"มกอช. ร่วมกับหน่วยงานต่างๆ ดำเนินการบูรณาการทั้งภายในและนอกกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ให้ความรู้และสร้างความเข้าใจแก่นักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการทั้งภาคทฤษฎีและเน้นการนำองค์ความรู้ที่ได้ไปสู่การปฎิบัติจริงของนักศึกษาตลอดระยะเวลา 1 ปี โดยนักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการต้องผ่านการเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ เช่น กิจกรรมจัดค่าย เขียนโครงการ ศึกษาดูงาน และการนำมาตรฐานสินค้าเกษตรไปปฏิบัติใช้จริงในการปลูกพืช หรือเลี้ยงสัตว์ในพื้นที่ทำการเกษตรของผู้ปกครองนักศึกษา หรือวิทยาลัยเกษตรกรรม"
นายอานัติ กล่าวเพิ่มอีกว่า สำหรับปีนี้ มีนักศึกษาสนใจเข้าร่วมโครงการเพิ่มขึ้นจาก ปีก่อนๆ จากเดิมที่เปิดรับสมัครเพียงสองสาขา คือ GAP พืชอาหาร และ GAP ข้าว ปีนี้มีเสียงเรียกร้องให้เปิด เพิ่มอีกสองสาขาคือ GAP ด้านประมง และ ปศุสัตว์ ซึ่งถือเป็นเรื่องน่ายินดีที่นักศึกษาให้ความสนใจมากขึ้น นอกจากโครงการนี้จะสร้างและพัฒนาให้นักศึกษาเป็นเกษตรกรรุ่นใหม่ (young smart farmer) แล้ว เรายังแนะนำและสร้างพื้นฐานให้นักศึกษาบริหารจัดการด้านการตลาดเป็น "เถ้าแก่น้อย" โดยนำผลผลิตที่นักศึกษาปลูกหรือเลี้ยงไปลองหาตลาดเอง และรู้จักทำบัญชีรายรับ รายจ่าย กำไร ขาดทุน ทำให้อาชีพเกษตรกรรมมีคนสานต่อไป ซึ่ง มกอช. หวังเป็นอย่างยิ่งว่านักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการดังกล่าวจะมีทัศนคติที่ดีและสามารถสานต่ออาชีพเกษตรกรรม ตลอดจนร่วมเป็นเครือข่ายเกษตรกรรุ่นใหม่ เพื่อสร้างความเข้มแข็งของการผลิตสินค้าเกษตรของไทยให้มีคุณภาพและมาตรฐานต่อไป
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit