ทั้งนี้ จากผลการศึกษาโครงการดังกล่าว ได้มีการเสนอให้มีการพัฒนาคลองผันน้ำควบคู่กับถนนวงแหวน รอบที่ 3 เพื่อช่วยในการระบายน้ำหลากบริเวณท้ายเขื่อนเจ้าพระยา จังหวัดอยุธยาลงสู่อ่าวไทย ซึ่งจะช่วยลดระดับน้ำ 2แห่ง คือ ลำน้ำเจ้าพระยา จากจังหวัดอยุธยา ถึงกรุงเทพฯ และแม่น้ำป่าสักในช่วงปลายน้ำ และจะช่วยลดความเสี่ยงจากการพังทลายของคันกั้นน้ำตลอดแนวของพื้นที่คุ้มกัน ดังนั้น ในปี 2557 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยกรมชลประทาน จึงร่วมกับกระทรวงคมนาคม กรมทางหลวง ดำเนินการศึกษาโครงการคลองผันน้ำร่วมกับถนนวงแวนรอบที่ 3 ต่อจากผลการศึกษาเดิมจาก JICA ซึ่งปฏิบัติงานร่วมกับ JICA Survey Team โดยเริ่มดำเนินการตั้งแต่เดือน ม.ค.60 - ก.พ. 61 รวมระยะเวลา 14 เดือน เพื่อหาทางผนวกถนนวงแหวน รอบที่ 3 และคลองผันน้ำเข้าด้วยกันโดยใช้เทคโนโลยีและองค์ความรู้ของญี่ปุ่น
อย่างไรก็ตาม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ให้ความสำคัญในการศึกษาผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและต่อเกษตรกร อีกทั้งได้มีการจัดลำดับการดำเนินงานของแผนบริหารจัดการน้ำอย่างเป็นระบบตามความสำคัญเร่งด่วน ซึ่งหากการดำเนินงานเป็นไปตามแผนงานที่กำหนดไว้ก็จะได้หาข้อสรุปในการผนวกคลองผันน้ำกับวงแหวน รอบที่ 3 ซึ่งจะช่วยบรรเทาอุทกภัยในลุ่มน้ำเจ้าพระยาได้ต่อไป
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit