นิสิตเก่าวิศวะจุฬาฯ จัดสัมมนา “ประเทศไทยกับรถยนต์ไฟฟ้า (EV) ” ดึงภาครัฐและเอกชนให้ความรู้ พร้อมจัดนิทรรศการรถยนต์ไฟฟ้าหลากระบบ เตรียมรับยานยนต์แห่งโลกอนาคตอันใกล้

02 Nov 2016
สมาคมนิสิตเก่าวิศวกรรมศาสตร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยนำทัพจัดโครงการสัมมนาและนิทรรศการรถยนต์ไฟฟ้า "ประเทศไทยกับรถยนต์ไฟฟ้า (EV)" ดึงตัวแทนจากภาครัฐ ภาครัฐวิสาหกิจและภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องร่วมเสวนาในประเด็นน่าสนใจต่างๆ เพื่อสร้างความเข้าใจและทำความรู้จัก "รถยนต์ไฟฟ้า" หรือ EV ยานยนต์แห่งอนาคตที่กำลังจะมาถึงในไม่ช้า พร้อมเผยนโยบายสนับสนุนจากทุกภาคส่วน นำเสนอนวัตกรรมรถยนต์ไฟฟ้าระบบต่างๆจากผู้ผลิตและออกแบบในระดับประเทศและระดับโลก พร้อมจัดแสดงนิทรรศการรถยนต์ไฟฟ้าประเภทต่างๆภายในงาน
นิสิตเก่าวิศวะจุฬาฯ จัดสัมมนา “ประเทศไทยกับรถยนต์ไฟฟ้า (EV) ”  ดึงภาครัฐและเอกชนให้ความรู้ พร้อมจัดนิทรรศการรถยนต์ไฟฟ้าหลากระบบ เตรียมรับยานยนต์แห่งโลกอนาคตอันใกล้

ศาสตราภิชาน พูลพร แสงบางปลา แห่งคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและนักพัฒนาวงการยานยนต์ไทย กล่าวว่า "รถยนต์ไฟฟ้าได้รับการพัฒนาจากประเทศต่างๆทั่วโลก ซึ่งรวมถึงประเทศไทยที่ได้ชูเป็นนโยบายสำคัญและมีแผนที่จะส่งเสริมให้ผลิตในเร็วๆนี้ ทำให้ประชาชนสนใจเป็นจำนวนมาก แต่ถึงอย่างไรก็ยังมีประชาชนจำนวนมากที่ยังไม่รู้จักรถยนต์ไฟฟ้ามากพอหรือยังมีข้อสงสัยในหลายๆประเด็น ไม่ว่าจะในประเด็นการใช้งาน การบำรุงรักษา เทคโนโลยี ความปลอดภัย ตลอดไปจนถึงนโยบายของภาครัฐที่จะออกมาส่งเสริมและรองรับนวัตกรรมยานยนต์ดังกล่าวควบคู่ไปกับการใช้งานของประชาชนและสอดคล้องกับภาคเอกชนจากผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าต่างๆ ดังนั้นสมาคมนิสิตเก่าวิศวกรรมศาสตร์ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะกรรมการวิชาการยานยนต์ และคณะกรรมการวิศวกรอาวุโส จึงเห็นโอกาสที่จะจัดงานสัมมนานี้ขึ้นเพื่อเผยแพร่ความรู้ด้านยานยนต์ไฟฟ้าให้แก่นิสิตเก่าฯและผู้สนใจทั่วไป"

วัฒนพงษ์ คุโรวาท ผู้อำนวยการสำนักนโยบายไฟฟ้า สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน กล่าวว่า "ที่ผ่านมา ทางรัฐบาลได้ให้ความสำคัญและมีแนวทางสนับสนุนที่ชัดเจนมากขึ้นเพื่อเพิ่มความเชื่อมั่นให้แก่ผู้ประกอบการและผู้ใช้รถยนต์ไฟฟ้า ตามแผนบูรณาการพลังงานของประเทศ เช่นการร่วมมือกับสถาบันยานยนต์ไฟฟ้าไทยในการสนับสนุนการลงทุนสถานีอัดประจุไฟฟ้าให้กับหน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจ และภาคเอกชนจำนวน 100 สถานี ทั้งนี้ จากการศึกษาพบว่า การส่งเสริมให้ใช้รถยนต์ไฟฟ้าในประเทศ จะไม่กระทบต่ออุตสาหกรรมการผลิตรถยนต์ แต่จะช่วยเสริมสร้างความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจ ช่วยลดค่าใช้จ่ายในการนำเข้าพลังงาน ได้ถึงปีละ 1.7 หมื่นล้านบาท เพราะรถยนต์ไฟฟ้าจะมีค่าใช้จ่ายด้านพลังงานที่ถูกกว่าน้ำมันหลายเท่า โดยได้ตั้งเป้าผู้ใช้รถยนต์ไฟฟ้าไว้ที่1.2 ล้านคัน ภายในปี 2579"

ภายในงานยังได้เสวนาถึงประเด็นน่าสนใจต่างๆเกี่ยวกับรถยนต์ไฟฟ้าอย่างรอบด้านจากผู้แทนองค์กรทั้งภาครัฐและภาคเอกชนผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้า อาทิ ประเด็นระบบรถยนต์ไฟฟ้ามอเตอร์และแบตเตอรี่ ประเด็นสถานีชาร์จไฟและชนิดหัวชาร์จ ประเด็นรถยนต์ไฟฟ้าระบบต่างๆจากผู้ผลิตชั้นนำระดับโลก ประเด็นรถยนต์ไฟฟ้าคิดค้นประกอบใหม่ทั้งคันจากคนไทย และประเด็นรถยนต์ดัดแปลงRetrofit จากเครื่องยนต์สันดาปมาเป็นขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ไฟฟ้า นอกจากนี้ยังได้จัดแสดงนิทรรศการรถยนต์ไฟฟ้าระบบต่างๆจากผู้ผลิตในตลาดโลก ผู้ผลิตไทย ผู้ดัดแปลงรถจากเครื่องยนต์สันดาปเดิม และต้นแบบสถานีชาร์จไฟ ภายในคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ เพื่อให้ผู้ร่วมงานได้สัมผัสกับนวัตกรรมยานยนต์ไฟฟ้าต้นแบบอย่างใกล้ชิด

HTML::image( HTML::image( HTML::image(