นายวีระ กล่าวต่อว่า 3.การจัดสัมมนาการอนุรักษ์ระดับนานาชาติ โดยเชิญผู้เชี่ยวชาญด้านการอนุรักษ์จากประเทศต่างๆมาเข้าร่วม ซึ่งกรมศิลปากรจัดสัมมนาไปแล้ว 3 ครั้ง 4.การควบคุมสิ่งก่อสร้างใหม่ในพื้นที่และบริเวณโดยรอบนครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา ซึ่งแบ่งเป็นโซนตรงกลางที่มีการขึ้นทะเบียนมรดกโลก โซนริมแม่น้ำควบคุมความสูงอาคารอยู่ในระยะ 8 เมตร 12 เมตรและ 15 เมตร ตามลำดับ และ5.การฟื้นฟูและบูรณะโบราณสถานในนครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยาภายหลังน้ำท่วม โดยยูเนสโกได้ส่งผู้เชี่ยวชาญมาดูการบูรณะและให้คำแนะนำ ซึ่งกรมศิลปากรได้ปรับปรุงการบูรณะเพิ่มเติมครบถ้วนตามคำแนะนำ พร้อมกับทำภาพเปรียบเทียบการบูรณะที่ทำไว้เดิมกับการบูรณะเพิ่มเติมตามคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญจากยูเนสโก
นายวีระ กล่าวต่อว่า ที่ประชุมมีมติเห็นชอบเสนอพระธาตุพนมวรมหาวิหารเพื่อขึ้นทะเบียนมรดกโลกในบัญชีเบื้องต้น (Tentative List) ซึ่งพระธาตุพนมวรมหาวิหารเข้าหลักเกณฑ์ของยูเนสโก เนื่องจากเป็นศาสนาสถานที่มีคุณค่าโดดเด่น เป็นสากล มีคุณสมบัติในการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกชองยูเนสโกใน 3 เกณฑ์ ได้แก่ เกณฑ์ที่ 1 เป็นตัวแทนที่แสดงถึงผลงานชิ้นเอกที่ทำขึ้นด้วยอัจฉริยภาพในการสร้างสรรค์ของมนุษย์ เกณฑ์ที่ 2 เป็นสิ่งที่มีอิทธิพลยิ่งในการผลักดันให้เกิดการพัฒนาสืบต่อในด้านการออกแบบสถาปัตยกรรม อนุสรณ์สถาน ประติมากรรม ตลอดจนการพัฒนาศิลปกรรมที่เกี่ยวข้องหรือการพัฒนาการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ และเกณฑ์ที่ 6 มีความคิดหรือความเชื่อที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับเหตุการณ์หรือบุคคลที่มีความสำคัญหรือความโดดเด่นในประวัติศาสตร์ ซึ่งที่ประชุมมอบหมายให้กรมศิลปากรไปรวบรวมข้อมูล เอกสารและหลักฐานเพิ่มเติมเกี่ยวกับความสำคัญทางประวัติศาสตร์ของพระธาตุพนมวรมหาวิหาร ทั้งนี้ กรมศิลปากรจะนำทั้งสองเรื่องนี้ เสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการมรดกโลกที่มีพลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานคณะกรรมการฯ วันที่ 23 พฤศจิกายนนี้ ที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ซึ่งในส่วนของการเสนอพระธาตุพนมวรมหาวิหารเพื่อขึ้นทะเบียนมรดกโลกในบัญชีเบื้องต้นนั้นจะมีการเสนอต่อยูเนสโกภายในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ ปี 2560
HTML::image( HTML::image(ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit