แต่ "ปกรณ์ แก้วทอง" กลับไม่คิดเช่นนั้น เพราะเขาเชื่อว่าทุกอย่างเป็นไปได้หากเลือกในสิ่งที่ถูกต้อง และวันนี้เขาก็ได้พิสูจน์ความเชื่อนั้น ด้วยการเป็นเกษตรกรสมัยใหม่ที่ประสบความสำเร็จในอาชีพ
ปกรณ์บอกว่าแม้ว่าปัจจุบันจะรับราชการเป็นนักวิชาการคอมพิวเตอร์ ในโรงพยาบาลสรรพสิทธิ์ประสงค์ จังหวัดอุบลราชธานี แต่ด้วยความสนใจในการเลี้ยงสัตว์มาตั้งแต่เด็กๆ จึงหมั่นศึกษาหาลู่ทางที่จะเดินตามความฝันนี้มาตลอด จนมารู้จักกับ "โครงการส่งเสริมอาชีพการเลี้ยงสุกรรุ่นพันธุ์ หรือโครงการฝากเลี้ยง" กับ บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือซีพีเอฟ จากเพื่อนเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการกับซีพีเอฟที่โครงการส่งเสริมฯ วารินชำราบ อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี
"เห็นเพื่อนเลี้ยงหมูกับซีพีเอฟมาก่อนแล้วมีรายได้ดีและขยายการเลี้ยงเพิ่มขึ้น ระบบการดูแลของบริษัทและวิธีบริหารจัดการก็เป็นมาตรฐาน ที่สำคัญเมื่อศึกษาลึกไปถึงสัญญาการเลี้ยงก็พบว่าเป็นอาชีพที่ไม่มีความเสี่ยงด้านการตลาด เพราะบริษัททำหน้าที่เป็นตลาดรองรับ จึงไม่ต้องกังวลว่าจะต้องขายหมูเองเหมือนเกษตรกรอิสระ เรียกว่าเป็นอาชีพที่ตอบโจทย์ความต้องการของเราได้จริงๆ" ปกรณ์ เล่าถึงที่มาของการตัดสินใจลงทุนสร้าง "ปกรณ์ฟาร์ม" ในปี 2558 เพื่อเลี้ยงหมูสร้างรายได้เสริมให้กับครอบครัว
ก่อนจะเริ่มเลี้ยงหมูอันดับแรกทางเจ้าหน้าที่ของซีพีเอฟ จะเข้ามาดูความเหมาะสมของสถานที่ตั้งฟาร์มก่อน เมื่อพิจารณาผ่านจึงทำประชาพิจารณ์กับชุมชนรอบข้าง จากนั้นจึงเริ่มก่อสร้างฟาร์ม ที่ปกรณ์ฟาร์มมีโรงเรือนเลี้ยงหมู 3 หลัง ความจุหมู 1,800 ตัว โดยตลอดเวลาบริษัทจะให้คำปรึกษาและดูแลอย่างใกล้ชิด จนกระทั่งการก่อสร้างใกล้แล้วเสร็จ จึงพาเกษตรกรไปศึกษาดูงานการเลี้ยงหมูและระบบการจัดการฟาร์มจากเพื่อนเกษตรกรที่เลี้ยงหมูมาก่อน เพื่อให้เกษตรกรรุ่นพี่เป็นทั้งผู้ถ่ายทอดความสำเร็จ ความรู้และเทคนิคการเลี้ยง รวมทั้งเป็นแรงบันดาลใจให้เกษตรกรรายใหม่ที่เพิ่งเริ่มต้นอาชีพ ขณะเดียวกัน บริษัทจะให้คำแนะนำตลอดการเลี้ยงทำให้เกษตรกรเลี้ยงหมูได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
ที่สำคัญปกรณ์ฟาร์มมุ่งเน้นระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมเป็นพิเศษ ด้วยแนวคิดที่ว่า "ฟาร์มต้องเป็นส่วนหนึ่งและอยู่ร่วมกับชุมชนให้ได้" จึงเป็นที่มาของการจัดทำระบบไบโอแก็สและระบบกรองอากาศท้ายพัดลมเพื่อลดกลิ่นที่อาจหลงเหลืออยู่ ส่วนน้ำที่ผ่านการบำบัดจากระบบไบโอแก๊ส ที่สะอาดและมีแร่ธาตุที่เหมาะสมกับพืช ฟาร์มนำไปรดแปลงผัก และต้นไม้ที่ปลูกไว้ในบริเวณฟาร์ม ผลที่ได้นอกจากจะสามารถบริหารจัดการน้ำให้เกิดประโยชน์สูงสุดแล้ว ยังได้ผักสดปลอดสารมารับประทานในครัวเรือน ส่วนที่เหลือก็สามารถแบ่งให้เพื่อนบ้าน หรือจำหน่ายให้เกิดรายได้เสริมแก่เกษตรกร นอกจากนี้ ยังแบ่งปันน้ำที่ผ่านการบำบัดให้เกษตรกรในชุมชนนำไปรดต้นพืช อาทิ ไร่มันสำประหลัง และยางพารา ช่วยลดปัญหาวิกฤติภัยแล้งได้เป็นอย่างดี ถือเป็นการสร้างประโยชน์แก่ชุมชนอีกทางหนึ่ง
นอกจากนี้ปกรณ์ฟาร์มยังให้ความสำคัญกับการป้องกันโรค ที่เป็นปัจจัยความสำเร็จลำดับต้นๆในการเลี้ยงหมู จึงมีการควบคุมและป้องกันโรคด้วยการพ่นยาฆ่าเชื้อรถทุกคันที่เข้าออกฟาร์ม รวมถึงบุคคลที่จะเข้าไปในเขตการเลี้ยงสัตว์ต้องอาบน้ำเปลี่ยนชุดที่ฟาร์มจัดไว้ มีการจุ่มเท้าในน้ำยาฆ่าเชื้อก่อนเข้าโรงเรือนทุกครั้ง
"ผมประทับใจในระบบบริหารจัดการและการสนับสนุนที่ดีจากซีพีเอฟ และภูมิใจที่ได้เป็นส่วนหนึ่งในห่วงโซ่การผลิตหมูปลอดสารและปลอดภัยสำหรับผู้บริโภค เราเน้นเรื่องมาตรฐานการผลิตที่ดี โดยฟาร์มได้รับมาตรฐานฟาร์มเลี้ยงสุกร จากปศุสัตว์จังหวัดอุบลราชธานี และปศุสัตว์เขต3 รวมทั้งได้รับการรับรองว่าเป็นฟาร์มหมูปลอดสารเร่งเนื้อแดง และเป็นฟาร์มหมูรักษ์สิ่งแวดล้อม" ปกรณ์ บอก
ที่สำคัญปกรณ์ยังถือเป็นหนึ่งในตัวอย่างของเกษตรกรยุค 4.0 ที่นำเอาเทคโนโลยีการผลิตใหม่ๆมาปรับใช้ภายในฟาร์ม โดยที่ไม่เคยคิดว่าเป็นการลงทุนที่มากเกินไป ในทางกลับกันเขาคิดว่านี่คือการลงทุนที่คุ้มค่าเนื่องจากเทคโนโลยีต่างๆที่นำมาใช้ ต่างสนับสนุนการเลี้ยงหมูให้ได้ผลผลิตที่ดี และมีรายได้จากการเลี้ยงหมู 350,000 บาทต่อรุ่นต่อโรงเรือน เป็นผลสะท้อนความสำเร็จในอาชีพของปกรณ์ และเป็นบทพิสูจน์ของเกษตรกรหัวสมัยใหม่ ที่มุ่งสร้างอาหารปลอดภัย กับอาชีพคอนแทรคฟาร์มหมูที่ไร้ความเสี่ยงได้อย่างแท้จริง./
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit