ความร่วมมือครั้งสำคัญกับภาคเอกชนไทย-เมียนมา โดยการสนับสนุนของภาครัฐ ร่วมกันสร้างอีกหนึ่งประวัติศาสตร์แห่งความร่วมมือกันพัฒนาเศรษฐกิจระดับชาติ ระหว่างกลุ่มธุรกิจโลจิสติกส์ SVL (SVL Group) กับธุรกิจกลุ่มอูราตัน โดยมีนายอูรา ตัน ประธานหอการค้าและสภาอุตสาหกรรมจังหวัดมะริด ในฐานะกลุ่มธุรกิจใหญ่ของเมียนมา เปิดโต๊ะเจรจา "โครงการพัฒนาความร่วมมือทางการค้าและการลงทุน Myeik Economic Land Bridge (มะริด-ด่านสิงขร-บางสะพาน)" ต่อยอดสู่แผนแม่บทการสร้างท่าเรือน้ำลึกมะริด นิคมอุตสาหกรรมมะริด และโครงการพัฒนาการขนส่งข้ามแดน มะริด-ด่านสิงขร-บางสะพาน โดยเอสวีแอล กรุ๊ป ในฐานะบริษัทที่เชี่ยวชาญในการบริหารจัดการท่าเรือน้ำลึก และการพัฒนานิคมอุตสาหกกรรม พร้อมด้วยผู้แทนหน่วยงานรัฐของมะริดและไทย ร่วมกันประชุมศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการฯ สู่การพัฒนา เมื่อวันที่ 22 เมษายน 2560 ที่ผ่านมา ณ เมืองมะริด สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา
นายสุรเดช มุขยางกูร ประธานกรรมการบริหาร บริษัท เอสวีแอล คอร์ปอเรชั่น จำกัด ในฐานะผู้บริหารเอสวีแอล กรุ๊ป (SVL Group) กลุ่มธุรกิจโลจิสติกส์ที่ประกอบด้วยธุรกิจท่าเรือน้ำลึก (ท่าเรือประจวบ) ธุรกิจรถขนส่งสินค้าด้วยรถบรรทุกขนาดใหญ่ ธุรกิจกองเรือลำเลียง ธุรกิจพัฒนานิคมอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ ให้รายละเอียดว่า "ในฐานะที่เอสวีแอล กรุ๊ป เป็นองค์กรที่มีประสบการณ์ในธุรกิจโลจิสติกส์ครบวงจร มากว่า 50 ปี วันนี้ถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นสำคัญทางธุรกิจระหว่าง 2 ประเทศ ซึ่งหากเกิดความร่วมมือภายใต้โครงการฯ นี้จะส่งผลสำคัญต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจทั้งของไทยและเมียนมา สร้างงานสร้างรายได้อีกมหาศาล เนื่องจากมะริดเป็นเมืองท่าที่สำคัญ เป็นแหล่งความอุดมสมบูรณ์ทางทรัพยากรทางทะเลของเมียนมา ตัวเลขการส่งออกสัตว์น้ำทะเลปีละประมาณ 1.34 แสนตัน คิดเป็นมูลค่าการส่งออกต่อปีประมาณ 530 ล้านดอลลาร์ มะริดเป็นแหล่งป้อนวัตถุดิบที่สำคัญให้ไทย โดยร้อยละ 80 ของสัตว์น้ำทะเลในไทยนำเข้ามาจากมะริด ดังนั้นหากทางมะริดเกิดท่าเรือน้ำลึก รวมถึงการพัฒนาเป็นนิคมอุตสาหกรรม ก็จะสร้างมูลค่าให้กับธุรกิจอื่นๆ ตามมา"
"สอดคล้องต่อเนื่องกับอีกหนึ่งโครงการสำคัญของการประชุมหารือในครั้งนี้ คือโครงการพัฒนาการขนส่งข้ามแดน มะริด-ด่านสิงขร-บางสะพาน – Myeik Economic Land Bridge หากมีการเปิดด่านชายแดนสิงขร เป็นด่านถาวร มีการคาดการณ์ว่าจะสร้างมูลค่าการค้าชายแดนไม่ต่ำกว่าเดือนละ 3,000 ล้านบาท ซึ่งมีสินค้าหลากหลายประเภท ทั้งสินค้าอุปโภค บริโภค สินค้าทางการเกษตร ปาล์ม น้ำมัน มะพร้าว ฯลฯ ซึ่งปัจจุบันการขนส่งทางบกจากมะริด-ตะนาวศรี-ด่านสิงขร มีระยะทางกว่า 180 กิโลเมตร ใช้ระยะเวลาประมาณ 6-7 ชั่วโมง หากมีการพัฒนาร่วมกันก็จะช่วยลดระยะเวลาการขนส่งให้น้อยลง เกิดบรรยาการศการลงทุนธุรกิจมากขึ้น ทุกอย่างสะดวก รวดเร็วมากขึ้น"
นายสุรเดช กล่าวเพิ่มเติมว่า "ที่สำคัญกลุ่มธุรกิจโลจิสติกส์ SVL มีธุรกิจท่าเรือน้ำลึก คือ ท่าเรือประจวบ อ.บางสะพาน จ.ประจวบฯ เป็นศูนย์กลางธุรกิจโลจิสติกส์ของเรา ด้วยชัยภูมิที่ตั้งของท่าเรือซึ่งมีศักยภาพ ทั้งการเป็นท่าเรือน้ำลึกตามธรรมชาติ การรองรับเรือได้ถึง 100,000 เดทเวทตัน สามารถรองรับการพัฒนาการโลจิสติกส์ ทั้งภายในประเทศ และระหว่างประเทศ รวมถึงการบริหารพื้นที่โดยรอบท่าเรือกว่า 2,000 ไร่ ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด นำไปสู่การพัฒนานิคมอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ บางสะพาน (BLIE) ดังนั้นยุทธศาสตร์การพัฒนาแลนด์บริดจ์ มะริด-ด่านสิงขร-บางสะพาน (Myeik Economic Land Bridge) จะสามารถเชื่อมโยงธุรกิจ ฝั่งอันดามันมาสู่อ่าวไทย และเชื่อมต่อไปสู่ EEC โดยมีนิคมอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ บางสะพาน เป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ ซึ่งความร่วมมือครั้งนี้จะผลักดันให้เกิดการพัฒนาเศรษฐกิจระดับชาติร่วมกันใน AEC"
HTML::image(ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit