบื้องหลังผลงานล่าสุด "Schirkoa" ที่ได้รับรางวัล "Best Animated Short" จาก LA Shorts Film Festival และ "Best of Show" จากงานSIGGRAPH ASIA 2016 อีกทั้งยังได้รับเลือกเข้ารอบ Oscars เป็นต้นพร้อมทั้งยังมีผู้ประกอบการจากบริษัทชั้นนำมาเปิดโต๊ะรับสมัครงานเฟ้นหานักพัฒนาสายเกม แอนิเมชั่น เพื่อป้อนอุตสาหกรรมดิจิทัลคอนเทนต์ ไม่ว่าจะเป็น บริษัท ทรู แอกซิออน เกมส์ จำกัด (True Axion Games) บริษัท สกาย เน็ท 888 จำกัด บริษัท ดี บัสซ์ จำกัด บริษัท RingZero Game Studio Ltd. บริษัท Stadia Gaming (Thailand) Company Limited บริษัท i Digital Connect Co., Ltd. บริษัท Donuts Bangkok Co., Ltd. และบริษัท เกมอินดี้ จำกัด

HTML::image( HTML::image(