จากเหตุการณ์ในช่วงปลายปี 2554 ที่ผ่านมา ยังเกิดอุทกภัยครั้งสำคัญของประเทศ ทำให้มวลน้ำจืดปริมาณมากไหลผ่านปากแม่น้ำลงสู่อ่าวไทย ทำให้คุณภาพน้ำเปลี่ยนแปลง ส่งผลกระทบต่อพื้นที่เพาะเลี้ยงสัตว์ และการเกษตรชายฝั่ง สาเหตุมาจากการขาดข้อมูลที่ต่อเนื่องในการช่วยสนับสนุน และเพิ่มความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกระแสน้ำและคลื่นทั้งในเชิงพื้นที่และเชิงเวลา ทำให้เป็นปัญหาในการจัดการพื้นที่ปลายน้ำ โดยในช่วงเวลาดังกล่าว ได้มีการทำแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ เพื่อคาดการณ์สถานการณ์น้ำท่วมขึ้น โดยนักวิชาการจากสถาบันต่างๆ มากมาย แต่ยังไม่มีข้อมูลพื้นฐานที่ชัดเจน เพื่อตรวจสอบความถูกต้องได้ จึงทำให้ต้องเปลี่ยนมาใช้เทคโนโลยีเรดาร์แทน เพื่อสร้างข้อมูลพื้นฐานในการคาดการณ์สถานการณ์ และเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการให้ดียิ่งขึ้น
คณะรัฐมนตรี จึงได้มีมติเมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2554 เห็นชอบร่างแผนปฏิบัติการเพื่อบรรเทาปัญหาอุทกภัยระยะเร่งด่วน และร่างยุทธศาสตร์การบรรเทาอุทกภัยในพื้นที่ลุ่มน้ำแบบบูรณาการและยั่งยืน (กรณีลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา) โดยแผนงานที่ 3 พัฒนาแผนงานคลังข้อมูล ระบบพยากรณ์ และเตือนภัยของแผนปฏิบัติงานในข้างต้นได้มอบหมายให้กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ดำเนินการตามแผนงานพัฒนาคลังข้อมูลน้ำแห่งชาติ ภายใต้แผนพัฒนาคลังข้อมูล ระบบพยากรณ์ และเตือนภัย ให้ครอบคลุมพื้นที่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ จึงได้เกิดโครงการพัฒนาระบบเรดาร์ชายฝั่งเพื่อการเตือนภัยทางบกและทางทะเลขึ้น โดย GISTDA เป็นหน่วยดำเนินงานการใช้เทคโนโลยีนี้ โดยอาศัยหลักการส่งคลื่นไปในทะเลเพื่อสะท้อนกับผิวหน้าน้ำทะเล เพื่อวัดความถี่ของคลื่น ซึ่งความถี่ดังกล่าวนำมาใช้การคำนวณหาความเร็วของคลื่น
การอบรมเชิงปฏิบัติการครั้งนี้ มีความเป็นมาสืบเนื่องจากการดำเนินโครงการ พัฒนาระบบติดตาม เตือนภัยมลพิษ และภัยพิบัติทางทะเล ที่ดำเนินการโดยสำนักงานพัฒนา เทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่มีกิจกรรมในการติดตั้งระบบตรวจวัดคลื่น และกระแสน้ำในทะเล ด้วยคลื่นวิทยุ ความถี่สูง หรือเรียกว่า ระบบเรดาร์ชายฝั่ง ซึ่งมีการติดตั้งในโครงการระยะที่ 1 ระหว่างปี2555-2558 จำนวน 18 สถานีในอ่าวไทย สำหรับปี2559-2561 เป็นโครงการระยะที่ 2 โดยมีแผนดำเนิน
การติดตั้งระบบเรดาร์ชายฝั่งเพิ่มเติมอีกจำนวน 6 สถานีครอบคลุมอ่าวไทยฝั่งตะวันออก คือ จังหวัดระยอง และ ตราด และขยายเพิ่มเติมไปในทะเลอันดามันบริเวณจังหวัดกระบี่ด้วย และสืบเนื่องจากนโยบายของรัฐบาล ในด้านการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ฐาน เศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งจังหวัดระยองเป็นพื้นที่ฐานเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศ ดังนั้นการ ติดตั้งระบบเรดาร์ชายฝั่งใน 2 สถานีคือ บ้านฉาง และ บ้านเพ จะช่วยสนับสนุนการติดตาม และบริหารจัดการด้านสิ่งแวดล้อมทางทะเลให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โดยจาการผลการดำเนิน งานระบบเรดาร์ชายฝั่ง ใน 3-4 ปีที่ผ่านมา ข้อมูลจากระบบดังกล่าว ได้ถูกนำไปใช้ประโยชน์ ในด้านต่างๆ อาทิการบริหารจัดการมลพิษทางน้ำอันเกิดจากน้ำมันรั่ว การเกิดปรากฎการณ์ น้ำทะเลเปลี่ยนสี(แพลงค์ตอนบลูม) การค้นหาผู้ประสบภัยกรณีเรือล่ม การติดตามพื้นที่เสี่ยง ต่อการกัดเซาะชายฝั่ง ขยะทะเล และคุณภาพน้ำที่จะมีผลต่อการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง เป็นต้น ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดการการขับเคลื่อน และส่งเสริม การใช้ประโยชน์ระบบเรดาร์ชายฝั่ง ซึ่งเป็นอีกเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศหนึ่ง เพื่อการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรทางทะเล และชายฝั่ง โดยเฉพาะในจังหวัดระยองให้ครอบคลุมในทุกระดับ ซึ่งประกอบด้วย หน่วยงานราชการ สถาบันการศึกษา ประชาชนในพื้นที่ องค์กร สมาคม และ ภาคส่วนต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ในจังหวัดระยอง สทอภ. หรือ GISTDA จึงเห็นว่าควรมีการจัดสัมนาเชิงปฏิบัติการนี้ขึ้น เพื่อให้ทุกท่านได้รับทราบองค์ความรู้ด้านระบบเรดาร์ชายฝั่ง และการใช้งานเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ ตลอดจนร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในประเด็นการดำเนินงานร่วมกัน ในอนาคต ในระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาวอย่างเป็นรูปธรรม ต่อไป
ทางสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) หรือ จิสด้า จึงได้ขอความร่วมมือไปยังหน่วยงานทั้งภาครัฐ และเอกชน ร่วมพิธีลงนาม "หนังสือแสดงเจตจำนงว่าด้วยความร่วมมือด้านการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ ในการบริหารจัดการสิ่งแวดลอม และทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง" ระหว่าง สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) กับ 18 หน่วยงาน ด้วยกัน ได้แก่ ศูนย์วิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง อ่าวไทยฝั่งตะวันออก, สำนักงานบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่ 1 (ระยอง), อุทยานแห่งชาติ เขาแหลมหญ้า-เกาะเสม็ด, สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 13 (ชลบุรี), ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่งระยอง, สถานีตำรวจภูธรบ้านฉาง, การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานระยอง (ระยอง, จันทบุรี), ศูนย์พัฒนาวิชาการอาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม จังหวัดระยอง, ศูนย์ปรมาณูเพื่อสันติประจำภูมิภาค ภาคตะวันออก, ศูนย์ประสานงานกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีประจำภูมิภาค ภาคตะวันออก, เครือข่ายองค์กรชุมชน จังหวัดระยอง, อาสาสมัครพิทักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมหมู่บ้าน จังหวัดระยอง, ประธานเครือข่ายอาสาสมัครพิทักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมหมู่บ้านจังหวัดระยอง, เครือข่ายองค์กรชุมชน จังหวัดระยอง
ขอบเขตของการรวมลงนามในครั้งนี้มี 4 ข้อ ได้แก่ 1. ร่วมกันพัฒนา และสงเสริมศักยภาพด้านองค์ความรู้ ข้อมูลทางวิชาการ งานวิจัย การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ เพื่อพัฒนาให้เกิดเป็นเครื่องมือสนับสนุน และเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการ ติดตาม สถานการณ บงชี้ ปองกัน ประเมิน แก้ไขปัญหา และติดตามผลกระทบต่อ สิ่งแวดล้อม และทรัพยากรทางทะเล และชายฝั่ง 2. ร่วมกันส่งเสริม และสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศในการทำงานตามภารกิจของแต่ละหน่วยงาน ในการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมทางทะเล และชายฝั่ง 3. ร่วมกันระดมทรัพยากร ในการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมทางทะเล และชายฝั่งทั้งในสภาวะปกติและสภาวะไม่ปกติ 4. ร่วมกันพัฒนาบุคลากร และสงเสริมการแลกเปลี่ยนความรู้ ในทุกภาคส่วน ให้เกิดความเข้มแข็งมั่นคงอย่างยั่งยืน และเป็นรูปธรรม
โครงการพัฒนาระบบเรดาร์ชายฝั่งเพื่อการเตือนภัยทางบกและทางทะเล มีการดำเนินงานเพื่อติดตั้งระบบเรดาร์ชายฝั่ง สำหรับตรวจวัดกระแสน้ำและคลื่นในลักษณะ Real Time เพื่อให้บริหารจัดการน้ำในภาพรวมของประเทศเป็นระบบ เพื่อสร้างความมั่นใจในการจัดการภัยพิบัติ และจัดการพื้นที่ชายฝั่ง รวม 18 จุด คลอบคลุมพื้นที่ 1 หมื่นตารางกิโลเมตร ประกอบด้วย สถานีเรดาร์ชายฝั่ง 13 สถานีหลัก และ 5 สถานีย่อยในพื้นที่ชายฝั่งอ่าวไทยตอนบน และพื้นที่เศรษฐกิจ ข้อมูลที่วัดได้จากสถานีระบบเรดาร์ชายฝั่งภาคพื้นดินนี้ คือ ข้อมูลคลื่นและกระแสน้ำ ทิศทาง ความสูง และรูปแบบการไหลเวียนของกระแสน้ำ คลอบคลุมพื้นที่ขนานไปกับชายฝั่ง และพื้นน้ำทะเล ห่างจากฝั่ง 10 – 30 กิโลเมตร โดยสรุปผลในรูปแบบแผนที่ ทุกๆ 1 ชั่วโมง ทำให้ทราบทิศทางการเคลื่อนที่ของมวลน้ำที่แน่นอน ซึ่งเป็นข้อมูลพื้นฐานประกอบกับข้อมูลการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศและแผนที่ภาพถ่ายดาวเทียม เพื่อติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด ข้อมูลที่ได้รับจากสถานีระบบเรดาร์ชายฝั่งทั้งหมดนี้ จะสามารถบริหารจัดการน้ำในภาพรวมของประเทศดียิ่งขึ้น ยังสามารถนำข้อมูลมาวิเคราะห์ปัญหาต่างๆ ที่เกิดผลกระทบทางชายฝั่งทะเล ทั้งภัยทางธรรมชาติ และการกระทำที่เกิดจากมนุษย์ โดยเป็นการให้บริการผ่านระบบ และเป็นข้อมูลสาธารณะ เพื่อให้ทันต่อการรับมือและวางแผนปฏิบัติการที่จะเกิดขึ้นต่อไป
นอกจากระบบเรดาร์ชายฝั่งจะตรวจวัดข้อมูลคลื่นและกระแสน้ำซึ่งเป็นข้อมูลพื้นฐานที่สำคัญมากแล้ว ยังสามารถนำไปประยุกต์ใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ ได้ดังนี้
ที่สำคัญ ข้อมูลที่ตรวจวัดได้จากโครงการพัฒนาระบบเรดาร์ชายฝั่งเพื่อการเตือนภัยทางบกและทางทะเล เป็นข้อมูลส่วนกลางที่ทุกหน่วยงาน สามารถนำไปใช้ประโยชน์พัฒนาต่อยอดในงานด้านต่างๆ ต่อไป โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายแต่อย่างใด โดยผู้ใช้สามารถเข้าดูข้อมูลได้ทางเว็บไซต์ http://coastalradar.gistda.or.th และสำหรับสื่อมวลชนที่ต้องการภาพระบบการทำงานเพื่อประกอบการทำข่าวสามารถดาว์นโหลดได้ที่ http://coastalradar.gistda.or.th/temp_img
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit